ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Narongrit999 ที่ ตุลาคม 13, 2016, 01:43:52 am



หัวข้อ: การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษีอากร การจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก
เริ่มหัวข้อโดย: Narongrit999 ที่ ตุลาคม 13, 2016, 01:43:52 am
โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายฝาก ตามมาตรา  ๔๙๒  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  โดยกำหนดให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่  ดังนั้น  การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด  ตั้งแต่วันที่  ๑๐  เมษายน  ๒๕๔๑  ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายว่าด้วยการขายฝากดังกล่าวมีผลใช้บังคับเป็นต้นมา  เมื่อมีกรณีขอจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก  พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามผลการพิจารณาของกรมที่ดิน  และเรียกเก็บภาษีอากรตามผลการพิจารณาของกรมสรรพากร  ดังนี้
ค่าธรรมเนียม  เรียกเก็บประเภทไม่มีทุนทรัพย์  แปลงละ  ๕๐  บาท  โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกรมที่ดิน ที่  มท  ๐๗๒๘/๑๕๖๖๑  ลงวันที่  ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๔๔  ตอบข้อหารือจังหวัดนครสวรรค์  เวียนโดยหนังสือ        กรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๗๒๘/ว  ๑๕๖๖๒  ลงวันที่  ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๔๔
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย   เรียกเก็บโดยถือปฏิบัติตามหนังสือกรมสรรพากร  ที่  กค  ๐๗๐๖/๙๔๑๓  ลงวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  ๒๕๔๘  เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๕๑๕/ว ๐๙๕๗๖  ลงวันที่  ๒๗  มีนาคม  ๒๕๔๙  ดังนี้[/font]
               ๑.  การเรียกเก็บให้คำนวณระยะเวลาการถือครองที่ดิน  ตั้งแต่วันที่ได้มีการทำสัญญาขายฝากถึงวันที่       จดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก [/font]
               ๒.  สำหรับฐานที่ใช้คำนวณ 
                   ๒.๑  กรณีผู้รับซื้อฝากเป็นบุคคลธรรมดา  คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก 
                   ๒.๒  กรณีผู้รับซื้อฝากเป็นนิติบุคคล  เรียกเก็บร้อยละ ๑  โดยคำนวณจากราคาทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  (ราคาขายฝากรวมผลประโยชน์ตอบแทน (ถ้ามี))  หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก  แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า[/font]
ภาษีธุรกิจเฉพาะ    การไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน  ๕  ปี  นับแต่วันที่รับซื้อฝากย่อมเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร  โดยหลักการจึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียตามมาตรา  ๓ (๑๕)  (ก)  แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร         ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ  (ฉบับที่  ๒๔๐)  พ.ศ. ๒๕๓๔  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ  (ฉบับที่  ๓๖๕)  พ.ศ. ๒๕๔๓  คือ  กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด  พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ  โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกรมสรรพากร  ที่  กค  ๐๘๑๑/๔๙๗๐  ลงวันที่  ๑๙  มิถุนายน  ๒๕๔๓  เวียนโดยหนังสือ  กรมที่ดิน ที่ มท  ๐๗๑๐/ว ๑๙๖๓๕  ลงวันที่  ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๔๓
อากรแสตมป์ใบรับ
  เรียกเก็บร้อยละ  ๕๐  สตางค์  คำนวณจากราคาทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  (ราคาขายฝากรวมผลประโยชน์ตอบแทน (ถ้ามี))  หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก  แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
[/font]
** หมายเหตุ   การไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน  ๕  ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝาก  ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาฯ  ข้างต้น  พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเรียกเก็บอากรแสตมป์ใบรับ  (ตามแนวทางปฏิบัติในหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากร  ที่  กค  ๐๘๑๑/๑๗๘๔๐  ลงวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๔๐ หน้า  ๒  ข้อ  ๑.  เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท ๐๗๑๐/ว  ๐๔๔๐๓  ลงวันที่  ๑๐  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๑) ส่วนการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากเมื่อพ้น  ๕  ปีนับแต่วันที่รับซื้อฝาก  ซึ่งไม่มีกรณีต้องเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องเรียกเก็บอากรแสตมป์ใบรับ
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ