หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: มาตรฐานการดูแลลูกจ้างในสถานที่ทำงานที่เสียงดัง เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ ธันวาคม 11, 2023, 07:04:51 pm ระดับเสียงแค่ไหนถึงถูกต้อง? ระยะเวลายาวนานแค่ไหน ถึงเหมาะสมกับการทำงานในแหล่งกำเนิดเสียงดัง? สิ่งเหล่านี้มีข้อกฎหมายกำหนดเพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมควบคุมและกำกับดูแลให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหากไม่ทำ ไม่เพียงแต่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพของบุคลากรในโรงงานด้วย
แน่นอนว่าโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมประเภทไหน ล้วนต้องมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดเสียงดังด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งผลกระทบของระดับเสียงที่ดังเกินมาตรฐาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายและจิตใจของคนเราเสื่อมโทรมลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคลากรหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในจุดต้นกำเนิดเสียง ด้วยเหตุนี้เอง กรมแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่างๆ เอาไว้ เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้าง โดยมีสาระสำคัญที่เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายต้องทราบ ดังต่อไปนี้ - ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องได้รับการควบคุมไม่ให้เกิน 91 เดซิเบล - ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงในจุดกำเนิดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล - หากลูกจ้างต้องทำงานในจุดกำเนิดเสียงติดต่อกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ 8 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ระดับเสียงในจุดกำเนิดเสียงต้องได้รับการควบคุมให้ไม่เกิน 80 เดซิเบล - ห้ามลูกจ้างทำงานภายในบริเวณจุดกำเนิดเสียงที่มีระดับความดังของเสียง เกิน 140 เดซิเบลเด็ดขาด โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดการ กำกับ และดูแลควบคุมระดับของเสียงให้ได้ตามข้อกำหนด ถึงจะสามารถให้ลูกจ้างทำงานได้ ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดของกรมแรงงานในเรื่องของการควบคุมเสียงภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีส่วนสัมพันธ์กันระหว่างระดับของเสียง กับ ระยะเวลาในการได้รับเสียงต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลก็มาจากการที่ยิ่งคนเราได้รับเสียงที่เกินมาตรฐานนานเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงเท่านั้น โดยมาตรฐานของระดับเสียงที่จัดว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายตามองค์การอนามัยโลกกำหนดนั้นอยู่ที่ ตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งหากร่างกายได้รับมากกว่านั้น ก็ยังสามารถทำงานอยู่ได้ แต่ไม่ควรได้รับยาวนานต่อเนื่อง เพื่อจะส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจแบบสะสมและรุนแรงได้ ฉนวนกันเสียง: มาตรฐานการดูแลลูกจ้างในสถานที่ทำงานที่เสียงดัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/
|