|
|
|
|
|
ในหลายๆครั้งที่นายทีได้แนะนำเทคนิคการซ่อมแซมภายนอกรถยนต์ไปแล้วบ้าง ซึ่งหลายๆบาดแผลนั้นก็ต้องการการปกปิดร่องรอยโดยสีรถยนต์นั้นก็ต้องมีเอี่ยวอยู่เสมอ แต่บางครั้งเพื่อนๆอาจไม่ทราบกันว่าสีรถยนต์จริงๆนั้นมีกี่ประเภท และเวลาเลือกใช้ให้ถูกนั้นทำยังไง สีไหนทนทานกว่ากัน มาทางนี้เลยครับนายทีมีคำตอบรออยู่แล้วครับ
|
|
|
|
|
|
|
สีประเภทแรกที่เรานั้นเจอะเจอกันตั้งแต่ถอยลูกรักออกมาจากศูนย์ใหม่ๆ ก็คือสี OEM Paint หรือสีที่พ่นมาจากโรงงานครับ สี EOM นั้นมีอีกชื่อหนึ่งว่า สีอบ (Bake Paint) ก็ตามชื่อเลยครับ เพราะว่าสีชนิดนี้ต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิสูงจากโรงงาน ความร้อนก็ราวๆ 120-170 องศาเซลเซียส โดยเมื่อสีแห้งตัวแล้วชั้นสีจะมีความทนทานสูง มีการยึดเกาะของสีที่ยอดเยี่ยม ให้ความเงางามที่ดี ไม่ซีดจางง่าย ทนแดดทนฝน ทนการกัดกร่อนของน้ำมันดีเซลและเบนซิล ทนความเย็นต่ำสุดได้ที่ -30 องศาเซลเซียส และทนความร้อนสูงสุดได้ที่ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งรวมๆก็คือสีจากโรงงานคือสีที่ทนทานที่สุดครับ
|
|
|
|
|
|
|
ทีนี้เรามาดูสีอีกประเภทหนึ่งกันบ้าง ที่เรียกกันว่า สีซ่อม (Refinish Paint) เป็นสีที่ใช้ในการซ่อมแซมสีรถดั้งเดิม โดยหลักๆนั้นจะแยกย่อยได้อีก 2 คณะ เอ๊ย! 2 ประเภทนั้นก็คือ สี 1K และ สี 2 K เรามาดูกันดีกว่าครับว่าสองตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร
|
|
|
|
|
|
|
คือสีที่มีส่วนประกอบของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานนั้นอาจจะใช้ผสมกับสารทำละลาย(Solvent) เพื่อใช้ในการเจือจางสี โดยปกติสี 1K นี้จะเรียกกันว่า สีแห้งเร็ว โดยสี 1K จะมีด้วยกันหลักๆคือ 3 ชนิดโดยไล่จากการพัฒนาการจาก สี 1K ซินเทติค (1K Synthetic) > สี 1K ไนโตรเซลลูโลส (1K Nitrocellulose) > สี 1K อะคริลิค (1K Acrylic) เมื่อก่อนนั้นสี 1K เป็นสีประเภทเดียวที่นิยมใช้กัน เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ แห้งเร็วซึ่งพ่นแล้วรอรับรถได้ไม่เกิน 1 วัน โดยในปัจจุบันนี้ตามอู่ทั่วไปมักไม่ได้นิยมใช้สี 1K กันแล้ว เพราะคุณสมบัติหลายๆเช่น ความเงางามนั้นอยู่ได้เพียง 1-3 ปี (ทั้งนี้ขึ้นกับการดูแล) ความทนทานน้อยไม่ทนต่อทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน/ดีเซล น้ำมันเบรก และถ้าหากโดนทินเนอร์โดยตรงอาจจะทำให้สีนั้นหลุดร่อนได้เลย
|
|
|
|
|
|
|
|
สีน้องใหม่ที่จะมาทดแทนรุ่นพี่อย่าง 1K คือ สี 2K นั่นเองครับ สี 2 K (สีแห้งช้า) คือสีที่มีส่วนประกอบด้วยกัน 2 ส่วนประกอบคือ ตัวเนื้อสีที่มีส่วนผสมเรซิน (Resin) เพื่อจะทำปฏิกิริยากับส่วนประกอบที่ 2 คือและตัวเร่งปฏิกิริยาหรือ Hardener ซึ่งตัวเร่งนี้จะมีหน้าที่ทำปฏิกิริยาเรซินในเนื้อสี ทำให้สีนั้นมีความแห้งตัว มีคุณสมบัติที่ยึดเกาะสูง ทนน้ำมัน ทนเบนซินและดีเซล ทนต่อแดดจัดๆได้ดีคล้ายกับสีชนิด OEM รวมทั้งสีไม่ซีดจางง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ 2K มี แต่ 1K ไม่มี
|
|
|
|
|
|
|
โดยสี 2K นั้นโดยรวมอาจจะยุ่งยากในการปฏิบัติงาน แถมต้องรอนานกว่าสี 1 K แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีนะครับ โดย 2K นั้นให้ความเงางามสูง อายุการใช้งานนั้นยืดยาวกว่า 5 ปี ดูแลและรักษาง่าย ในการพ่นสี 2K นั้นเมื่อตัวสีแห้งดีแล้วจะไม่มีความมันเงาต้องใช้การพ่นเคลียทับหน้า (Clear Coat) โดยสามารถใช้ได้ทั้งสี Metallic , Pearl และ Solid ครับ
|
|
|
|
|
เพราะว่างานซ่อมสีหลายๆครั้งที่นายทีได้นำเสนอไป ก็ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเช่นนี้มาเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกใช้สี ซึ่งก็ส่งผลต่อความเนียน,ความเงางาม,และความคงทนของสีแก่บอดี้รถเพื่อนๆ ก็อย่างว่าแหล่ะครับ พื้นฐานดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
|
|
|
|
|
|