หัวข้อ: หนอนเจาะดอกลำไย ระบาด!! เริ่มหัวข้อโดย: Bigbombboomz ที่ พฤษภาคม 30, 2016, 05:56:19 am (http://i.imgur.com/8AxhS27.jpg) หนอนเจาะดอกลำไยช่วงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่ลำไยกำลังติดผล และพัฒนาผล ในช่วงนี้นี่เองที่จะมีศัตรูพืชของลำไยที่สามารถเข้าทำลายได้หลากหลายชนิด จากข้อมูลที่ทางชมรมได้รับแจ้งจากเกษตรกรก็ดีและผู้จัดการสวนก็ดี พบว่าเริ่มมีการพบการทำลายของหนอนเจาะขั้วผลลำไย ดังนั้นเกษตรที่ปลูกลำไยต้องดูแลช่วงนี้เป็นพิเศษ จึงขอให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไย เฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผลอย่างใกล้ชิด และหากพบว่ามีการเข้าทำลายให้ดำเนินการป้องกันกำจัดดังนี้ เรามาทำความเข้าใจต้นสายปลายเหตุกันก่อนหากเราเข้าใจสาเหตุ ก็คือการเข้ามาของผีเสื้อซึ่งวางไข่บนผล เมื่อฟักออกเป็นตัวหนอน หนอนจะเจาะเข้าทำลายผลขนาดเล็กและเจาะขั้วผลขนาดโตของลำไย ทำให้ผลร่วง หนอนจะออกมาที่ใบแก่ หนอนที่ติดในผลร่วงก็จะเข้าทำลายได้อีก ซึ่งหากเราเข้าใจแล้ว สาเหตุคืออะไร สาเหตุคือผีเสื้อ ของการวางไข่ เกือบทุกที่ไม่เคยคิดถึงตรงนี้เลย ช่วงระยะเวลาระบาด ตั้งแต่เดือน มีนาคม - สิงหาคม ของทุกปี อยู่ข้ามฤดู จะเยอะมากในช่วงกรกฎาคมถึงสิงหาคม โดยเจาะเข้าทำลายก้านใบอ่อนและก้านช่อดอกลำไย พบผีเสื้อเข้ามาติดกับดักกาวเหนียวในสวนลำไยได้ตลอดทั้งปี การป้องกันและกำจัดควรระวังนะครับ เรื่องผึ้งและแมลงอื่นๆ ที่เป็นผลดีในสวนพวกนี้จะช่วยผมเกสร หากเราไม่ระวังไปทำอะไรให้ผึ้งไม่เข้าลำไยจะติดผลน้อย ก็ไม่ได้ผลผลิตกันอีก หนอนทำลายผลผลิตก็น้อยอีก หลายต่อเลยครับ 1. หลังลำไยติดผลควรลองสังเกตุดู โดยการสุ่มสังเกตดูไข่สีเหลืองอ่อนบนผลจำนวน อันนี้ต้องสังเกตดีๆ เป็นไปได้เอาแว่นขยายช่วยส่อง ก็อย่างที่ว่าละครับสาเหตุจริงคือผีเสื้อก็ควรจะใช้โอแบค ชนิดน้ำ (สลากสีแดง) อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร หรือ 5 ถังใหญ่ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเข้ามาของผีเสื้อ หากสวนใช้ระบบสปริงเกอร์ ก็ผสมเข้าไปในระบบได้เลย2.หากพบว่าระบาดแล้ว อันนี้มีความจำเป็นที่ต้องใช้ 3 ตัวร่วมกันคือ 1.โอแบค (ชนิดน้ำ) 2.ลาเซียน่า 3.บีที-โกลด์ ให้ผสม 3 อย่างเข้าด้วยกัน หมักไว้สัก 3 ชั่วโมง แล้วเอาไปพ่นเลยครับ พ่นให้ชุ่มโดนตัวได้ยิ่งดี ทั้งสามตัวจะส่งเสริมกัน โอแบคจะป้องกันที่ต้นเหตุ คือป้องกันผีเสื้อเข้ามาอีก ส่วนลาเซียน่าและบีที-โกลด์ อันนี้มีผลในการกำจัด เป็นไปได้พ่น 10 วันครั้ง จะเป็นการทำลายวงจรชีวิต พอดีขึ้นแล้ว ค่อยเว้นระยะได้ครับ3. ตัดแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินไป เพื่อสะดวกต่อการพ่นสารชีวภาพ 4. ทำการดักผีเสื้อ โดยใช้กับดักกาวเหนียว แขวนในทรงพุ่มสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร ที่มา: ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพhttp://www.kokomax.com
|