ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: lnwneverdie2015 ที่ พฤศจิกายน 08, 2015, 11:51:24 am



หัวข้อ: ความรู้ในการใช้มัลติมิเตอร์ เครื่องมือวัด fluke
เริ่มหัวข้อโดย: lnwneverdie2015 ที่ พฤศจิกายน 08, 2015, 11:51:24 am
(http://presysgroup.com/images/FLUKE87VE.jpg)
Credit : presysgroup.com
อุปกรณ์สำหรับช่างไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มือใหม่ หรือช่างอาชีพ จำเป็นต้องฝึกหัดรู้จักการใช้งานให้คล่อง มากกว่าคอนเซ็ปต์การใช้งานเท่านั้น และดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เป็นอีกอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกตัวที่สำคัญอย่างมากช่างสมัครเล่น เพราะเป็นเครื่องมือชิ้นต้นๆ ที่ช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจเรื่องพื้นฐานไฟฟ้า กระนั้นเราต้องเลือกซื้อหา มัลติมิเตอร์ มาใช้งานก่อน ซึ่งมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อในตลาด ทั้งที่ราคาที่ไม่แพง และแพง บางรุ่นจะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น  การเหนี่ยวนํา แต่ส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือวัดไฟ ของถูกจะอ่านค่าได้ไม่เที่ยงตรงนัก เราขอแนะนำมัลติมิเตอร์ยี่ห้อ fluke ซึ่งแม้จะมีราคาสูง แต่ทนทาน มีมาตรฐาน และอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเรียกว่าซื้อทีเดียวใช้คุ้ม โดยท่านสามารถสั่งออนไลน์ผ่าน ตัวแทนจำหน่าย fluke ได้ สำหรับการใช้งานแบบบ้านๆ แนะนำรุ่น FLUKE 117 ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่จำเป็นครบเหมาะกับช่างไฟทั่วไปมากครับ
เครื่องมือวัดไฟ คืออะไร
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้า ที่ช่วยให้ท่านสามารถวัดค่าไฟฟ้าต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า, แอมแปร์, โอห์มและความต่อเนื่อง เครื่องมือวัด fluke 117 มีฟังชันก์ เหล่านี้ทั้งหมดนี้ หน้าจอ fluke 117 บอกผลตัวเลข 4 หลัก ซึ่งเหมาะมากสำหรับมือใหม่ เครื่องมือวัดไฟจะมีโหมดย่านต่างๆ ให้เลือก โดยการปรับหน้าปัดไปที่โหมดย่านเหล่านั้น ตามสัญลักษณ์ ดังนี้
V วัดแรงดันไฟฟ้า ทั้งแบบDC และไฟฟ้ากระแสสลับ
mV วัดค่าโวลต์ แรงดันต่ำ แบบDC และไฟฟ้ากระแสสลับ
Ω ตรวจสอบค่า R
A วัดปริมาณไฟ แบบกระแสไฟตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
และย่านวัดความต่อเนื่องสำหรับ ไว้สำหรับเช็คสายไฟ
สำหรับขั้นตอนการวัดค่าไฟโหมดทั่วไปต่างๆ เราได้รวบรวมแนวทางไว้ดังต่อไปนี้
การตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า
การตรวจสอบโวลต์ หรือตรวจสอบแรงดันกระแสตรง และย่านกระแสสลับ ก่อนอื่นคุณต้องหาถ่าน AA ที่ที่ใช้แล้วมาทำการทดสอบจากนั้น
1.เสียบขั้วลบสีดำเข้ากับช่อง COM (common) ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2.ต่อสายแดงเข้าช่อง V
3.ปรับหน้าปัดไปยังสัญลักษณ์ V แรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงสูง หรือกระแสตรงต่ำ mV จอแสดงผลจะขึ้นโหมด DC
4.นำสายไฟสีแดงแตะที่ขั้วบวก สายสีดำแตะขั้วลบ ของถ่าน AA
5.ค่าของแรงดันไฟฟ้า ของแบตเตอรี่จะจะแสดงตัวเลขที่แม่นยำบนเครื่องมือวัดไฟ
6.ในกรณีวัดไฟบ้าน ให้ปรับลูกบิดไปที่ย่าน V แรงดันกระแสสลับ สูง Hz เท่านั้น ซึ่งหน้าจอจะเห็นเครื่องหมาย AC
7.เสียบสายทั้งสองสีที่ปลั๊กไฟบ้าน แต่ต้องระวังอย่าให้ทั้งแท่งสายขั้วบวกลบสัมผัสกัน หรือนิ้วไปถูกบริเวณแท่งเหล็ก ซึ่งไฟกระแสตรงเมืองไทยจะขึ้นค่าประมาณ 220V
(http://www.meterdd.com/product_images/94255716103-Fluke-971.jpg)
Credit : www.meterdd.com
การแอมป์มิเตอร์
1.เสียบสายดำเข้ากับช่อง COM (common)
2.ต่อขั้วบวกของสายสีแดงที่รูสัญลักษณ์ A ซึ่งเครื่องมือวัด fluke 117 สามารถตรวจสอบปริมาณไฟได้ไม่เกิน 10A
3.บิดลูกบิดไปยังย่านโหมด กระแส กระแสไฟ DC
4.ทำการต่อสายสีดำ-แดงเชื่อม เข้าโหลดแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบอนุกรม ค่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะแสดงขึ้นที่จอ
5.หากคุณต้องการวัดกระแสไฟ AC ให้บิดลูกบิดไปที่ สัญลักษณ์ตรวจสอบกระแสสูง หรือเครื่องหมาย A Hz ทำการต่อสายสีดำ-แดงเชื่อม เข้าโหลดกับวงจรแบบอนุกรม ค่ากระแสไฟฟ้าจะแสดงที่จอมัลติมิเตอร์ แต่คุณควรพึงระวังเสมอว่าสามารถวัดกระแสมีลิมิตไม่เกิน 10A เท่านั้น ถ้านำไปตรวจสอบกระแสไฟที่ปริมาณมากกว่านั้น ฟิวส์ภายในมัลติมิเตอร์จะพัง ทำให้เครื่องมือวัดไฟเสียหายได้
การตรวจสอบตัวต้านทาน
การวัดตัวต้านทาน หรือ R คือ ตัวต้านทาน กระแสไฟ เพื่อปรับลดปริมาณไฟให้พอดีกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือวงจรต่างๆ
1.เสียบสายดำแดง เหมือนการตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า สายสีแดงเสียบเข้ากับเครื่องหมาย Ω โอเมก้า สัญลักษณ์กรีกโบราณ ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2. บิดลูกบิดไปยังย่าน Ω ความต้านทาน และหากเอาขั้วสายทั้งสองเส้นมาแตะกันจะไม่มีความต้านทาน เครื่องมือวัดไฟจะขึ้นค่า 0 โอห์ม คือความต้านทานไม่มี
3.นำเอาสายขั้วบวกลบ ไปสัมผัสยังปลายสองข้างของสายไฟที่จะวัดค่า R
4.จากนั้นหน้าจอดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะแสดงตัวเลขค่าRของวัสดุนั้นๆ ซึ่งถ้าไม่มีRแล้ว หน้าจอจะเท่ากับ 0
การวัดความต่อเนื่อง หรือวิธีเช็คสาย
ตรวจสอบความต่อเนื่อง เป็นวัดการนำไฟฟ้าของสายไฟ หรือเช็ควัสดุนำไฟว่าต่อกัน วัดว่าสายไฟเสียหรือไม่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.ต่อสายสีดำ เข้าช่อง COM (common)
2.ต่อสายสีแดงเข้า ช่องโอห์ม ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
3.บิดลูกบิดไปที่สัญลักษณ์ความต่อเนื่อง เครื่องหมาย wifi
4.ทดลองโดยการนำปลายสายดำแดงมาสัมผัสกัน ซึ่งเครื่องจะส่งเสียงเตือน ปี๊บ นั่นหมายความว่าสายเชื่อมต่อกัน
5.จากนั้นเอานำสายแดง-ดำ สัมผัสที่ปลายอุปกรณ์ที่เราจะทดลองทั้งสองด้าน ถ้าหากเครื่องมือวัดส่งเสียงดังบี๊บๆ แสดงว่าสายไม่ขาด นั่นเอง แต่ถ้าไม่มีเสียงดัง แสดงว่าสายอาจจะพัง
ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ทั้งนี้เราต้องทำการปฏิบัติฝึกหัดให้เข้าใจ ให้แตกฉาน และต้องระมัดระวังเสมอเวลาจะตรวจไฟกระแสสลับ ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่มีแรงดันสูง อันตรายอย่างมาก และหากท่านมีงบเพียงพอ การซื้อหาเครื่องดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบรนด์ fluke จากตัวแทนจำหน่าย fluke ตามห้างต่างๆ จะช่วยให้เพื่อนๆตรวจวัดไฟได้ไม่ยากเลย เพราะแบรนด์ทั่วไปแล้วจะมีช่วงย่านที่สับสนกว่านี้ แต่กับของ fluke มีการออกแบบระบบทำให้มือใหม่ตรวจวัดไฟได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญความเนี๊ยบของงาน fluke ถือเป็นอันดับหนึ่งทีเดียว

เครดิต : http://www.meterdd.com

Tags : fluke,เครื่องมือวัด fluke,ตัวแทนจำหน่าย fluke
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ