ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

พูดคุยทั่วไป => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: motherhood ที่ พฤศจิกายน 20, 2019, 12:46:23 pm



หัวข้อ: โรคมือเท้าปาก! เข้าหน้าฝนแล้วต้องระวังเป็นพิเศษ
เริ่มหัวข้อโดย: motherhood ที่ พฤศจิกายน 20, 2019, 12:46:23 pm
โรคมือเท้าปาก! เข้าหน้าฝนแล้วต้องระวังเป็นพิเศษ

(https://i.ibb.co/ZXpRHC4/01.png)

ตอนนี้เราก็เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วนะคะ และเป็นช่วงที่เด็กๆเปิดเทอมกันหมดแล้วด้วย สิ่งนึงที่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับเด็กเล็กก็คือ “โรคมือเท้าปาก” นั่นเอง บางคนก็อาจจะเรียกว่าโรคมือเท้าปากเปื่อย ซึ่งโรคมือเท้าปากนี้จัดว่าเป็นโรคที่มากับหน้าฝน แม้โดยปกติจะสามารถเกิดขึ้นได้ประปราย แต่โรคมือเท้าปากเกิดขึ้นได้อย่างไรและจะเป็นอันตรายกับลูกน้อยหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

ต้นตอของโรคมือเท้าปาก
เกิดมาจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด มักพบได้บ่อยในเด็กทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ตามสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล หรือสถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า ยิ่งในบริเวณที่เด็กอยู่่รวมกันแบบแออัดก็ยิ่งเกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น แต่พบบ่อยในช่วงหน้าฝนเพราะมีอากาศเย็นและชื้น

การแพร่เชื้อ
การติดต่อส่วนมากจะเกิดจากการรับเชื้อไวร้สโดยตรงทางปาก เชื้อไวรัสจะแพร่มากับน้ำลายที่เปื้อนบนมือหรือของเล่น จากน้ำมูก หรือแผลที่มีน้ำในตุ่มพอง และแพร่เชื้อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของอาการป่วย นอกจากนี้ยังเกิดจากการไอจามรดกัน โดยหายใจรับเอาละอองเชื้อมาจากเด็กที่ป่วย

อาการของโรคมือเท้าปาก
หลังจากเด็กได้รับเชื้อมา 3-6 วัน เด็กจะเริ่มมีอาการป่วย เริ่มแรกจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย บางรายมีอาการปวดตามเนื้อตามตัว ต่อมา 1-2 วันจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่สะดวก และไม่อยากกินอาหารเพราะมีตุ่มแดงบนลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตามฝ่ามือ นิ้วมือ นิ้วเท้า จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเม็ดเล็ก (มักไม่มีอาการคัน) บางรายอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มพวกนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสในที่สุด และมีอาการอักเสบแดงรอบตุ่ม ต่อมาตุ่มจะแตกและกลายเป็นแผลหลุมตื้นๆ และจากหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน

การรักษาโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากไม่ได้มียารักษาเฉพาะ แพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาใส่แผลในปาก สำหรับเด็กที่มีแผลบนลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม คุณพ่อคุณแม่ควรเช็ดตัวลูกเป็นระยะเพื่อลดไข้ และควรให้ลูกรับประทานอาหารอ่อนๆ ไม่มีรสจัด ดื่มน้ำสะอาด และนอกพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อนอาจจะต้องป้อนนมแทนการดูดจากขวดนม เพราะเด็กอาจจะเจ็บแผลในปากได้

วิธีป้องกันและควบคุมโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันการติดต่อของโรคได้โดยการรักษาสุขอนามัยเป็นประจำ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร ภายหลังการขับถ่าย อาจจะเพิ่มการใช้งานของเจลทำความสะอาดมือหรือสเปรย์ฉีดทำความสะอาดมือด้วยก็ได้เมื่อออกนอกบ้าน ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรล้างมือหลังจากการเปลี่ยนผ้าอ้อมและการช่วยลูกน้อยเรื่องการขับถ่ายทุกครั้ง การตัดเล็บเด็กให้สั้นอยู่เสมอก็ช่วยได้อีกทางหนึ่ง หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารด้วย

เมื่อพบเด็กป่วยควรทำการแยกออกจากเด็กที่ยังไม่ป่วยทันที ควรพาลูกไปพบแพทย์และหยุดเรียนประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันลูกนำเชื้อไปติดเพื่อนๆที่โรงเรียน และยังไม่ควรพาน้องออกไปตามสถานที่แอดอัดนอกบ้านในช่วงนี้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและลดความเสี่ยงที่จะไปรับเชื้ออื่นเพิ่มเข้ามาค่ะ

หัวใจของการปกป้องลูกจากโรคมือเท้าปากก็คือการล้างมืออย่างสม่ำเสมอนะคะ ฝึกเขาให้ล้างมือเป็นนิสัยทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสอาหาร ไม่ว่าจะในการช่วยคุณแม่เตรียมอาหาร หรือการรับประทานอาหารแต่ละครั้งในทุกๆที่ที่เขาไป รวมทั้งหลังการเข้าห้องน้ำและการสัมผัสของใช้ที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้คนมากหน้าหลายตาด้วยค่ะ การล้างมือบ่อยๆนี้นอกจากจะป้องกันลูกน้อยจากโรคมือเท้าปากแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อประเภทอื่นๆได้ด้วยนะคะ

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
อาทิ ‘Bullying’ เมื่อลูกคุณถูกรังแก และ ไข้เลือดออก … ป้องกันก่อนจะสาย เป็นต้น
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ