ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Narongrit999 ที่ พฤศจิกายน 26, 2016, 05:06:20 pm



หัวข้อ: ข้อควรรู้สำหรับแรงงานไทยที่ประสงค์จะมาทำงานนวดแผนไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Narongrit999 ที่ พฤศจิกายน 26, 2016, 05:06:20 pm
1. ในการเดินทางออกมาทำงาน เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานที่ประจำที่สนามบินสุวรรณภูมิจะตรวจสอบเอกสารของแรงงานไทย ว่ามีสัญญาจ้างงานที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ ประทับตรารับรองแล้วหรือยัง หากยัง เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้แรงงานไทยเดินทางออกนอกประเทศ ดังนั้น แรงงานไทยจะต้องดำเนินการเรื่องเอกสารให้สมบูรณ์ก่อน จึงจะสามารถเดินทางมาทำงาน ได้อย่างถูกต้อง

2. แรงงานไทยต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาจ้างงานให้ถี่ถ้วน (ดูแนวทางการรับรองสัญญาจ้างงานใน website ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ) โดยเฉพาะในประเด็นการทำงานและสิทธิประโยชน์ของตนเอง ได้แก่ เงินเดือน ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลาหยุดพักระหว่างวัน ที่พัก อาหาร การจ่ายเงิน ประกันสังคม ประกันสุขภาพ วันหยุดประจำปี การยุติสัญญาจ้างงาน เงินชดเชยกรณีลูกจ้างละเมิด สัญญาจ้างงาน ฯลฯ ไม่ควรหลงเชื่อบุคคลที่มาชักชวนให้มาทำงานที่มักอ้างว่า ให้ลงนามในสัญญาฯ ไป ก่อน เนื่องจากเมื่อเกิดการเอาเปรียบแรงงานและมีการฟ้องร้องขึ้น นายจ้างจะยึดเอาสัญญาจ้างงานที่แรงงานไทยได้ลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐานประกอบในการต่อสู้คดี

3. ในการลงนามในสัญญาจ้างงาน นอกเหนือจากการลงลายมือชื่อในตอนท้ายของ สัญญาฯ แรงงานไทยควรลงลายมือชื่อกำกับด้านล่างของสัญญาทุกหน้า เนื่อจากปัจจุบัน มีการตรวจพบว่า นายจ้างบางรายได้แก้ไขตัวเลขในสัญญาฯ บางข้อ อาทิ ระยะเวลาจ้างงานจาก 1 ปี เป็น 2 ปี

4. ในการลงนามในสัญญาจ้างงาน ขอให้แรงงานไทยเป็นผู้ลงนามเอง หากมีการตรวจ พบว่า แรงงานไทยได้ให้ผู้อื่นปลอมลายมือชื่อลงนามในสัญญาจ้างงานให้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะถือว่าบุคคลผู้นั้นได้ยื่นเอกสารเท็จต่อเจ้าพนักงาน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่รับรองเอกสารการจ้างงานฯ ดังกล่าว และจะบันทึกรายชื่อทั้งบุคคลที่ปลอมแปลงลายมือชื่อ และบุคคลที่ยินยอมให้ผู้อื่นปลอมแปลง ลายมือชื่อของตนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

5. เตรียมความพร้อมในด้านภาษาพื้นฐาน (ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาท้องถิ่น) สุขภาพ กาย และสุขภาพจิต เนื่องจากการมาทำงานในต่างแดน ต้องเผชิญความกดดันในการปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมใหม่ การดำรงชีวิต อาหาร และอุปสรรคในด้านภาษา

6. ควรสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศที่กระทรวงแรงงาน เพื่อสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากเงินกองทุนฯ ตามบทบัญญัติระเบียบกระทรวง แรงงานว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ พ.ศ. 2549

7. กรณีเข้าทำงานแล้วหากนายจ้างเรียกร้องให้ลงนามในสัญญาจ้างงานใหม่ แรงงานไทยจะต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาจ้างงานให้รอบคอบ และพึงระลึกเสมอว่า สัญญาฯ ที่นายจ้างให้ลงนามใหม่ส่วนใหญ่จะมีข้อความที่แตกต่างจากสัญญาฯ ฉบับเดิม และมีการเอาเปรียบแรงงาน ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะลงนามใดๆ ในสัญญาฯ อื่นๆ อีก โดยต้องยืนยันกับนายจ้างว่า สัญญาฯ ฉบับเดิมยังคงมีผลใช้บังคับอยู่

8. เมื่อเข้ามาทำงานแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า หากวีซ่าการทำงานขาด หรือหมดอายุ หมายถึงว่า สิทธิในการพำนักได้สิ้นสุดลงเช่นกัน การที่แรงงานไทยจะเปลี่ยนงานจากบริษัทหนึ่งไปยังอีกบริษัทหนึ่ง โดยไม่แจ้งนายจ้างเก่า นายจ้างเก่ามีสิทธิที่จะยกเลิกวีซ่าเดิม ซึ่ง หมายความว่า แรงงานไทยพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิจับกุมในฐานะผู้พำนักอยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมาย (ปัจจุบันนายจ้างหลายรายได้ใช้วิธีลัด โดยไม่ต้อการเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบัตรโดคยสารเครื่องบิน และค่าดำเนินเอกสาร จึงเสนอเงินเดือนให้ในอัตราที่สูงกว่านายจ้างเก่า ซึ่งแรงงานไทยบางคนเลือกไปทำงานกับนายจ้างใหม่ด้วยแรงจูงใจดังกล่าว โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดให้แจ้งนายจ้างเก่าทราบล่วงหน้าก่อน 2 เดือน หรือตามระยะเวลาที่ระบุในสัญญาฯ ซึ่ง ทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี และนายจ้างเก่าแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้จับกุมแรงงานไทยดังกล่าว)

9. กรณีแรงงานไทยกระทำการใด ๆ โดยพลการ โดยเฉพาะในข้อ 8 ข้างต้น ซึ่งเป็นการขัดกับสัญญาจ้างงานฯ และมาเรียกร้องให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ให้ความช่วยเหลือภายหลังนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการใด ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรหารือเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ ในเบื้องต้นก่อน เพื่อป้องกันปัญหาการฟ้องร้องจากนายจ้างที่จะเกิดตามมา
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ