กายภาพบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ไม่ได้มีดีแค่การฟื้นฟู

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กายภาพบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ไม่ได้มีดีแค่การฟื้นฟู  (อ่าน 92 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
guupost
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1049


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: กันยายน 18, 2019, 10:16:58 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement



หลายท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า กายภาพบำบัด อยู่บ่อยครั้ง แต่อาจยังไม่รู้ความหมายที่แน่ชัด หรือยังไม่เข้าใจว่าการกายภาพบำบัดมีความสำคัญแค่ไหน อย่างไร บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฟื้นฟูชนิดนี้ให้ได้ทราบ

กายภาพบำบัดคืออะไร?
กายภาพบำบัด เป็นคำที่แปลมาจาก Physical Therapy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ (Physical Modalities) กายภาพบำบัดจึงเป็นศาสตร์การรักษาที่ไม่อาศัยการรับประทานยา เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทางกายภาพบำบัดมีมากมายหลายชนิด อย่างเช่น คลื่นแสง คลื่นเสียง อุณหภูมิ แรงภายนอกทั้งจากเครื่องมือ และแรงจากตัวนักกายภาพบำบัดเอง
ผู้ให้บริการกายภาพบำบัดเรียกว่า นักกายภาพบำบัด ซึ่งจำเป็นต้องจบการศึกษาด้านกายภาพบำบัดโดยตรงและต้องมีใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดที่ออกให้โดยสภากายภาพบำบัดเท่านั้น นักกายภาพบำบัดจะทำงานร่วมกับวิชาชีพด้านสาธารณสุขอื่นๆ อาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่มีผลสำเร็จสูงสุด

กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไร มีประโยชน์เช่นไรต่อผู้ป่วย?
กายภาพบำบัดเป็นวิทยาศาตร์การแพทย์สาขาหนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่การฟื้นฟูผู้ป่วยในภาวะต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ยิ่งไปกว่านี้ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงของการกลับมามีอาการซ้ำด้วย ปัจจุบันเราสามารถแบ่งนักกายภาพบำบัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ (พร้อมตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย) ได้ดังนี้

ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
เช่น ผู้บาดเจ็บที่ข้อเท้าพลิกทำให้เอ็นข้อเท้าฉีกขาด หลังจากได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยการใส่เฝือกแล้ว การรักษาที่ได้รับจากนักกายภาพบำบัดอาจเริ่มตั้งแต่ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลเฝือก การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมกับอาการและกิจกรรมที่คนไข้ต้องทำ การฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน การออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อาการบวม หรือการติดแข็งของข้อต่อใกล้เคียงเนื่องจากถูกเฝือกจำกัดการเคลื่อนไหว

เมื่อคนป่วยตัดเฝือกออก การฝึกลงน้ำหนักอย่างถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเท้า และการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการพลิกซ้ำของข้อเท้าเป็นสิ่งสำคัญมาก หลังถอดเฝือกอาจจะยังมีอาการปวดบริเวณข้อเท้าเหลืออยู่ นักกายภาพบำบัดอาจจะเลือกใช้อัลตราซาวนด์ซึ่งเป็นคลื่นเหนือเสียงเพื่อลดปวดก็ได้

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.honestdocs.co/what-is-physical-therapy



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ