หัวข้อ: ส่วนประกอบของ ซองลามิเนต เริ่มหัวข้อโดย: siamwebsite ที่ สิงหาคม 20, 2022, 03:46:10 pm ขนมขบเคี้ยวหรือตามภาษาที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า อาหารว่าง (snack) เป็นอาหารที่มักรับประทาน ระหว่าง มื้อในยามพักผ่อนหรือยามว่าง หรือจัดให้รับประทานในงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ มักทำจากมันฝรั่ง ข้าว ข้าวโพด ถั่ว เนื้อ หรือปลา นำมาปรุงรสแล้วผ่านกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอบ ทอด แล้วนำมาฉีกหรือรีดเป็นเส้นๆ หรือแผ่นบางๆ โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะเห็นขนมขบเคี้ยวบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกที่ออกแบบกราฟฟิกพิมพ์สีสัน สวยงาม วางจำหน่ายอยู่ตามชั้นในร้านค้าแถวบ้าน หรือในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยที่จะวางขายอยู่ได้นาน ถ้าไม่มี การ เปิดถุงหรือซองบรรจุขนมเหล่านั้น ทั้งนี้ เพราะผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวเหล่านี้ได้เลือกชนิดของฟิล์มพลาสติก เพื่อที่จะถนอมและ รักษาคุณภาพของขนมให้มีอายุการเก็บได้นาน ตลอดอายุการวางจำหน่ายนั่นเอง เนื่องจากขนมขบเคี้ยวที่ผลิตขายมักมีปริมาณความชื้นต่ำ จึงดูดความชื้นจากภายนอกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ขนมหายกรอบมีปริมาณของไขมันสูง เพราะต้องทอดหรืออบในน้ำมัน จึงมักจะก่อปัญหาทำให้เกิดกลิ่นหืนได้ง่าย หรือบางชนิดอาจกรอบหรือแตกง่าย เช่น ขนมปังกรอบ (cracker) หรือขนม ประเภทถั่วต้องเติมเกลือเพื่อให้เค็มเป็น การเพิ่มรสชาติ ดังนั้นการเลือกใช้ฟิล์มพลาสติกในการบรรจุขนม จึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของฟิล์มที่สามารถ ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคุณสมบัติต่างๆ ของขนมได้ เช่น ต้องสามารถป้องกันความชื้นได้ ตัวอย่าง เช่น ฟิล์มพลาสติกชนิด PE, PP, PET เป็นต้น ต้องป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ ทำให้ไม่มีคราบน้ำมันเกาะติดอยู่ที่ผิวนอกของถุงพลาสติกที่สามารถกันไขมันได้ดี เช่น PP, ionomer ต้องป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ โดยเฉพาะก๊าซออกซิเจนพลาสติกที่กันไม่ให้ก๊าซผ่านได้ง่าย และสามารถรักษากลิ่นได้ด้วย เช่น nylon และ PVDC นอกจากนี้ผู้ผลิตยังต้องพิจารณาและศึกษาในเรื่องของอายุการเก็บของขนมหรือระยะเวลาในการวางขาย เครื่องจักรสำหรับบรรจุ รวมทั้งแหล่ง ผลิตฟิล์มและราคาด้วย เพื่อเป็นข้อกำหนดในการเลือกใช้ถุงพลาสติก ให้เหมาะสม จึงเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นขนมขบเคี้ยวให้เด็กๆ ได้รับประทานเล่นๆ อย่างเอร็ดอร่อยนั้นมีที่มา ที่ยุ่งยากไม่ใช่น้อยเลย ปัจจุบันมีอาหาร ขนมขบเคี้ยวรสชาติและรูปแบบต่างๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอดกรอบ ข้าวเกรียบ คุกกี้ ข้าวโพดคั่ว ขนมอบกรอบ และอื่นๆ อีกมากมายที่บรรจุในซองพลาสติก วางขายตามท้องตลาด เมื่อเราซื้อมา บริโภคจะพบว่าบางครั้งสินค้าข้างในซองจะอ่อนนุ่มไม่กรอบ หรือบางทีก็ มีกลิ่นเหม็นหืน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ซองอาหารบรรจุและปิดผนึกเรียบร้อยมิดชิด ซองอาหารหรือขนมทำมาจากแผ่นฟิล์มพลาสติกและมักทำจากฟิล์มพลาสติกหลายชนิดหรือหลายแผ่นมาประกบกัน เช่น polyethylene ประกบกับ polypropylene หรือ polyethylene ประกบกับฟิล์ม metalized เป็นต้น เพื่อเพิ่มหรือทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของซองอาหารดีขึ้น เช่น ความแข็งแรง ความสามารถในการปิดผนึก และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของอาหารและขนมขบเคี้ยวเหล่านั้นมาก คือ คุณสมบัติในการ ซึมผ่าน ซึ่งหมายถึงการซึมผ่านของไอน้ำ และก๊าซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซออกซิเจน เพราะโดยปกติแล้วฟิล์มพลาสติกชนิดต่างๆ ไม่สามารถป้องกันน้ำและก๊าซได้ 100% และแต่ละชนิดก็จะป้องกันการซึมผ่านได้ไม่เท่ากัน บางชนิดอาจจะป้องกันการซึมผ่านของ ก๊าซออกซิเจนได้ไม่ดี เช่น oriented polypropylene, polyethylene บางชนิดป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนได้ดี แต่ป้องกันไอน้ำได้ไม่ดี เช่น nylon บางชนิดป้องกันได้ดีทั้งสองอย่าง เช่น polyethylene terephthalate (PET) หรือบางชนิดป้องกันได้ไม่ดีทั้งสองอย่าง เช่น PVC ดังนั้นผู้ผลิตจึงพยายามเลือกชนิดของฟิล์มพลาสติกที่มีคุณสมบัติเด่นแตกต่างกันมาประกบกัน เพื่อทำซองให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงระยะเวลาการวางจำหน่าย ถึงแม้ว่าจะมีการประกบกันของฟิล์มพลาสติกหลายชนิด แต่ก็ยังมีการ ซึมผ่านเข้าของไอน้ำและก๊าซออกซิเจนได้จำนวนหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเราซื้ออาหารขบเคี้ยว ที่มีวางขายตามร้านมาช่วงเวลาหนึ่งแล้วพบว่าอาหารไม่กรอบ ก็เป็นเพราะว่ามีการซึมผ่านของไอน้ำเข้าไปผสมในอาหารทีละน้อยจนกระทั่งชื้น หรืออาหารมีกลิ่นเหม็นหืนก็เพราะมีการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนเข้าไป ทีละน้อย เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับอาหารจนมีกลิ่นเหม็นหืนดังกล่าว
(https://www.kaelynpackage.com/wp-content/uploads/2022/06/1591777-10Flat-bottom-pouch.jpg) https://www.kaelynpackage.com/?p=2741 -------------------- ช่องทางการติดต่อ โทร : 063-632-6146 Line : LINE@ ที่อยู่ : 862/34 ชั้น3 อาคารเดอะนิชไอดี แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 -------------------- โรงพิมพ์ซองฟอยล์ ซองฟอยล์ ถุงซิป ซองครีม ซองลามิเนต ซองซาเช่ ซองใส่ขนม รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก เว็บไซต์ขยายสายงาน สยามเว็บไซต์ SIAMWEBSITE --------------------
|