ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

พูดคุยทั่วไป => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: waanbotan_ ที่ พฤษภาคม 05, 2024, 04:33:45 pm



หัวข้อ: รู้จักดอกเบี้ยบ้านให้ดีขึ้น พร้อมแชร์เทคนิคผ่อนบ้านหมดไว กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำ
เริ่มหัวข้อโดย: waanbotan_ ที่ พฤษภาคม 05, 2024, 04:33:45 pm
การกู้ซื้อบ้าน/คอนโดถือเป็นสินเชื่อก้อนโตของใครหลาย ๆ คน การเลือกซื้อหาบ้าน/คอนโดที่ตรงตามความต้องการว่าใช้เวลานานแล้ว เมื่อเทียบกับการตัดสินใจเลือกสินเชื่อบ้านก็อาจใช้เวลานานไม่แพ้กัน ส่วนหนึ่งเพราะโปรโมชันสินเชื่อบ้านของแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน อีกส่วนที่สำคัญคือลักษณะหรือคุณสมบัติที่เรามีอยู่จะสามารถเลือกสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยได้ต่ำมากที่สุดแค่ไหน และควรกู้สินเชื่อกับธนาคารใดจึงจะคุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

การจะเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำผู้กู้จำเป็นต้องรู้จัก ดอกเบี้ยบ้าน ให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน เริ่มจากประเภท ดอกเบี้ยบ้าน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยลอยตัว
ดอกเบี้ยคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยบ้าน ที่ทางธนาคารกำหนดตายตัวไว้ตั้งแต่ต้น เช่น ธนาคาร A กำหนดให้ผู้กู้ ผ่อนบ้านกับธนาคาร ในอัตราดอกเบี้ย 1.99% ในช่วง 3 ปีแรก
ดอกเบี้ยลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยบ้าน ที่ทางธนาคารกำหนดโดยยึดโยงกับ MRR (Minimum Retail Rate) ซึ่งประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ธนาคาร A คิดอัตราดอกเบี้ย 1.99% ในช่วง 3 ปีแรก สำหรับปีที่ 4 เป็นต้นไปกำหนดให้ผู้กู้ ผ่อนบ้านกับธนาคาร ในอัตราดอกเบี้ย MRR-1.50% ซึ่งหากปีที่ 4 ของการผ่อนชำระหนี้บ้าน MRR ประกาศอยู่ที่ 6.5% ก็เท่ากับผู้กู้ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5% ต่อปีนั่นเอง
และแม้ว่า ดอกเบี้ยกู้บ้าน จะถูกแบ่งออกเป็นดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัว แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของ ดอกเบี้ยกู้บ้าน ก็คือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ดังนั้นหากต้องการผ่อนบ้านให้หมดไวกว่ากำหนดผู้กู้สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีร่วมกันได้ ดังนี้
ชำระเกินค่างวด เช่น ค่างวดกำหนดที่ 5,000 บาทต่อเดือน ผู้กู้สามารถชำระเกินค่างวดเป็น 8,000 บาท หรือ 10,000 บาทเป็นประจำก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้กู้ผ่อนบ้านหมดไวกว่ากำหนดโดยไม่กระทบกับสภาพคล่องและไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในคราวเดียว
นำเงินก้อนมาโปะหนี้บ้าน เช่น ได้เงินก้อนจากการขายที่ดินแปลงหนึ่งมา 300,000 บาท ต้องการแบ่งมาโปะหนี้บ้าน 100,000 บาท ก็สามารถจ่ายพร้อมค่างวดบ้านได้เลย ส่วนต่างจากดอกเบี้ยจะถูกนำไปลดต้น ช่วยให้ผ่อนบ้านหมดไวกว่ากำหนดในสัญญาแน่นอน
ทำเรื่องขอลดดอกเบี้ย (Retention) เช่น ผู้กู้ได้ทำเรื่อง กู้เงินทำบ้าน กับธนาคารแห่งหนึ่ง ผ่อนชำระครบ 3 ปีแล้ว ในสัญญาระบุว่าเมื่อผ่อนชำระครบ 3 ปี ผู้กู้จะสามารถปิดบัญชีหนี้ได้โดยไม่เสียค่าปรับ แต่ผู้กู้ไม่สะดวกทำรีไฟแนนซ์ไปยังสถาบันการเงินอื่น ในกรณีนี้ผู้กู้สามารถทำเรื่องขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่ผ่อนอยู่ได้ โดยทางธนาคารจะมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขกำหนดไว้ หากคุณสมบัติของผู้กู้ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวก็สามารถยื่นขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมได้
ทำเรื่องรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารอื่นเพื่อรับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า  รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร เช่น หลังจากผ่อนชำระกับธนาคารแรกมาครบ 3 ปี สัญญากู้ระบุว่าผู้กู้สามารถปิดบัญชีหนี้ได้โดยไม่เสียค่าปรับ ในขณะนั้นธนาคารอีกแห่งมีนโยบายปรับลดดอกเบี้ย โปรโมชันสินเชื่อน่าสนใจมาก ผู้กู้สามารถทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารอีกแห่งหนึ่งได้ ซึ่งแม้ว่าการรีไฟแนนซ์จะมีค่าธรรมเนียมและต้องใช้เวลาในการติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อถ่ายโอนบ้าน/คอนโดระหว่างธนาคารสองแห่ง แต่หากผู้กู้คำนวณประโยชน์ที่ได้รับแล้วว่าคุ้มค่า การรีไฟแนนซ์บ้าน กรุงไทย คืออีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยลดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้บ้านและยังช่วยลดค่างวดให้กับผู้กู้ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้กู้สามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการ คำนวณสินเชื่อบ้าน ผ่านเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ ได้แล้ว สำหรับการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแต่ละแห่งขอแนะนำให้ผู้กู้นำ “ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี” ซึ่งอยู่ในตารางโปรโมชันสินเชื่อกู้บ้านของแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบกัน จากนั้นใช้ ฟังก์ชัน คำนวณสินเชื่อบ้านโปะบ้าน กรุงไทย กรอกข้อมูลวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และวงเงินที่ต้องการกู้ลงไป จะปรากฏตัวเลขค่างวดขึ้นมาให้เห็น ซึ่งธนาคารต่าง ๆ นิยมเตรียมฟังก์ชันคำนวณนี้ไว้ให้ลูกค้าได้เลือกใช้เพื่อความสะดวกในการตัดสินใจยื่นกู้สินเชื่อ หรืองบไม่เยอะอยากผ่อนคอนโดเดือนละ 5000 ก็สามารถทำได้ อ่านเพิ่มเติมที่ [url=https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1171

ที่มา >> http://smbwheel.com/webboard/index.php?action=post;board=15.0]https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1171
[/url]
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ