ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: iampropostweb ที่ มิถุนายน 09, 2016, 03:07:30 pm



หัวข้อ: ประวัติโรงเรียนสันติวิทยา ( SANTIVITHAYA SCHOOL )
เริ่มหัวข้อโดย: iampropostweb ที่ มิถุนายน 09, 2016, 03:07:30 pm
ประวัติโรงเรียนสันติวิทยา (SANTIVITHAYA  SCHOOL) Website :  http://www.santivithaya.ac.th/
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ.๑๙๖๙)บาทหลวงอาริอัลโด อูร์บานี  ได้สร้างโรงเรียนโดยได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสันติวิทยา” โดยอัญเชิญพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้า  เป็นองค์อุปถัมภ์ วัตถุประสงค์เพื่อให้การอบรมสั่งสอนแก่กุลบุตรกุลธิดาชาวเชียงรายและให้โอกาสเด็กชาวเขาและเด็กยากจนได้เรียนหนังสือโดยมีโรงเรียนเปิดอยู่ใกล้บ้านของเขา     เริ่มแรกเปิดสอนตั้งแต่ชั้น  ป.๑ -  ป.๔   ตามใบอนุญาตที่ ชร.๕๑/๒๐๘๙   เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๒   มีนักเรียนระยะแรก ๑๕๐ คน มีครู ๕ คน   โดยมีนายวินัย  รักมนุษย์เป็นครูใหญ่คนแรก ทำพิธีเสกอาคารเรียนโดยพระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์  ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่และทำการเปิดป้ายอาคารเรียนโดยนายจุมพล โภคกุล นายอำเภอเมืองเชียงรายขณะนั้น
ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ.๑๙๗๖)  นายประยูร  วิจิตรวงศ์  เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ (ค.ศ.๑๙๗๘)บาทหลวงอาริอัลโด อูร์บานี ได้พัฒนาโรงเรียนสันติวิทยา ด้วยการสร้างอาคารใหม่อีก ๑ หลัง เพื่อเปิดแผนกอนุบาล สร้างหอพักนักเรียนประจำอีก ๑ หลัง เพื่อเป็นที่พักสำหรับเด็กชาวเขาเขตแม่สาย แม่จัน และเชียงแสนมาพักได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ในรูปของการศึกษาแบบสงเคราะห์ (ค่าเล่าเรียน  เสื้อผ้า  ที่พัก  อาหาร  หนังสือเรียน)  จัดตั้งศูนย์ตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงเรียนเพื่อหญิงสาวทั้งชาวพื้นราบและชาวเขาที่ขาดโอกาสสามารถมาเรียนเพื่อไปประกอบเป็นอาชีพได้และเพิ่มชั้นเรียนขึ้นทุกปีจนถึงชั้น ม.๓ ตามใบอนุญาตเลขที่  ๓/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ.๑๙๘๓) เปิดระดับอนุบาล ๑-๓ ตามใบอนุญาตเลขที่ ๑๙/๒๕๒๖ ลงวันที่ ๑  มีนาคม  ๒๕๒๖
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ.๑๙๙๐) พระสังฆราชยอแซฟสังวาลย์   ศุระศรางค์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ ในสมัยต่อมาได้เชิญคณะภคินี เซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร  มาช่วยบริหารงานในโรงเรียน  และได้เปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียน  บาทหลวงสมควร  ป้องศรี เป็นอธิการโบสถ์    นายวชิรา   นามบุญเป็น ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียน  เซอร์เจมมา  รจนา   หล่อวณิชย์เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๔(ค.ศ.๑๙๙๑) เซอร์ราฟาแอล สุคนธา   พิทักษ์พูลสิน เป็นผู้จัดการและครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖(ค.ศ.๑๙๙๓) โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้ รับรางวัลพระราชทาน  ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๖
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (ค.ศ.๑๙๙๔) ซอร์เทแรสวาริณี   วนาโรจน์สุวิช  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐) บาทหลวงธงชัย สุวรรณใจ เป็นเจ้าอาวาสและผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต   เซอร์เทเรซา  เกื้อกูล  รัตโนภาสเป็นผู้จัดการและครูใหญ่ได้สร้างอาคารเรียน ๔ ชั้น จำนวน ๑ หลัง ให้ชื่อว่า “อาคารปีติมหาการุญ”
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ.๒๐๐๑) ได้ก่อสร้างอาคารเรียน  ๔  ชั้นเพิ่มขึ้นอีก ๑  หลัง ให้ชื่อว่า “อาคารวันทามารีย์” เพื่อรองรับนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นในทุกปีการศึกษา
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ค.ศ.๒๐๐๔) บาทหลวงวิจิตต์  แสงหาญ เป็นเจ้าอาวาสและผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต   เซอร์แอนนีวารี  สนเจริญ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ ได้เปิดสอนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ๒  แผนคือแผนศิลป์คำนวณ  และแผนศิลป์ภาษา-อังกฤษจีน-บัญชี-คอมพิวเตอร์ขึ้น   ตามใบอนุญาตเลขที่ ๑๕๑/๒๕๔๗  ลงวันที่ ๑ มิถุนายน  ๒๕๔๗
ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ.๒๐๐๕) ได้เปิดสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กอายุ  ๒  ขวบ  ชื่อว่า “เนิร์สเซอรี่สันติวิทยา”
ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ.๒๐๐๖)  โรงเรียนได้รับรางวัล “สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก”
ปี พ.ศ.๒๕๕๑ (ค.ศ.๒๐๐๘) บาทหลวงสมพร  เส็งเจริญเป็นเจ้าอาวาส และผู้ทำการแทน                               ผู้รับใบอนุญาต   เซอร์แอนนี วารี  สนเจริญ  และเป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนได้รับรางวัล “สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ขนาดเล็ก”  ได้ปรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น   ๓   แผนคือ   แผนวิทย์คณิต     แผนศิลป์คำนวณ    และแผนศิลป์ภาษา-อังกฤษจีน-บัญชี-คอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ.๒๕๕๒ (ค.ศ.๒๐๐๙) บาทหลวงไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์เป็นเจ้าอาวาส และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการบริหารโรงเรียน    และเซอร์แอนนีวารี    สนเจริญ     ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและเป็นผู้อำนวยการ ได้ปรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น  ๒  แผนคือ  แผนวิทย์คณิต  และ แผนศิลป์คำนวณที่ประกอบด้วย ๒ สายคือ    ศิลป์คำนวณและศิลป์คำนวณ-อังกฤษจีน-บัญชี-คอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ.๒๕๕๓ (ค.ศ.๒๐๑๐) ได้ก่อสร้างบ้านพักผู้บริหาร (นักบวชหญิง)  ตึกอำนวยการ ที่ประกอบด้วยหอสมุดโรงเรียนที่ทันสมัยและพร้อมที่จะบริการ ให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนใกล้เคียง
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ.๒๐๑๑) บาทหลวงพงษ์ศักดิ์  นารินรักษ์เป็นเจ้าอาวาสและผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนและเซอร์แอนนีวารี สนเจริญ ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและเป็นผู้อำนวยการ วางแผนจะปรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น ๓ แผนคือ
๑) แผนวิทย์คณิต
๒) แผนศิลป์คำนวณที่ประกอบด้วย ๒ สายคือ ศิลป์คำนวณและศิลป์คำนวณ-อังกฤษจีน-บัญชี-คอมพิวเตอร์     และ
๓) แผนศิลป์ภาษา อังกฤษ-จีน
โรงเรียนสันติวิทยาเป็นโรงเรียนเอกชน  สายสามัญ  บริหารงานและดำเนินการด้านการศึกษาภายใต้จิตตารมณ์และนโยบายของกลุ่มโรงเรียนในเครือสังฆมณฑลเชียงใหม่

ที่มา : http://www.santivithaya.ac.th/

Tags : โรงเรียนสันติวิทยา, สันติวิทยา,  Santivithaya
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ