หัวข้อ: การทำสงครามระหว่างเกษตรกร กับ หนอนแมลงศัตรูพืช เริ่มหัวข้อโดย: Treekaesorn ที่ พฤษภาคม 26, 2016, 09:47:07 am (http://i.imgur.com/bSZ6xWU.jpg) “ซุนวู” ได้พูดไว้เมื่อ 3000 ปีก่อน “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยครั้ง” การป้องกัน การกำจัด แมลงศัตรูพืชก็เปรียบเสมือนการทำศึกสงคราม ศึกสงครามแย่งที่อยู่อาศัย สงครามแย่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ฝายหนึ่ง กับ แมงศัตรูพืชอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างก็ต่างหวังชัยชนะ แมลงศัตรูพืชอาศัยกัดกินใบพืช อยู่ในโลกนี้มาเป็นเวลเนิ่นนาน จนไม่รู้ว่า มันเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร มันก็อยู่ตามธรรมชาติ อยู่ตามวัฏจักรของมัน จนปัจุบันนี้ ประชากรโลก ต้องแย่งกันอยู่ แย่งกันทำกิน แย่งกันทำผลประโยชน์ วงการการเกษตร จึง เป็นการทำสงครามกันระหว่างเจ้าถิ่น คือ หนอนและแมลง กับ เกษตรกร ผู้มาทีหลัง เพื่อแย่งชิงที่อยู่ที่กินซึ่งกันและกัน มีการทำลายล้างซึ่งกันและกัน เกษตรกรทำลายล้างแมลงศัตรูพืชมา 40 – 50 ปี ด้วยสารเคมี จนบัดนี้ ยังไม่สามารถเอาชนะหนอน แมลง ศัตรูพืชได้หรือไม่สามารถเอาชนะ ธรรมชาติได้ เพราะเกษตรกรไม่เข้าใจวัฏจักร ของธรรมชาติ หรือรู้จักธรรมชาติ ไม่ดีพอ เกษตรกรจึงเอาชนะ หนอนและแมลงศัตรูพืชไม่ได้ ตามที่ “ซุนวู” พูดไว้ ” รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การทำสงครามระหว่างเกษตรกร กับ หนอนแมลงศัตรูพืช มีกันมาตลอด เพราะเกษตรกรไม่เข้าใจวัฏจักรของหนอน และ แมลงศัตรูพืช ว่า หนอน เกิดมาจากอะไร หนอนเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงมีหนอน มากัดมากินใบพืช มาทำลายเศรษฐกิจของวงการเกษตร ทางบริษัทฯ ผู้ผลิตเคมีเกษตร ก็ผลิตยามากำจัดหนอน ยิ่งปราบหนอนก็ยิ่งมีมากขึ้น ปราบมา 40 – 50 ปีมาแล้ว หนอนและแมลงศัตรูพืช ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณ เมื่อผู้ผลิตยาเคมี ใช้เคมีกำจัดหนอนและแมลง พวกนอนและแมลง ก็สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันตัวเอง ซึ่งเกษตรกรเองก็เห็นกันอยู่ว่า ทางบริษัทฯ เคมีเกษตรจะต้องปรับปรุงยาเคมีเกษตร ให้เข้มข้น และ รุนแรงเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา เพราะว่าหนอน และ แมลงศัตรูพืชจะมีการดื้อยา ยาเคมีใช้ซ้ำซากบ่อยๆไม่สามารถกำจัดหนอนได้ ก็มีการสร้างภูมิคุ้นกัน เพื่อความอยู่รอด ในวงจรชีวิตแต่ละเผ่าพันธ์ เกษตรกรกรจะเห็นว่า มีแมลงศัตรูพืช ชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมายหลายชนิด ทางบริษัทฯ ก็ต้องเพิ่มความรุนแรง และ เพิ่มราคา ยาเคมี ตลอดเวลา นี่คือการต่อสู้ การทำสงครามกัน ระหว่างมนุษย์ กับ หนอน แมลง ศัตรูพืช ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com
|