หัวข้อ: ชุดไขควง ประแจ เครื่องมอซ่อมอเนกประสงค์ 46 ชิ้น/set คุณภาพดี ราคาย่อมเยาว์ เริ่มหัวข้อโดย: suChompunuch ที่ พฤศจิกายน 17, 2016, 04:35:48 pm [img width=750,height=617]https://qualitygadget.files.wordpress.com/2016/11/b38fd-2_10.jpg[/img]
ชุดไขควง เครื่องมือซ่อมแซม 46ชิ้น/setเหมาะกับงานซ่อมแซมที่หลากหลายรูปแบบ ชุดไขควง ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับช่างมืออาชีพ และ ใช้งานทั่วไป ชุดไขควง ประแจ เครื่องมือซ่อมแซม 46ชิ้น/set ประกอบด้วยชุดประแจไขควง ที่มีมาให้อย่างครบครันทั้งหมด 46 ชิ้นภายในชุดที่เหมาะกับงานซ่อมแซมที่หลากหลายรูปแบบ ชุดไขควง เหมาะสำหรับช่างที่นำไปใช้งานอย่างมืออาชีพชุดไขควง ประแจ ยังเหมาะกับคุณพ่อบ้านมีไว้ติดบ้านไว้ซ่อมแซมทั่วไปอีกด้วย ไขควงสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทคือ -ไขควงแบบทั่วไป (Standard type) เป็นไขควงแบบธรรมดามีหลายขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสั้นและยาว มี 2 แบบ คือ ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉก -ไขควงออฟเซต (Offset type) จะมีลักษณะเด่นคือรูปร่างจะงอเป็นมุมฉากและมีที่จับตรงกลาง เหมาะสำหรับการใช้งานในที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงซึ่งไขควงแบบทั่วไปจะทำไม่ได้ -ไขควงวัดไฟ (Screwdrivers Mains Tester)เป็นไขควงที่ใช้สำหรับการทดสอบวงจรไฟฟ้า ไขควงวัดไฟมีอยู่2แบบ คือไขควงวัดไฟแบบธรรมดาจะมีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับ และไขควงวัดไฟ แบบตัวเลขดิจิตอล ในการผลิตประแจที่มีคุณภาพส่วนใหญ่จะทำมาจากเหล็กกล้าและขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูป แต่ประแจที่นำมาใช้งานที่ดีที่สุดนั้น จะทำมาจากเหล็กกล้าผสมโครเมียมและวานาเนียมและจะขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูปเช่นเดียวกับแบบแรก คราวนี้เรามาทำความรู้จักประแจชนิดต่างๆ กันเลยครับ (1) ประแจปากตาย (Fixed Wrench) ประแจชนิดนี้ทำมาจากเหล็กเพียงชิ้นเดียวและที่ปลายทั้งสองด้าน จะมีขนาดคงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยประแจปากตายยังสามารถแบ่งออกเป็นอีกหลายชนิดได้แก่ (1.1) ประแจแหวน (Box Wrench) ลักษณะเด่นอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นแหวนวงกลม ภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวประมาณ 6-12เขี้ยว เพื่อใช้ในการจับเหลี่ยมแป้นเกลียวและสลักเกลียวได้อย่างมั่นคง (1.2) ประแจปากตายปากคู่ (Open-end Wrench) ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U)ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่เ่ท่ากันประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบมากที่สุด ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวชำรุดเสียหายได้ (1.3) ประแจรวม (Combination Wrench) ประแจชนิดนี้ได้รวมเอาประแจแหวนกับประแจปากตายปากคู่เข้าไว้ด้วยกันโดยที่ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนกับประแจแหวน ส่วนอีกด้านจะเหมือนกับประแจปากตายปากคู่ ทำให้วสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายขนาดของหัวประแจจะมีขนาดที่เท่ากันทั้งสองด้าน (1.4) ประแจกระบอก (Socket Wrench) ประแจชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับประแจแหวนแต่ลักษณะที่แตกต่างกันจะอยู่ตรงที่ตัวประแจจะประกอบด้วย 2ส่วนหลักๆ คือด้ามประแจ (Cheater Bar) และหัวประแจ (Socket) ในส่วนของด้ามประแจนั้นปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นด้ามจับ อีกด้านจะมีลักษณะเป็นหัวต่อ เพื่อนำไปต่อกับหัวประแจอีกทีหนึ่ง ลักษณะพิเศษของหัวต่อ คือสามารถหมุนได้ในทิศทางเดียว ทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น (1.5) ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอล (Allen orHex Wrench) ในการเรียกชื่อของประแจประเภทนี้สามารถเรียกได้3 แบบคือ หากเป็นแบบอเมริกันจะเรียกว่า “HexWrench” หรือ “Allen Wrench” แต่ถ้าเป็นอังกฤษจะเรียกว่า“Allen Key” ลักษณะภายนอกของประแจประเภทนี้ก็คือมีลักษณะเป็นตัวแอล (L) โดยลำตัวมีลักษณะเป็นหกเหลี่ยมประแจประเภทนี้จะถูกนำไปใช้ในการขันนอตที่มีหัวเป็นหลุมหกเหลี่ยมหรือสลักเกลี่ยวที่ทำเป็นหัวกลม ส่วนกลางทำเป็นรูหกเหลี่ยมซึ่งใช้สำหรับงานที่มีความพิเศษ เช่น สลักเกลียวปรับชิ้นงาน เป็นต้น ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ความพอดีของแรงที่ใช้ในการขันจะต้องไม่ออกแรงมากเกินไป [video]TwtCLhuDC60[/video] 2.ประแจเลื่อน (Adjustable Wrenches) ประแจชนิดนี้เป็นประแจที่สามารถปรับขนาดได้เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของแป้นเกลียว การปรับขนาดนั้นจะปรับตรงส่วนที่เป็นสลักเกลียว ซึ่งถือได้ว่าได้ว่าเป็นข้อดีของประแจชนิดนี้ ทำให้สะดวกในการพกพาเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้เกือบทุกขนาด เมื่อเทียบกับประแจปากตายแล้วถือว่าสะดวกกว่ามาก แต่จุดด้อยของประแจเลื่อนก็คือ มีปากด้านหนึ่งที่สามารถปรับเข้าออกได้ เป็นผลให้ปากด้านนี้ไม่แข็งแรงในการใช้งานจึงต้องให้ปากประแจด้านที่ไม่เคลื่อนเป็นด้านที่รับแรงมากและปรับขนาดของปากให้แนบสนิทกับแป้นเกลียวทุกครั้ง โดยประแจเลื่อนยังมีอีกหลายชนิดเช่นเดียวกับประแจปากตสายดังนี้ (2.1)ประแจจับท่อ (Pipe Wrenches) มีทั้งแบบด้ามขาเดียวและด้าม 2 ขาปากของประแจสามารถปรับให้มีขนาดกว้างได้ตามต้องการ ประแจชนิดนี้จะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการจับชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นทรงกลม เช่น ท่อน้ำ เป็นต้น จึงทำให้ปากของประแจมีฟันที่ค่อนข้างคม มีผลให้ชิ้นงานที่ถูกจับหันตามทิศทางที่ประแจหมุนไป แต่ถ้าหมุนผิดทางจะไม่สามารถจับชิ้นงานให้หมุนตามประแจได้ (2.2)ประแจเลื่อนขนาดใหญ่ประแจชนิดนี้จะจับแป้นเกลียวที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมใหญ่กว่าขนาดของประแจปากตายวิธีปรับปากประแจก็เพียงแต่ปรับที่เขี้ยวที่อยู่บริเวณด้ามจับ ประแจชนิดนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 9-18 นิ้ว
|