ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Lali ที่ ตุลาคม 28, 2024, 12:03:23 am



หัวข้อ: จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง มีขั้นตอนอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: Lali ที่ ตุลาคม 28, 2024, 12:03:23 am
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/1-1-png.webp)

การเลือก จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง ต้องมีความละเอียด รอบคอบเพื่อดำเนินการจดจัดตั้งบริษัทให้สำเร็จ แต่หากคุณไม่มีความรู้ และความเข้าใจในกระบวนการ บทความนี้ เราจะมาอธิบายขั้นตอน และเอกสารที่จำเป็น ในการจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง เพื่อช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

เรียนรู้ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง ฉบับเต็มคลิกอ่านที่นี่


ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง

การจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้:

(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/2-1-png.webp)

ขั้นตอนที่ 1 จองชื่อบริษัท: นำชื่อบริษัทที่ทำการเตรียมไว้ ไปเช็คในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อที่เลือกไม่ซ้ำกับบริษัทอื่น
โดยสามารถจองได้ที่
 - กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ประกอบกิจการ หรือในกรณีที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถดำเนินการได้ที่ สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
- และสามารถจองผ่านระบบออนไลน์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://reserve.dbd.go.th/[/url]


(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/3-2-png.webp)
ขั้นตอนที่ 2 จัดทำหนังสือ บริคณห์สนธิ:เป็นหนังสือที่แสดงความต้องการจัดตั้งนิติบุคคลต่อรัฐ และ แสดงข้อมูลของบริษัทให้กับทางรัฐ โดยจะประกอบไปด้วย
1. ชื่อของบริษัท
2. ที่อยู่ของสำนักงานใหญ่
3. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท (สามารถคลิกเพื่อดู [url=https://www.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/downloads/03_boj/detail5_intro5.pdf]หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์)

4. ทุนจดทะเบียน
5. ผู้ถือหุ้นของบริษัท
6. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ อายุ เลขที่บัตรประชาชน และจำนวนหุ้นที่ถือ
สำหรับที่ต้องการศึกษาขั้นตอนนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่ หนังสือบริคณห์สนธิ-คือ

ขั้นตอนที่ 3 จัดการจองซื้อหุ้นบริษัท: ผู้จัดตั้งบริษัทต้องดำเนินการให้มีผู้ถือหุ้นจนครบตามหุ้นที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถถือหุ้นขั้นต่ำได้ 1 หุ้น

ขั้นตอนที่ 4 จัดประชุมจัดตั้งบริษัท: ผู้ก่อตั้งจะต้องออกหนังสือให้ผู้ถือหุ้นทราบอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุมจัดตั้ง

(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/4-2-png.webp)
ขั้นตอนที่ 5 ผู้ถือหุ้นมอบหมายกิจการให้แก่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง:

กรรมการเรียกต้องชำระค่าหุ้น กับผู้ถือหุ้น อย่างน้อย 25 % ของทุนจดทะเบียน เพื่อนำเป็นหลักฐานแสดงแก่นายทะเบียน  เมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้วกรรมการมีหน้าที่ ยื่นจดทะเบียนด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องไม่เกิน 3 เดือน จากวันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท
(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/5-2-png.webp)
ขั้นตอนที่ 6 จัดเตรียม และ ตรวจสอบเอกสารจดทะเบียนบริษัท
  • คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
  • แบบคำร้องขอจดทะเบียนบริษัท
  • รายการจดทะเบียนจัดตั้ง แบบ บอจ.3
  • รายละเอียดกรรมการ แบบ ก.
  • บัญชีผู้ถือหุ้น แบบ บอจ. 5
  • สำเนาหนังสือนัดประชุมจัดตั้งบริษัท
  • สำเนารายงานการประชุมจัดตั้ง
  • สำเนาหลักฐานการชำระหุ้นของผู้ถือหุ้น
  • สำเนาข้อบังคับ ชำระเงินค่าอาการแสตม์ จำนวน 200 บาท (ถ้ามี)

(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/6-3-png.webp)
ขั้นตอนที่ 7 ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท:
 ในขั้นตอนนี้สามารถเลือก ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ 2 รูป แบบ Walk in และ แบบออนไลน์
ยื่นเอกสารแบบ (Walk in) นำเอกสารทั้งหมดที่เตรียมไว้ไปยื่นที่ สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ ในขั้นตอนนี้สามารถทำผ่านทางเว็บไซต์ DBD e-Registeration [/url]

 โดยสามารถอ่านวิธีการดำเนินการจดทะเบียนออนไลน์ได้ที่ วิธีการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ [url=https://www.narinthong.com/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C/]

ค่าธรรมเนียม
  • ค่าจดทะเบียน: ขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียนของบริษัท (มักอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาทสำหรับทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท)
  • หนังสือรับรอง: รายการละ 40 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน :ใบละ 100 บาท
  • รับรองสำเนาเอกสารสำหรับทดทะเบียน: หน้าละ 50 บาท

อยากจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง แต่ไม่อยากพลาด คลิกอ่านบทความเต็มที่นี่


จ้างจดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง

(https://www.narinthong.com/wp-content/uploads/2024/10/7-1-png.webp)

  • ค่าใช้จ่าย:การดำเนินการด้วยตัวเองจะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า หากดำเนินการได้สำเร็จ แต่หากเราดำเนินการผิดพลาด ก็อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

  • การจัดเตรียมเอกสาร:

สำหรับสำนักงานบัญชี สามารถเตรียมเอกสาร และตรวจความถูกต้องเรียบร้อยของเอกสาร ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในการยื่นจดทะเบียนบริษัทได้

แต่สำหรับใครที่ดำเนินการเอง ก็อาจต้องใช้เวลาและความพยายามในการทำความเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความพลาดสูงกว่าการ จ้างสำนักงานบัญชี

  • ระยะเวลาในการดำเนินการ สำหรับเจ้าของกิจการที่ต้องการดำเนินการด้วยตัวเอง จะต้องใช้เวลาในการศึกษาขั้นตอนต่างๆ นานพอสมควร แต่ถ้าหากจ้างสำนักงานบัญชี จะช่วยประหยัดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า

สรุปแล้ว จ้างจดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง แบบไหนดี? อ่านเพิ่มเติมที่นี่


สรุป
การจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการจ้างจดทะเบียนบริษัท หรือไม่ต้องการเผชิญกับความยุ่งยาก บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ