ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Bigbombboomz ที่ พฤศจิกายน 25, 2015, 07:51:17 am



หัวข้อ: การชาร์จสมาร์ทโฟนแบบไร้สายมาตรฐาน Qi
เริ่มหัวข้อโดย: Bigbombboomz ที่ พฤศจิกายน 25, 2015, 07:51:17 am
สนับสนุนข้อมูลโดย...
(http://www.mx7.com/t/afb/y1SmdS.jpg)   (http://www.mx7.com/t/eec/Ubhfp9.jpg)

          ปัจจุบันระบบการชาร์จสมาร์ทโฟนแบบไร้สาย กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
เรื่อยๆ จะเห็นได้จากสมาร์ทโฟนที่ออกวางตลาดรุ่นใหม่ๆ จะเริ่มรองรับการชาร์จแบบ
ไร้สายมากขึ้น มาตรฐาน Qi (อ่านออกเสียงว่า ชี่ หมายถึงพลังงานหรือลมหายใจใน
ภาษาจีน) เป็นมาตรฐานการชาร์จแบบไร้สายที่ใช้กันมากในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ที่มีวาง
ขายในท้องตลาดขณะนี้จะเป็น Qi V1.0/V1.1(ราคา 400-1,500 บาท)   ซึ่งสามารถ
จ่ายกำลังไฟได้ 5 V. ระยะห่างไม่เกิน 5 มม. สำหรับ Qi V1.2 ได้เพิ่มกำลังไฟเป็น
15 วัตต์และคุณสมบัติการชาร์จเร็ว เริ่มมีวางขายในต่างประเทศแต่ราคายังค่อนข้างสูง
(ราคา 2,500-5,000 บาท) คาดว่าจะกลายเป็นรุ่นมาตรฐานในอีก 1-2 ปีข้างหน้า



(http://www.mx7.com/s/ddd/cF0ePT.jpg)

นิโคลา เทสลา

          ผู้คิดค้นหลักการส่งพลังงานแบบไร้สายเป็นคนแรกคือ นิโคลา เทสลา ซึงเป็น
นักประดิษฐ์นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศกรไฟฟ้าชาวเซอร์เบีย (ปัจจุบันคือ
สาธารณรัฐโครเอเชีย) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
ด้วยผลงานการคิดค้นมากมายของเขาจนได้รับสิทธิบัตรมากกว่า 300 รายการ  ทำให้
เทสลาได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งวงการวิศกรรมไฟฟ้ายุคใหม่ เทสลาเป็นผู้คิดค้น
สัญญาณวิทยุ ค้นพบหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแส
สลับเพือ่แข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่โทมัส อัลวา เอดิสัน พัฒนาอยู่ในยุคนั้น จนทำให้
ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

          หลักการทำงานของมาตรฐานการชาร์จแบบ Qi คืออาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด
2 ชุดเป็นตัวส่งผ่านพลังงาน โดยขดลวดชุดแรกเป็นคอล์ยส่ง (Transmitter Coil) ที่อยู่กับ
แท่นชาร์จไร้สายจะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นสนามแม่เหล็กส่งผ่านอากาศไปยังขดลวด
ชุดที่ 2 ซึ่งเป็นคอล์ยรับ (Receiver Coil) ที่อยู่กับตัวเครื่องสมาร์ทโฟน เมื่อชุดคอล์ยรับ
ได้รับสนามแม่เหล็กก็จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในคอล์ยรับ จ่ายกำลัง
ไฟให้กับวงจรชาร์จไฟของสมาร์ทโฟนตามลำดับ

 (http://www.mx7.com/s/792/QL1mUI.jpg)


            ข้อดีของมาตรฐานการชาร์จแบบ Qi คือเราสามารถนำสมาร์ทโฟนยี่ห้อหนึ่ง
ไปชาร์จกับแท่นชาร์จมาตรฐาน Qi อีกยี่ห้อหนึ่งได้ ลองนึกดูว่าในกรณีที่เราลืมนำสาย
ชาร์จหรือแท่นชาร์จติดตัวไปด้วยเวลาเดินทาง หรือเครื่องชาร์จเกิดเสียหายกระทันหัน
เราก็ยังสามารถชาร์จไฟได้โดยสะดวกถ้ามีแท่นชาร์จมาตรฐาน Qi คอยให้บริการอยู่
ตามที่ทำงาน, ห้างสรรพสินค้า, รถโดยสาร, เครื่องบิน หรือตามที่ต่างๆ

(http://www.mx7.com/s/4cf/WaplAk.JPG)


(http://www.mx7.com/s/9f8/sbRCRD.JPG)


            เรียกได้ว่าอีกหน่อยไปที่ไหนพกพาสมาร์ทโฟนไปเครื่องเดียวก็หาที่ชาร์จไฟได้
โดยไม่ลำบาก และในอนาคตอันใกล้นี้เราคงจะสามารถชาร์จแบบไร้สายได้ตลอดเวลา
โดยที่เราอาจจะกำลังคุยโทรศัพท์อยู่หรือพกพาไว้ในกระเป๋าก็เป็นได้ เพราะแว่วๆ ว่า
นักวิจัยของ MIT กำลังพัฒนาระบบ MagMIMO เพื่อให้สามารถแพร่กระจายกำลังไฟ
ให้กับอุปกรณ์รอบข้างแบบไร้สายคล้ายๆ กับหลักการของอุปกรณ์เราเตอร์ไวไฟซึ่งแพร่
กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ 

อ่านจบอย่าลืมแวะเยี่ยมชมร้านเพื่อเป็นกำลังใจกันหน่อยนะครับ...

สนับสนุนข้อมูลโดย...

(http://www.mx7.com/t/afb/y1SmdS.jpg)    (http://www.mx7.com/t/eec/Ubhfp9.jpg)


Reference :        

         http://www.wirelesspowerconsortium.com/blog/86/major-milestones-for-v12-resonant-specification       
         https://en.wikipedia.org/wiki/Qi_(inductive_power_standard)                 
         https://en.wikipedia.org/wiki/Nikola_Tesla        
         http://powerbyproxi.com/wireless-charging/       
         http://www.extremetech.com/electronics/190926-magmimo-mits-new-long-range-wireless-charging-tech-that-works-like-wifi
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ