หัวข้อ: รวมเรื่องควรรู้ก่อนไปถอนฟัน เริ่มหัวข้อโดย: guupost ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2020, 08:32:07 pm (https://i.ibb.co/Wsqsmtz/key4.jpg)
การถอนฟันอาจสร้างความวิตกกังวลใจแก่ใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฟันซี่นั้นเป็นฟันแท้ หากถอนออกไปเมื่อไหร่ก็จะกลายเป็นฟันหลอทันที อย่างไรก็ตาม การรักษาทางทันตกรรมบางอย่าง เช่น การจัดฟัน ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถอนฟันไปไม่ได้ เนื้อหานี้จะช่วยให้ท่านทราบทุกขั้นตอนของการถอนฟัน ไม่ว่าจะถอนฟันเนื่องจากฟันผุ หรือถอนฟันเพื่อจัดฟัน เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจ วิธีปฏิบัติตัวหลังถอนฟันเพื่อให้แผลหายดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน รวมทั้งแนะนำการใช้สิทธิ์ประกันสังคมให้ทราบ การถอนฟันเนื่องจากฟันผุกับจัดฟัน เหมือนกันหรือไม่ การถอนฟันเพราะฟันผุกับถอนฟันเพื่อจัดฟัน มีสาเหตุและแนวทางการรักษาต่างกัน ดังนี้ ถอนฟันเพราะฟันผุ โดยทั่วไปแนวทางการรักษาสำหรับฟันผุที่ยังไม่ทะลุโพรงประสาทฟันคือ การอุดฟัน แต่การรักษาสำหรับฟันผุที่ทะลุโพรงประสาทฟันแล้วมี 2 ทางเลือก ทางเลือกแรกคือ การรักษารากฟันร่วมกับการใส่เดือยฟัน หรือครอบฟัน ส่วนอีกทางเลือกคือ การถอนฟันซี่ดังกล่าวออกไป ถอนฟันเพราะจัดฟัน หมอฟันจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการซ้อนเกของฟัน ลักษณะการสบฟัน การเลือกฟันให้เป็นหลักยึดสำหรับการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ ความสมมาตรของฟันและกระดูกขากรรไกรซ้าย-ขวา ความอูมนูน-ความยุบของใบหน้าเมื่อมองจากด้านข้าง นอกจากนี้ยังพิจารณาลักษณะโครงสร้างใบหน้าของผู้จัดฟันประกอบ ได้แก่ จมูก คาง โหนกแก้ม หน้าผาก ระนาบความเอียงของระดับสายตา เพราะฉะนั้นการเลือกซี่ฟันและจำนวนที่จะถอนจึงแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย แม้แต่ในผู้ป่วยรายเดียวกัน การถอนฟันอาจไม่ใช่ตำแหน่งที่สมมาตรกันระหว่างซ้ายขวา หรือบนล่าง นอกจากในผู้ป่วยรายที่ต้องการจัดฟัน ซึ่งมีทั้งซี่ฟันผุและฟันซี่ที่ทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่า ต้องถอนเพื่อการจัดฟัน ฟันทั้ง 2 ซี่นั้นอาจเป็นคนละซี่กัน การรักษาของแต่ละซี่ก็จะไม่เกี่ยวข้องใดๆ ต่อกัน แต่หากบังเอิญเป็นซี่เดียวกันก็สามารถถอนซี่ดังกล่าวโดยไม่ต้องพิจารณาอุด หรือรักษารากฟัน สำหรับผู้มีโรคประจำตัว อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องมีใบส่งตัวจากหมอเจ้าของไข้มาด้วย ทันตแพทย์ถึงจะสามารถถอนฟันให้ได้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั่นเอง ตำแหน่งที่จะถอนฟันทำให้มีวิธีถอนต่างกัน หรือไม่ การถอนฟันแต่ละซี่มีหลักการเหมือนกัน ดังนี้ - หมอฟันจะซักประวัติด้านสุขภาพและการแพ้ยาก่อน - ถ่ายภาพรังสี (x-ray) ประกอบการวินิจฉัยสรุปสาเหตุที่ต้องถอนฟันและให้เห็นถึงความยาว รูปร่าง และตำแหน่งของฟันและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน - ทันตแพทย์จะเตรียมบริเวณที่ถอนฟัน ได้แก่ ฉีดยาชา ทำความสะอาดเหงือกและฟันข้างเคียง - เมื่อบริเวณที่จะถอนฟันเกิดอาการชาแล้ว หมอฟันจะใช้เครื่องมือที่ทำให้ฟันหลวมจากเหงือก จากนั้นจะถอนฟันออกมาด้วยคีมถอนฟัน ในบางรายหมอฟันอาจต้องปรับสภาพกระดูกที่อยู่ด้านล่างให้มีความเรียบเนียนขึ้น - เมื่อถอนฟันเสร็จสิ้นแล้ว ทันตแพทย์จะปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ บางกรณีถ้าแผลกว้าง หรือแผลลึกมาก เช่น การถอนฟันคุด ทันตแพทย์อาจต้องเย็บแผลเพื่อให้เลือดหยุดไหลและแผลปิดสนิท สมานตัวกันเร็วยิ่งขึ้น - หมอฟันให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและการดูแลแผลที่เกิดจากการถอนฟันรวมทั้งการดูแลทำความสะอาด อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งฟันที่จะถอนแต่ละตำแหน่งที่แตกต่างกันจะทำให้มีรายละเอียดของขั้นตอนการถอนต่างกัน อาทิ การถอนฟันหน้า ฟันเขี้ยว หรือฟันกรามน้อยที่มีรากเดียวจะใช้การโยกและหมุนซี่ฟัน ส่วนการถอนฟันกรามน้อยที่มีหลายราก ฟันกรามใหญ่ หรือฟันคุด จะใช้การโยก การดันฟันไปยังช่องว่างด้านหลังของขากรรไกร หรือการตัดฟันเป็นชิ้นๆ ก่อนถอนออกจากขากรรไกร นอกจากนี้การฉีดยาชาและลักษณะการชายังแตกต่างกันระหว่างขากรรไกรบนและล่าง รวมถึงต่างกันในระหว่างเด็กและผู้ใหญ่อีกด้วย ติดตามอ่านเนื้อหาดี ๆ กันต่อได้ที่ Website : https://www.honestdocs.co/should-know-before-going-to-withdraw-teeth
|