ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: iAmtoto007 ที่ ตุลาคม 22, 2019, 12:50:14 pm



หัวข้อ: อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain)
เริ่มหัวข้อโดย: iAmtoto007 ที่ ตุลาคม 22, 2019, 12:50:14 pm
(https://www.honestdocs.co/system/blog_articles/main_hero_images/000/004/201/large/iStock-823506684.jpg)อาการปวดเรื้อรังหมายถึงอาการปวดที่เป็นอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ แม้จะได้รับการรักษาด้วยยาหรือการรักษาอื่น ๆ แล้วก็ตาม
คนส่วนใหญ่สามารถหายจากการปวดกลับสู่ภาวะปกติหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แต่ในบางครั้งอาการปวดจะเกิดขึ้นได้นานกว่านั้น 
หรือเกิดขึ้นได้เองแม้ว่าจะไม่มีอาการบาดเจ็บหรือได้รับการผ่าตัดใด ๆ   
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ ฟื้นฟูระบบประสาท ด้วยกายภาพบำบัด ลดเพิ่ม 15%
เริ่มที่ 850 บาท นักกายภาพระบบประสาทบำบัดวิชาชีพ ประสบการณ์สูง คลิก
อาการปวดเรื้อรังยังมักเกิดในกลุ่มผู้ป่วย ดังต่อไปนี้: 
อาการเจ็บปวดมาจากไหนสมองและเส้นประสาทภายในกระดูกสันหลังหรือที่เรียกว่าไขสันหลังนั้นเรียกว่า ระบบประสาทส่วนกลาง 
โดยเส้นประสาทจากไขสันหลังจะทำหน้าที่ส่งข้อความจากร่างกายส่วนต่าง ๆ 
ไปยังสมอง 
รวมทั้งสัญญาณที่บอกสมองว่ากำลังมีอาการปวดที่ไหนสักแห่งในร่างกาย   
สมองจะทำหน้าที่เหมือนศูนย์ควบคุมการทำงานโดยบ่งบอกว่า ปัญหานั้นร้ายแรงเพียงไหน และความรุนแรงของอาการเจ็บปวดควรเป็นอย่างไร
ซึ่งในบางครั้ง สมองของเราก็แปรผลสัญญาณเหล่านี้ผิดพลาดไปได้
 
โดยปกติ คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าอาการปวดจะทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่บางครั้งสมองยังคงส่งสัญญาณบ่งบอกถึงความเจ็บปวดออกมาเสมอ
ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ไม่สามารถหยุดได้โดยง่าย และมักเป็นสัญญาณที่รุนแรง
ซึ่งในบางครั้งนั้นก็อาจเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ง่ายที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
และบางครั้งผู้ป่วยที่ประสบภาวะดังกล่าวก็รู้สึกว่าพวกเขามีอาการปวดอยู่ใน
“หัวสมอง” และ “ไม่ได้เกิดขึ้นจริง”
 
อาการปวดเรื้อรังเป็นอย่างไร?อาการปวดเรื้อรังมีผลต่อ 1 ใน 5 คน และสามารถส่งผลต่อคนได้ทุกเพศทุกวัย และทุกส่วนของร่างกาย 
เราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าอาการปวดใด ๆ ก็ตามนั้นจะพัฒนาเป็นอาการปวดเรื้อรังหรือไม่
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังในช่วงเวลาที่มีความเครียดหรือความทุกข์หรือหลังจากช่วงเวลาเหล่านั้นผ่านพ้นไปไม่นาน
 
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถได้รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ แม้จากการตรวจทดสอบทางการแพทย์ทั่ว ๆ
ไปนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะหรือผลลัพธ์ใดก็ตาม
 
คุณสามารถดูแลตัวเองได้อย่างไรบ้างมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยตัวเอง และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแม้จะมีอาการปวดเรื้อรังอยู่ก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้เกิดความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ต่อความพิการและความทุกข์ทรมานที่คุณสามารถประสบอยู่ได้
 สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เรียกว่า การจัดการความเจ็บปวด (Pain
management)
 
เพื่อจัดการความเจ็บปวดของคุณ คุณอาจทำตามคำแนะนำ ดังนี้: 
  • วางแผนวันของคุณ – จัดทำแผนการทำสิ่งต่าง ๆ และสถานที่ต่าง ๆ  ที่ต้องไปอยู่เสมอ 
เพื่อช่วยให้คุณใช้ชีวิตปกติอยู่เหนือความเจ็บปวดเหล่านั้น   [/*]
  • จับเวลาชีวิต – อย่าฝืนทนต่ออาการปวดที่เกิดขึ้น  ให้หยุดทำกิจกรรมต่าง ๆ 
และพักก่อนที่อาการจะแย่ลงแล้วค่อยกลับไปทำในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในภายหลัง
   [/*]
  • เรียนรู้ในการผ่อนคลาย  – การผ่อนคลายอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเมื่อคุณมีอาการปวดอยู่ 
แต่การหาสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายคุณจะช่วยลดความเครียด 
และความรุนแรงของอาการปวดลงได้   [/*]
  • ออกกำลังกายอย่างสนุกสนานเป็นประจำ –  แม้จะออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย 
คุณก็จะรู้สึกดีขึ้นและสามารถลดความเจ็บปวดของคุณลงได้ นอกจากนี้ 
ยังจะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อของคุณแข็งแรงขึ้นอีกด้วย   [/*]
  • ทานยาแก้ปวด – ยาแก้ปวดสามารถทำงานได้ดีหากใช้ควบคู่ไปกับแผนการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย
โดยผู้ป่วยมักพูดว่ายาแก้ปวดของพวกเขาทำงานได้ไม่ดีนัก    [/*]
  • พูดคุยกับคนอื่น – บอกเพื่อน 
ครอบครัวและคนรอบข้างคุณเกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังที่กำลังเป็นอยู่ 
และเหตุผลที่คุณไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้เหมือนอย่างเคย   [/*]
  • เพลิดเพลินกับสิ่งที่ชอบ – 
การทำกิจกรรมที่คุณชอบช่วยเพิ่มระดับสารลดอาการปวดตามธรรมชาติของตัวคุณเอง
 คิดถึงเรื่องหรือกิจกรรมที่คุณเคยชอบก่อนจะเกิดความเจ็บปวดเรื้อรังนี้ขึ้น
  และนำมันกลับเข้ามาทำในชีวิตประจำวันของคุณ   [/*][/list]ที่มา honestdocs.co/chronic-pain
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ