หัวข้อ: กว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยในยุคปัจจุบัน เริ่มหัวข้อโดย: thawadol2006 ที่ มีนาคม 11, 2016, 11:00:41 am กว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยในยุคปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมียุคและสมัยเมืองหลวงและอาณาจักรอันรุ่งโรจน์นับตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน เมื่อความเจริญรุดหน้าการติดต่อกับต่างประเทศอาจไม่ใช่เพียงการค้าขายอย่างเดียวการทูตการออกไปเจริญสัมพันธไมตรียิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคล่าอาณานิคม สยามในขณะนั้นพรั่งพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณธัญญาหารเครื่องเทศ และป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์อีกทั้งภูมิประเทศที่ถูกสมญานามว่าเป็นแผนดินทองเหล่าเจ้าอาณานิคมจึงหมายมุ่งที่ยึดครองสยาม ด้วยความเฉียบแหลมในพระมหากษัตริย์ของสยาม การเสด็จประพาสต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจจึงเกิดขึ้น เนื่องจากสยามเป็นประเทศเล็กๆและอยู่ห่างกันถึงคนละฟากโลกดังนั้นสิ่งที่แสดงตัวตนของชาวสยามในยุคนั้นก็เห็นจะมีแต่ ธงประจำชาติ และเพลงชาติ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทยกันเริ่มแรกในสมัยปลายรัชกาลที่4 ทหารอังกฤษได้นำ”เพลงก๊อดเซฟเดอะควีน”เข้ามาฝึกแตรให้กับทหารของไทย คนไทยจึงนำเนื้อร้องและทำนองมาแปลงเป็น”เพลงมหาราชจงเจริญ”เพื่อเป็นเพลงถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์นั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงชาติไทย ต่อมาเพลงชาติฉบับที่สองเกิดขึ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปร์ในปีพ.ศ.2414 ขณะนั้นยังใช้ทำนองเพลงก๊อดเซฟเดอะควีนในการถวายความเคารพแต่เนื่องจากสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษการบบรรเลงเพลงจึงซ้ำกัน จึงมีพระราชดำรัสว่า ควรมีเพลงชาติเป็นของตัวเอง นายเฮวุดเซน จึงนำเพลงบุหลันลอยเลื่อนมาปรับทำนองให้เป็นสากลมากขึ้น ต่อมาเพลงสรรเสริญพระบารมีจึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2431 และใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาตินับจากนั้นจนถึงปีพ.ศ.2475 หลังจากประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475เพลงมหาชัยจึงได้เป็นเพลงชาติชั่วคราวแต่ใช้เพียง7วันเท่านั้น หลังจากนั้นพระเจนดุริยางค์จึงประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทยขึ้นมาใหม่โดยเนื้อร้องผู้แต่งคือขุนวิจิตรมาตรา จนกระทั่งปี 2477 รัฐบาลได้ประกวดการแต่งเพลงชาติไทยขึ้นมาใหม่โดยจางวางทั่ว พาทยโกศล เลยได้เผยแพร่ในช่วงระยะหนึ่ง ช่วงนั้นประเทศไทยจึงมีเพลงชาติสองเพลงสุดท้ายก้ใช้ฉบับของพระเจนดุริยางค์ต่อมาในปี 2477-2482 เพลงชาติไทยที่เป็นทางการ ได้เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไลเข้าไปจึงมีเนื้อเพลงที่ยาวมากคนทั่วไปจึงร้องเฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา จนมาถึงเพลงชาติในยุคปัจจุบัน เนท่องจากปี 2482 สยามได้เปลี่ยนเป็นประเทศไทย จึงมีเหตุจำเป็ฯให้เปลี่ยนคำร้องใหม่ รัฐบาลจึงประกาศจัดประกวดคำร้องโดยใช้ทำนองเพลงเดิมและให้มีเนื้อหาเพียง 8 วรรคเท่านั้นผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
|