หัวข้อ: การตรวจสุขภาพคนทำงานต้องทำอย่างไรบ้าง? เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ กันยายน 23, 2021, 10:48:51 am กระบวนการตรวจสุขภาพคนทำงาน จะเริ่มตั้งแต่การที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เก็บข้อมูลด้านสุขภาพของคนทำงาน ทั้งข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว โรคในครอบครัว ประวัติการแพ้ยาและอาหาร มาประมวลร่วมกับข้อมูลความเสี่ยงจากการทำงาน ว่าคนทำงานนั้นมีการได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอะไรบ้างจากการทำงาน โดยข้อมูลอาจได้จากการสอบถามคนทำงานโดยตรง หรือข้อมูลจากองค์กรที่ทำงานอยู่ หรือจากการเดินสำรวจสถานที่ทำงาน
การตรวจสุขภาพคนทำงานต้องทำอย่างไรบ้าง? เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินความเสี่ยง เพื่อออกแบบเป็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับคนทำงานแต่ละคน จากนั้นทำการตรวจสุขภาพตามโปรแกรมที่ออกแบบไว้ โดยการตรวจร่างกาย ส่งตรวจเลือดและปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจภาพรังสี และตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ชนิดต่างๆ นำผลที่ได้มาประเมินและแจ้งให้กับผู้เข้ารับการตรวจทราบ หากแพทย์พบปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าการเจ็บป่วยเป็นโรคหรือความเสื่อมต่างๆ ก็จะได้ดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีต่อไป หากพบความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในอนาคต ก็จะให้คำแนะนำในการป้องกันแก้ไข ให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพแบบต่างๆ รวมถึงการให้ยาหรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามแต่ปัญหาที่พบในคนทำงานแต่ละคนด้วย สิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการทำงานคืออะไร? สิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการทำงาน (Occupational hazard) คือสิ่งหรือสภาวการณ์ต่างๆ ที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อคนทำงานที่สัมผัสต่อสิ่งหรือสภาวการณ์นั้นได้ สิ่งคุกคามต่อสุขภาพในการทำงานแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ทั้งสิ่งคุกคามทางด้านกายภาพ เช่น เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง แสงสว่างที่จ้าหรือหรี่เกินไปอาจทำให้มีอาการปวดและเมื่อยล้าของสายตา รังสีบางชนิดสามารถก่อโรคมะเร็งได้ สิ่งคุกคามทางด้านเคมี ก็คือสารเคมีต่างๆ เช่น สารตัวทำละลาย สารโลหะหนัก ยาปราบศัตรูพืช ที่อาจเป็นพิษกับคนทำงานที่ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายมากเกินระดับที่ปลอดภัย สิ่งคุกคามทางด้านชีวภาพ ก็คือเชื้อโรคต่างๆ ที่หากคนทำงานได้รับเข้าไปจะเกิดโรคติดเชื้อขึ้น เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า เชื้อวัณโรค เชื้อมาลาเรีย สิ่งคุกคามทางด้านการยศาสตร์ ก็คือการทำงานในท่าทางต่างๆ ที่ไม่สะดวกสบาย การตรวจสุขภาพคนทำงานต้องทำอย่างไรบ้าง? ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://สุขภาพ.cc/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%89/
|