ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: lnwneverdie2015 ที่ พฤษภาคม 05, 2016, 06:05:04 am



หัวข้อ: แนวทางการใช้ เครื่องมือวัด fluke แบบบ้านๆ สำหรับผู้เริ่มต้น
เริ่มหัวข้อโดย: lnwneverdie2015 ที่ พฤษภาคม 05, 2016, 06:05:04 am
(http://www.measuretronix.com/files/fluke-connect/Fluke_pc3000_FC_-_sw3000_FC.jpg)
Credit : http://topsound1984.com/index.php?topic=39056.0
เครื่องมือไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มือใหม่ หรือพ่อบ้านทั่วไป จำเป็นต้องฝึกฝนวิธีการใช้ให้คล่อง มากกว่าการรู้แต่จากหนังสือเท่านั้น และมัลติมิเตอร์ เป็นอีกเครื่องมือไฟฟ้าอีกตัวที่จำเป็นอย่างมากสำหรับมือใหม่ เพราะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือชิ้นต้นๆ ที่ช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องทฤษฏีไฟฟ้า แต่ก่อนอื่นท่านต้องเลือกซื้อหา ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ สักตัวก่อน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากหลายยี่ห้อในตลาด ทั้งที่ราคาที่ไม่แพง และราคาสูงแตกต่างกัน บางรุ่นจะมีฟังค์ชั่นพิเศษ เช่น วัดอุณหภูมิองศาฟาเรนไฮน์ได้  แต่ส่วนใหญ่แล้วมัลติมิเตอร์ ของถูกจะจะแสดงค่าคลาดเคลื่อนมากนัก เราขอแนะนำเครื่องมือวัดไฟยี่ห้อ fluke ซึ่งแม้จะมีราคาสูง แต่มีความทนทาน ตามมาตรฐานสากล และอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเรียกว่าซื้อทีเดียวจบ โดยคุณสามารถซื้อหาผ่าน ตัวแทนจำหน่าย fluke ได้ สำหรับงานไฟฟ้าเบื้องต้น แนะนำรุ่น FLUKE 117 ซึ่งมีรูปแบบการวัดที่จำเป็นครบเหมาะกับช่างไฟทั่วไปมากครับ
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ คืออะไร
เครื่องมือวัดไฟ เป็นเครื่องมือไฟฟ้า ที่ช่วยให้ท่านสามารถวัดค่าไฟฟ้าต่างๆ เช่น ความดันไฟ, แอมแปร์, ค่าความต้านทานและวัดค่าไดโอด เครื่องมือวัด fluke 117 มีฟังชันก์ เหล่านี้ทั้งหมดนี้ หน้าจอ fluke 117 บอกผลตัวเลข 4 หลัก ซึ่งเหมาะมากสำหรับช่างไฟทั่วไป มัลติมิเตอร์จะมีช่วงพิสัยต่างๆ ให้เลือก โดยการปรับหน้าปัดไปที่โหมดย่านเหล่านั้น ตามสัญลักษณ์ ดังนี้
V วัดค่าโวลต์ ทั้งแบบDC และAC
mV วัดแรงดันไฟฟ้า มิลลิแอมป์ แบบกระแสไฟตรง และAC
Ω วัดค่าความต้านทาน
A ตรวจสอบแอมแปร์ แบบไฟฟ้ากระแสตรง และAC
และโหมดตรวจสอบความต่อเนื่องสำหรับ ตรวจสอบสายไฟขาด
สำหรับขั้นตอนการวัดค่าไฟโหมดทั่วไปต่างๆ เราได้รวบรวมวิธีการไว้ดังต่อจากนี้ไป
การวัดค่าแรงดัน
การวัดค่าโวลต์ หรือตรวจสอบแรงดันกระแสตรง และย่านกระแสสลับ ก่อนอื่นคุณต้องหาแบตเตอรี่ 9v ที่ใช้งานมาทำการตรวจสอบจากนั้น
1.เสียบสายดำเข้ากับช่อง COM (common) ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2.เสียบสายแดงเข้าช่อง V
3.ปรับหน้าปัดไปยังย่านโหมด V โวลต์ แรงดันกระแสไฟตรงสูง หรือไฟฟ้ากระแสตรงต่ำ mV จอจะขึ้นสัญลักษณ์ DC
4.นำสายสีแดงแตะที่ขั้วบวก แท่งสายสีดำแตะขั้วลบ ของถ่าน AA
5.ค่าของค่าโวลต์ ของแบตเตอรี่จะแสดงที่หน้าจอบนมัลติมิเตอร์
6.ในกรณีวัดกระแสไฟ AC ให้ปรับลูกบิดไปที่ย่าน V โวลต์ AC สูง Hz เท่านั้น ซึ่งที่หน้าจอดิจิตอลจะแสดงสัญลักษณ์ AC
7.เสียบสายดำแดงที่ปลั๊กไฟบ้าน แต่ควรระวังอย่าให้ทั้งแท่งสายขั้วบวกลบสัมผัสกัน หรือนิ้วสัมผัสที่แท่งเหล็ก ซึ่งไฟบ้านจะแสดงค่าแรงดันประมาณ 220V
(http://www.smartgads.com/image/Lab Measurement/fluke 54iib.jpg)
Credit : http://www.smartgads.com/content-เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์-4-5996-91433-1.html
การวัดกระแสไฟฟ้า
1.ต่อขั้วสายสีดำเข้ากับช่อง COM (common)
2.ต่อสายสีแดงที่รูสัญลักษณ์ A ซึ่งเครื่องมือวัด fluke 117 สามารถตรวจสอบปริมาณไฟได้ไม่เกิน 10A
3.บิดลูกบิดไปยังย่านโหมด แอมแปร์ ไฟกระแสตรง
4.ต่อสายแดงดำ เข้าโหลดกับวงจรแบบอนุกรม ค่าปริมาณไฟฟ้าที่ผ่านดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะแสดงขึ้นที่จอ
5.กรณีต้องการตรวจวัดกระแสไฟ AC ให้ปรับหน้าปัดไปที่ สัญลักษณ์วัดกระแสสูง หรือสัญลักษณ์ A Hz ทำการต่อสายสีดำ-แดงเชื่อม เข้าโหลดกับเครื่องใช้แบบอนุกรม ตัวเลขปริมาณกระแสไฟ ACจะแสดงที่หน้าจอเครื่องมือวัดไฟ แต่คุณควรพึงระวังเสมอว่าเครื่องวัดสามารถตรวจสอบปริมาณไฟมีลิมิตไม่เกิน 10A เท่านั้น ถ้านำไปตรวจสอบกระแสไฟที่โอเวอร์โหลด ฟิวส์ภายในดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะระเบิด ทำให้เครื่องมือวัดไฟเจ๊งได้
การตรวจสอบค่าโอห์ม
การวัดค่าโอห์ม หรือ R คือ ตัวต้านทาน กระแสไฟ เพื่อลดกระแสให้เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือวงจรต่างๆ
1.เสียบสายขั้วบวกลบ เหมือนการวัดค่าโวลต์ เส้นสีแดงแทงเข้ากับเครื่องหมาย Ω Omega สัญลักษณ์กรีกโบราณ ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2. ปรับหน้าปัดไปยังย่าน Ω วัดค่าโอห์ม และหากเอาขั้วสายทั้งสองเส้นมาสัมผัสกันจะไม่มีความต้านทาน เครื่องวัดจะขึ้นค่า 0 โอห์ม คือไม่มีความต้านทานในอุปกรณ์นั้นเลย
3.นำเอาสายขั้วบวกลบ ไปสัมผัสยังด้านปลายของแหล่งที่จะวัดค่า R
4.จากนั้นหน้าจอมาตรวัดจะแสดงตัวเลขค่าRของแหล่งนั้นๆ ซึ่งถ้าไม่มีโอห์มแล้ว หน้าจอจะเท่ากับ 0
การตรวจสอบความต่อเนื่อง หรือวิธีเช็คสาย
ตรวจสอบความต่อเนื่อง เป็นวัดความสามารถในการนำไฟฟ้าของสายไฟ หรือเช็คอุปกรณ์นำไฟฟ้าว่าต่อกัน ตรวจสอบว่าสายไฟขาดในหรือไม่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.ต่อสายสีดำ เข้าช่อง COM (common)
2.แทงสายสีแดงขั้วลบเข้า ช่องโอห์ม ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
3.บิดลูกบิดไปที่โหมดย่านความต่อเนื่อง เครื่องหมาย wifi
4.ตรวจสอบโดยการนำแท่งปลายทั้งสองสายมาสัมผัสกัน ซึ่งมีเสียงเดือน ปี๊บ แสดงว่ามีความต่อเนื่องกัน
5.จากนั้นเอานำสายแดง-ดำ แตะที่ปลายของสายที่เราจะตรวจสอบทั้งสองด้าน ถ้าหากเครื่องมือวัดส่งเสียงดังบี๊บๆ แสดงว่าสายไม่ขาด นั่นเอง แต่ถ้าเครื่องมือวัดไม่ส่งเสียง แสดงว่าไม่มีความต่อเนื่องกัน
ง่ายมากเลยใช่ไหมครับ ทั้งนี้ท่านต้องทำการปฏิบัติฝึกหัดให้รู้เรื่อง ให้แตกฉาน และต้องพึงระวังเสมอเวลาจะวัดไฟกระแสสลับ ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่มีแรงดันสูง อันตรายอย่างมาก และหากท่านมีงบประมาณไม่จำกัด การซื้อหาเครื่องดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบรนด์ fluke จากตัวแทนจำหน่าย fluke ในเว็บออนไลน์ จะช่วยให้ท่านตรวจวัดไฟได้ไม่ยากเลย เพราะแบรนด์ทั่วไปแล้วจะมีย่านโหมดที่สับสนกว่านี้ แต่กับของ fluke มีการออกแบบระบบทำให้มือใหม่ตรวจวัดไฟได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ความเนี๊ยบของงาน fluke ถือเป็นหมายเลขหนึ่งของโลก

ขอบคุณบทความจาก : http://www.meterdd.com

Tags : fluke,เครื่องมือวัด fluke,ตัวแทนจำหน่าย fluke
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ