หัวข้อ: อาหารต้านมะเร็งได้ผลจริงหรือไม่ เริ่มหัวข้อโดย: Bigbombboomz ที่ พฤศจิกายน 28, 2019, 05:38:17 am อาหารและสุขภาพนับเป็นของคู่กัน หลายคนบริโภคอาหารอย่างพืชสมุนไพร ผัก หรือผลไม้ เพื่อรักษาและบำรุงดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น
อาจกล่าวได้ว่าผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างนิยมนำอาหารมาใช้เป็นยาด้วย โดยเชื่อว่าอาหารเหล่านั้นมีสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ มะเร็งถือเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งที่ผู้คนต่างระวังและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคดังกล่าว แน่นอนว่าพืชผักและผลไม้คืออีกทางเลือกหนึ่งสำหรับป้องกันโรคมะเร็ง หลายคนต่างเชื่อว่าผักและผลไม้บางอย่างสามารถรับประทานเพื่อต้านมะเร็งได้ แท้จริงแล้ว อาหารเหล่านั้นต้านมะเร็งได้จริงหรือ ? (https://res.cloudinary.com/dk0z4ums3/image/upload/v1497170250/attached_image_th/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%A3-pobpad.jpg)มะเร็ง คือ ภาวะสุขภาพที่เซลล์ของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายเจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติ เรียกอีกอย่างว่าเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งสามารถลุกลาม ทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะที่เกิดเซลล์มะเร็ง ลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้ โดยมะเร็งมีหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะปรากฏอาการของโรคแตกต่างกันไป ปัจจุบันมีตัวยาและวิทยาการด้านการแพทย์ที่ช่วยรักษาโรคมะเร็งหลากหลาย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารต้านมะเร็งยังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีพืชผักและผลไม้หลายอย่างที่ผู้คนเชื่อว่าอาจรักษาหรือต้านเชื้อมะเร็งได้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวออกมาหลากหลายแง่มุม ดังจะกล่าวต่อไป ชาเขียว พืชชนิดนี้ทำมาจากต้นชา โดยนำใบชาแห้งและยอดชามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย การทำชาเขียวนั้นจะนำใบชามานึ่งหรือคั่วในกระทะแล้วนำไปตากแห้ง ชาเขียวมีสารออกฤทธิ์ที่ชื่อว่า โพลีฟีนอล (Polyphynols) ซึ่งอุดมประโยชน์มากมาย ทำให้สรรพคุณของชาเขียวเป็นที่เลื่องลือหลายเรื่อง โดยเชื่อว่าการดื่มชาเขียวช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า ไขมันพอกตับ ลำไส้อักเสบ หรือกระดูกพรุน ทั้งนี้ บางคนยังนำถุงชาเขียวประคบผิวสำหรับบรรเทาอาการผิวไหม้ รอบดวงตาบวม หรือห้ามเลือดออกจากเหงือกขณะแปรงฟัน ส่วนการนำชาเขียวมารับประทานเพื่อต้านมะเร็งนั้นก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน โดยเชื่อว่าชาเขียวสามารถป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด หรือมะเร็งตับ งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของชาเขียวที่มีต่อความเสี่ยงเกิดในการเกิดมะเร็งเต้านม โดยรวบรวมกรณีศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อดูประสิทธิภาพของชาเขียวที่ช่วยยับยั้งการผลิต Angiotensin II ผู้หญิงที่มีเอนไซม์ ACE สูงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมาก เนื่องจากเอนไซม์นี้จะเปลี่ยนสารให้เป็น Angiotensin II อันก่อให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ โพลีฟีนอลที่อยู่ในชาเขียวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดการทำลายเซลล์ของ Angiotensin II ได้ ผลการศึกษาพบว่า ความถี่ในการบริโภคชาเขียวและอัตราความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมที่ลดลงนั้นสัมพันธ์กันอย่างมีนัยทางสถิติ โดยผู้ที่ดื่มชาเขียวเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยมีอัตราส่วนความเสี่ยงอยู่ที่ 0.33 ส่วนผู้ที่ดื่มชาเขียวสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อยมีอัตราส่วนความเสี่ยงอยู่ที่ 0.29 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม ทั้งนี้ ยังมีการทบทวนงานวิจัยแบบ systematic review ซึ่งรวบรวมและคัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนด แล้วนำผลการศึกษาของงานวิจัยแต่ละชิ้นมาวิเคราะห์รวมกันเพื่อตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของชาที่มีต่อมะเร็งรังไข่ พบว่าผู้หญิงที่ดื่มชาเขียวเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่น้อยลง อาจกล่าวได้ว่าการทบทวนงานวิจัยชิ้นนี้สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าการบริโภคชาเขียวช่วยลดมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งศึกษาประสิทธิภาพสารต้านมะเร็งในชาเขียวต่อผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แสดงให้เห็นว่าชาเขียวมีสารต้านมะเร็งในการลดระดับสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ที่จำกัด โดยให้ผู้ป่วยจำนวน 42 รายที่ไม่แสดงอาการและมีระดับสารดังกล่าวสูงขึ้นต่อเนื่องจากการบำบัดด้วยฮอร์โมน รับประทานชาเขียววันละ 6 กรัม และสังเกตปฏิกิริยาผู้ป่วยทุกเดือน โดยผู้ป่วยยังได้รับยากลุ่ม LHRH ผลการศึกษาพบว่าเนื้องอกลดลง คิดเป็นร้อยละที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 สำหรับผู้ป่วยรายคน และคิดเป็นร้อยละ 2 สำหรับผู้ป่วยแบบกลุ่ม อีกทั้งปฏิกิริยาดังกล่าวก็ไม่คงที่นานกว่า 2 เดือน โดยระดับของสารมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อคิดเป็นแบบกลุ่ม รวมทั้งเกิดพิษของชาเขียวคิดเป็นร้อยละ 69 ทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เมื่อย ท้องร่วง ปวดท้อง และสับสนมึนงง เช่นเดียวกับงานวิจัยที่ให้ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามจำนวน 17 ราย รับประทานสารสกัดชาเขียวเซนฉะ (Sencha) และบังชา (Bancha) ในปริมาณยาเริ่มต้นวันละ 0.5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณยาสูงสุดที่ผู้ป่วยทนได้ โดยผู้ป่วยจำนวน 7 ราย มีการตอบสนองที่คงที่ตั้งแต่ 4-16 สัปดาห์ อีกทั้งไม่มีผู้ป่วยที่อยู่รับการบำบัดได้นานกว่า 16 สัปดาห์ เนื่องจากอาการของโรคแย่ลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่เปรียบเทียบข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้จากสาธารณสุขของญี่ปุ่น พบว่าการบริโภคชาเขียวไม่ได้เกี่ยวข้องกับโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งเต้านม การบริโภคชาเขียวจึงไม่อาจรับประกันได้ว่าจะสามารถต้านมะเร็งอย่างที่กล่าวไว้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ต้องการรับประทานชาเขียวเพื่อบำบัดอาการป่วยหรือปัญหาสุขภาพควรสังเกตข้อควรระวังอื่น ดังนี้
เนื่องจากอาจจะทำให้ตับถูกทำลายได้[/*][/list]บีทรูท ผลบีทรูทหรือบีท คือพืชชนิดหนึ่งที่ผู้คนนิยมนำรากมาใช้เป็นยา อีกทั้งใช้ร่วมกับยารักษาโรคโดยเชื่อว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคตับและไขมันพอกตับ ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต และเสริมสร้างสมรรถภาพการเล่นกีฬา แน่นอนว่าผู้คนยังเชื่อว่าพืชชนิดนี้สามารถยับยั้งเชื้อมะเร็งด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการศึกษาในห้องทดลองเกี่ยวกับสารพิษทำลายเซลล์มะเร็งของสารสกัดบีทรูทสีแดงร่วมกับยาด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin) สำหรับผู้ที่มีเซลล์มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผสมสารสกัดบีทรูทกับยาด็อกโซรูบิซินในอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันในการต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิด พบว่าเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดลดลงเมื่อผสมยาด็อกโซรูบิซินรวมกับสารสกัดบีทรูทซึ่งมีพิษทำลายเซลล์มะเร็งดังกล่าว ทั้งนี้ งานวิจัยก่อนหน้าก็ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ สารสกัดบีทรูทกับยาด็อกโซรูบิซินที่ส่งผลต่อเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมากและเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจน พบว่าสารพิษจากบีทรูทลดอัตราการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 12.5 ภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพสารพิษทำลายเซลล์มะเร็งจากสารสกัดบีทรูทยังน้อยกว่ายาด็อกโซรูบิซินสำหรับทำลายเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งในการวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทั้ง 2 อย่างในการทำลายเซลล์มะเร็งผิวหนังและมะเร็งตับ โดยสารสกัดบีทรูทมีประสิทธิภาพทำลายเซลล์มะเร็งดังกล่าวน้อยกว่ายาด็อกโซรูบิซิน ผู้ที่ต้องการลองรับประทานบีทรูทเพื่อหวังผลทางการรักษาหรือดูแลสุขภาพ ควรคำนึงถึงข้อจำกัดบางอย่างของสุขภาพตนเองก่อนรับประทาน ดังนี้
โดยเชื่อว่าทับทิมสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย คอเลสเตอรอลสูง และเชื้อมะเร็ง สรรพคุณที่เชื่อถือกันมานานนั้น ยังปรากฏงานวิจัยบางชิ้นที่สนับสนุนข้อคิดเห็นดังกล่าว มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำการศึกษาในห้องทดลองฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดทับทิมและฤทธิ์ของสารจีนีสทิน (Genistein) ที่มีต่อเซลล์มะเร็งเต้านม โดยเพาะเซลล์มะเร็งเต้านมให้เจริญขึ้นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วเติมสารสกัดทับทิมหรือจีนีสทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมสารทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกันเติมไปในเซลล์มะเร็งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดทับทิมและจีนีสทินมีฤทธิ์ทำลายและยับยั้งการเติบโตของเซลล์ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการผสมสารทั้ง 2 อย่างยังให้ผลดีกว่าการรักษาด้วยสารอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ดี งานวิจัยอีกชิ้นได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดทับทิมอันส่งผลต่อระดับสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ช่วยประเมินความรุนแรงในการลุกลามของมะเร็ง หรือค่า PSADT ซึ่งอาจช่วยให้เฝ้าระวังอาการลุกลามของมะเร็งและเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป งานวิจัยครั้งนี้แบ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีระดับสารบ่งชี้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลังรับการบำบัดครั้งแรกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาหลอก และกลุ่มที่รับสารสกัดทับทิม พบว่ากลุ่มที่รับสารสกัดทับทิมไม่มีระดับค่า PSADT มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก อีกทั้งผู้ป่วยยังไวต่อฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ถึงอย่างนั้น ก็จำเป็นต้องทดสอบอาการไวต่อฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวเซลล์มะเร็งของทับทิมอย่างถูกต้องต่อไป ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานทับทิมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อบำรุงสุขภาพควรคำนึงถึงข้อจำกัดบางประการ ดังนี้
หากต้องการรับประทาน ควรเลือกดื่มน้ำทับทิมรวมทั้งปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง[/*]
โดยเชื่อว่ามะเขือเทศใช้ป้องกันเบาหวาน โรคหัวใจหลอดเลือด ต้อกระจก หอบหืด รวมทั้งมะเร็ง อีกทั้งยังเชื่อว่าการรับประทานมะเขือเทศสามารถต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งอื่น ๆ ได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบการรับประทานมะเขือเทศและถั่วเหลืองที่มีต่ออาการป่วยของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแและกลับมาป่วยซ้ำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรับประทานผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ และกลุ่มรับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องบริโภคผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตัวเองตลอด 4 สัปดาห์ โดยตั้งเป้าว่ากลุ่มแรกจะได้รับสารไลโคปีนจากมะเขือเทศอย่างน้อยวันละ 25 มิลลิกรัม และกลุ่มหลังได้รับโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 40 กรัม หลังจากสัปดาห์ที่ 4-8 ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มจะรับประทานทั้งมะเขือเทศและถั่วเหลือง พบว่าผู้ป่วยจำนวน 14 รายจากทั้งหมด 41 ราย มีระดับของสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากลดลง คิดเป็นร้อยละ 34 อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของมะเขือเทศและถั่วเหลืองที่ได้จากการรับประทานอาหารเสริมหรือสารสกัดที่มีความเข้มข้นมากกว่าอาหารทั่วไป จึงต้องศึกษาประสิทธิภาพของสารอาหารที่ได้จากมะเขือเทศและถั่วเหลืองในการป้องกันและรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้จากการรับประทานอาหารทั่วไปต่อไป ทั้งนี้ งานวิจัยอีกชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าไลโคปีนไม่ได้ส่งผลต่อการต้านมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด โดยศึกษาสรรพคุณของไลโคปีนที่สกัดจากมะเขือเทศในการช่วยลดระดับเปปไทด์ฮอร์โมน IGF-1 ซึ่งพบได้มากในคนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม ผู้เข้าร่วมการทดลองดังกล่าวมีผู้หญิงก่อนวัยทองที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 24 ราย และผู้ที่บุคคลในครอบครัวเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงจำนวน 36 ราย ผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มยาหลอก และกลุ่มที่รับประทานไลโคปีน โดยกลุ่มหลังจะได้รับประทานอาหารเสริมไลโคปีนวันละ 30 มิลลิกรัม ผลการศึกษาพบว่า อาหารเสริมไลโคปีนไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับเปปไทด์ฮอร์โมน IGF-1 และส่วนประกอบอื่นของเปปไทด์ฮอร์โมนดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ถึงอย่างนั้น ผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีบุคคลในครอบครัวเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมนั้นก็ได้รับประโยชน์จากไลโคปีนต่างจากผู้ป่วยที่เคยป่วยโรคนี้ กล่าวคือ ผู้ที่เคยป่วยมะเร็งเต้านมมีระดับเปปไทด์ฮอร์โมน IGF-1 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ที่เสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมกลับมีอัตราของเปปไทด์ฮอร์โมน IGF-1 ลดลง จากงานวิจัยที่ยกมานี้ ยังไม่ปรากฏข้อมูลในการรับประทานมะเขือเทศต้านมะเร็งที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ผู้ที่ต้องการรับประทานมะเขือเทศควรระมัดระวังข้อจำกัดเกี่ยวกับสุขภาพบางอย่าง ดังนี้
และเสียชีวิตได้ในกรณีที่เกิดอาการรุนแรงมาก[/*][/list]ความปลอดภัยในการรับประทานอาหารต้านมะเร็ง การรับประทานอาหารต้านมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นพืชสมุนไพร ผัก หรือผลไม้ อาจช่วยบรรเทาอาการป่วยของโรคมะเร็งบางชนิดได้บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างถูกต้องร่วมด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่รับประทานอาหารสำหรับต้านมะเร็งควรคำนึงถึงข้อจำกัดทางสุขภาพอย่างระมัดระวัง เนื่องจากสรรพคุณหรือฤทธิ์ของพืชสมุนไพร ผัก หรือผลไม้บางอย่างอาจส่งผลต่ออาการหรือภาวะสุขภาพบางประการให้แย่ลงได้ รวมทั้งทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางตัวด้วย ผู้ที่ต้องการรับประทานพืชเพื่อต้านมะเร็งจึงควรศึกษาการใช้พืชชนิดนั้น ๆ อย่างละเอียด และปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง ทางเลือกในการดูแลและรักษามะเร็งที่ดีต่อสุขภาพ วิธีดูแลและรักษามะเร็งที่ดีต่อสุขภาพและได้ประสิทธิภาพควรทราบประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว ว่ามีผู้ที่ป่วยหรือเสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ ใส่ใจและสังเกตสุขภาพของตนเอง ตรวจสุขภาพประจำปี รวมทั้งเข้ารับการตรวจกับแพทย์หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อ เลือดออกโดยหาสาเหตุไม่ได้ ระบบลำไส้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เพื่อวินิจฉัยอาการป่วย ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรเข้ารับการรักษาทันที โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิดอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด นอกจากนี้ ยังมีการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือทำคีโมและการฉายรังสี ส่วนผู้ที่ต้องการลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลักษณะการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ โดยเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่สูบบุหรี่ ที่มา pobpad.com/อาหารต้านมะเร็งได้ผลจร
|