หัวข้อ: ถุงเท้ากันทาก สำหรับเดินป่า เหมาะสำหรับนักเดินป่าทุกๆท่าน คุณภาพดี เริ่มหัวข้อโดย: Saichonka ที่ พฤศจิกายน 19, 2016, 04:52:40 pm (https://1.bp.blogspot.com/-D7cIJO-Z9sE/WC_1Vj7m2xI/AAAAAAAAAHM/5og-joH-AzM1yjBclbXn7BjORJZzju40ACEw/s1600/6_1_6.jpg)
ถุงกันทาก[/b] สำหรับนักเดินป่าหรือนักปีนเขานอกจากนี้ยังสามารถกันน้ำและโคลนเพื่อไม่ให้เลอะเทอะเข้ามาภายในขากางเกงของนักเดินทาง - ถุงกันทากสวมใส่ทับขากางเกงสำหรับเดินป่าหรือปีนเขา - ถุงเท้ากันทาก ป้องกันทาก ระอองน้ำหรือโคลนไม่ให้เข้ามาภายในขากางเกง - ถุงเท้าเดินป่ามีคุณสมบัติกันน้ำเพราะทำจากวัสดุผ้า Oxford - มีความยืดหยุนในการใช้งานสามารถปรับขนาดถุงเท้าได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้แต่ละคน เชื่อว่าคนที่ชอบเดินป่าหรือนักท่องไพรที่เคยไปเที่ยวตามป่าที่สมบูรณ์ทั้งหลาย คงจะรู้จักมักคุ้น เจ้าสัตว์ตัวเล็กๆรูปร่างละม้ายคล้ายหนอนผสมปลิง นามว่า“ทาก”(leech)กันเป็นอย่างดี บางคนไม่อยากรู้จักว่า ทากเป็นตัวอะไรแต่ถ้าหากเผลอกายเผลอใจ เจ้าทากมันก็จะกระดึ๊บ กระดึ๊บ แวะมาทักทายพร้อมๆ กับแอบดูดเลือดหวานๆ โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า จากกายเราไปนิดหน่อย พอทำให้แสบๆ คันๆ เล่นๆ โดยเฉพาะกับคุณผู้หญิงหลายๆคนที่ยิ่งหวาดกลัวมันก็ยิ่งกระดึ๊บมาหาโดยไม่ต้องเรียก จนหลายๆคนตั้งฉายาให้มันว่า “แดร๊กคูล่าแห่งป่าไพร” เพราะเจ้าทากมักแอบมาดูดเลือดแล้วก็จากไป โดยทิ้งรอยเลือดไว้เป็นของต่างหน้า พอให้เราคิดถึง ตอนนี้รู้ว่าฝนจะตกติดต่อกันทำให้ผมนึกอยากจะเล่าถึงเรื่องที่ผมและเพือนๆ ได้ไปเดินป่าแถวบริเวณบ้านปางขุม อำเภอสะเมิง จ.เชียงใหม่ ในเขต ดอยสามหมื่น(ทางภาคเหนือเรียกภูเขา ว่า ดอย) ซึ่งเป็น ภูเขาที่ยังมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เหมือนกับเป็น “ป่าดงดิบชื้น” ในป่าดงดิบแบบนี้ มักมี สิ่งมีชีวิตที่เราคาดไม่ถึงอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ต่างจุนเจืออาศัยซึ่งกันและกัน หลายๆ ชนิดอาจดูสวยงาม น่าเอ็นดู แต่บางชนิด อาจก่อให้เกิดความขยะแขยงแก่นักเดินทาง.....ซึ่งก็เป็นเจ้า ทาก นั่งเอง ซึ่งผมเองก็ถูกทาก ฝากรอยฟันเอาไว้ดูต่างหน้า ห้าตัวครับ ทาก ยังมีหลายคนที่สับสนคิดว่ามันเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับ“หอยทาก”(snail) แต่อันที่จริงแล้วเจ้าสัตว์ทั้ง 2แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเจ้าหอยทาก กินพืช เห็ด เป็นอาหาร ส่วนทาก กินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร!!! และทากเหล่านี้ มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในแถบภูเขาป่าลึก ดิบชื้น ฤดูกาลที่ทากชอบที่สุด ก็คงเป็นหน้าฝนอย่างเลี่ยงไมได้ ในทางนิเวศวิทยาทากจัดเป็นสัตว์เผ่าพันธุ์เดียวกับปลิง หากเราใช้กล้องขยายส่องดู จะเห็นทากมีลำตัวเป็นปล้องเล็กๆเรียงกันตามแนวขวาง ซึ่งปล้องนี้แหละที่ทำให้ทากยืดและหดตัวได้อย่างสบายโดยไม่ต้องรบกวนเหยือของมัน ทาก รับรู้ว่าหยื่อของมันอยู่ที่ไหนได้จากแรงสั่นสะเทือนจากพื้นดิน..เวลาที่เราเดิน เพราะฉะนั้น การชิงเดินเป็นคนแรกๆ อาจจะปลอดภัยกว่าคนที่เดินท้ายๆ ..... เมื่อมันเจอเหยื่อ มันก็จะค่อยๆกระดึ๊บ...กระดึ๊บ เข้ามาอย่างแผ่วเบา พวกทากตัวเล็กก็เลยง่ายต่อการเข้าถึง มุดเข้าได้ทุกที่โดยที่เราไม่รู้สึกตัวเลย ก่อนที่จะเลือกหาจุดเกาะที่เหมาะสม จากนั้นมันก็ ฝังเขี้ยว ลงบนผิวหนังแล้วบรรจงดูดเลือดอย่างแผ่วเบา โดยในขณะที่ดูดเลือดมันก็จะปล่อย สารบางชนิด ที่ประหนึ่งดังยาชาออกมา เพื่อไม่ให้เรารู้ตัว ทากได้ปล่อยสารที่สำคัญ 2ชนิดที่เข้าสู่แผล 1.สารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับฮีสตามีน (Histamine) ที่จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดของเหยื่อให้ขยายตัว 2. สารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดของเหยื่อไหลไม่หยุดถึงแม้ว่าทากจะปล่อยตัวหลุดไปแล้ว [video]7u7ckQOpF0A[/video]
|