หัวข้อ: ขับรถให้ปลอดภัยในหน้าฝน เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ มิถุนายน 29, 2010, 09:56:00 am (http://smbwheel.com/picweb/drive-car-rainning/1.jpg)
ขับปลอดภัยเมื่อฝนตก บนเส้นทางปกติ ถ้าใช้ความเร็วประมาณ 65 กม./ชม. ควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าไม่น้อยกว่า 2 วินาที และถ้า เพิ่มความเร็วขึ้นเป็น 110 กม./ชม. ต้องเพิ่มระยะห่างเป็น 4 วินาที จากทัศนวิสัยที่ไม่แจ่มชัดในขณะฝนตก บวกกับสภาพถนนที่เปียกลื่น การขับจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง อย่างมาก ไม่ควรใช้ความเร็วสูง และที่สำคัญ ไม่ขับชิดคันหน้าจนเกินไป ควรทิ้งระยะห่างเพิ่มจากการขับใน สภาพปกติอีก 10-15 เมตร เพื่อความปลอดภัย หากขับชิดเกินไป และมีการเบรกกระทันหัน ผู้ขับรถยนต์ที่ตามหลังจะไม่สามารถใช้เบรกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เหมือนกับการขับในสภาพปกติ อีกทั้งละอองน้ำที่ดีดจากรถยนต์คันหน้า ยังทำให้ทัศนวิสัยของผู้ ขับรถยนต์ที่ตามมาด้านหลังไม่ชัดเจน หากเป็นช่วงที่ฝนตกหนัก ละอองน้ำจะไม่ค่อยสกปรก และไม่สร้างปัญหาให้ผู้ขับตามหลังมากนัก แต่ถ้าเป็น ช่วงที่ฝนตกปรอย ๆ หรือหลังฝนหยุดใหม่ ๆ ละอองน้ำที่กระเด็นมาส่วนใหญ่ เป็นน้ำผสมกับฝุ่นละอองซึ่งจับอยู่ บนพื้นถนน ทำให้มีลักษณะคล้ายคราบโคลน แม้จะใช้ที่ปัดน้ำฝนแต่ยังทิ้งคราบเหนียวของโคลนทำให้ลด ความชัดเจนของทัศนวิสัยด้านหน้า (http://smbwheel.com/picweb/drive-car-rainning/2.jpg) ชะลอความเร็วเพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่ฝนตกหนัก การใช้ความเร็วสูงในการขับคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก และในกรณีที่ฝนตกปรอย ๆ หรือ หลังฝนหยุดใหม่ ๆ ควรขับด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรใช้ความเร็วสูงด้วยเช่นกัน จากการทดสอบ ในช่วงฝนเริ่มตกจนถึง 10 นาที่แรก ค่าความต้านทานต่อการลื่นไถลของผิวถนนจะลดต่ำลง มาก เพราะน้ำฝนจะไปชะล้างคราบดินหรือฝุ่นละอองที่อยู่บนท้องถนน คล้ายกับมีการละเลงโคลน ทำให้เกิด อุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนั้น การขับด้วยความเร็วสูงขณะฝนตก อาจทำให้เกิดอาการ HYDRO PLANING จนทำให้เกิดการ แฉลบ เพราะยิ่งใช้ความเร็วสูง แรงดันของน้ำระหว่างยางกับถนนจะเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะทำให้เกิดการ แล่นบนผิวน้ำ โดยน้ำเข้าไปแทรกกลางระหว่างยางกับพื้นถนน และหน้ายางไม่มีการสัมผัสกับผิวถนน จากการทดสอบ ในช่วงความเร็วต่ำกว่า 60 กม./ชม. จะยังไม่เกิด HYDRO PLANING ช่วงความเร็ว 70-80 กม./ชม. จะเริ่มมีการเข้าแทรกกลางระหว่างผิวถนนและยางของน้ำ แต่ถ้าความเร็วเกิน 80 กม./ชม. น้ำจะเข้า ไปแทรกกลางอย่างเต็มที่ และแทบไม่มีการสัมผัสกันระหว่างหน้ายางกับผิวถนน อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ HYDRO PLANING เช่น ความเร็ว แรงดันลมยาง (ลม ยางอ่อนหน้ายางรีดน้ำไม่ดี ความมากน้อยของน้ำบนผิวถนน และความเก่าใหม่ของยาง เปิดไฟเพิ่มความปลอดภัย แม้ช่วงฝนตกจะเป็นเวลากลางวัน แต่บ่อยครั้ง สภาพอากาศในช่วงเวลาที่ฝนตก มักมืดครื้มคล้ายช่วงหัวค่ำ ทำ ให้ประสิทธิภาพในการมองของผู้ขับขี่ลดลง การเปิดไฟคู่หน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมทาง เพราะจาก ทัศนวิสัยที่ไม่ชัดเจนผ่านการมองกระจกทั้งมองข้างและมองหลัง ซึ่งมักมีเม็ดฝนเกาะ อาจทำให้ผู้ขับที่อยู่ด้าน หน้า ไม่สามารถสังเกตเห็นรถยนต์ที่ตามาด้านหลังได้ การเปิดไฟส่องสว่างแบบต่ำจึงช่วยเพิ่มความปลอดภัย ได้ในระดับหนึ่ง การใช้น้ำฉีดกระจก ในช่วงที่ฝนตกปรอย ๆ หรือหลังฝนหยุดใหม่ ๆ น้ำที่กระเด็นจากการดีดของรถยนต์คันหน้ามีลักษณะเหนียว คล้ายโคลน เพราะเป็นการผสมระหว่างน้ำกับฝุ่นละอองบนถนน เมื่อกระเด็นมาเกาะที่กระจกบังลมหน้าของรถ ยนต์คันหลัง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นทัศนวิสัยได้ชัดเจน แม้ใช้ที่ปัดน้ำฝน ก็ไม่สามารถกวาดได้อย่างหมดจด ต้องใช้น้ำฉีดกระจกช่วยชะล้างคราบโคลน ผู้ขับควรตรวจ สอบระดับน้ำในกระป๋องอยู่เสมอ แต่ข้อควรระวังคือ ไม่ควรฉีดน้ำในขณะขับด้วยความเร็วสูง หลีกเลี่ยงการเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อฝนตกหนัก บ่อยครั้งที่ฝนตกหนักจนทัศนวิสัยข้างหน้าไม่ชัดเจน ผู้ขับมักนิยมเปิดไฟฉุกเฉินด้วยความหวังดี เพราะต้องการ ให้รถยนต์ที่ตามมาข้างหลังเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเรื่องไม่จำเป็นและเป็นการรบกวนสาย ตา ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้ขับรถยนต์ที่เปิดไฟฉุกเฉินต้องการเปลี่ยนช่องทาง จะทำให้ผู้ที่ขับรถยนต์ตามมาข้างหลัง ไม่ทราบ เพราะไฟกระพริบสว่างทั้ง 4 มุม ถึงจะเปิดไฟเลี้ยวแล้ว ผู้ขับคันอื่นก็แยกไม่ออกอยู่ดี ขณะขับผ่าน 4 แยกแล้วต้องการตรงไปก็ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะผู้ขับรถยนต์มาจากทางซ้าย-ขวา จะเห็น ไฟฉุกเฉินเพียงข้างเดียว โดยเฉพาะผู้ที่มาจากทางซ้าย ที่มองเห็นเฉพาะไฟเลี้ยวด้านซ้าย ก็นึกว่าจะเลี้ยว ซ้าย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับทางตรง จึงไม่ได้ลดความเร็วหรือระวังตัว ถ้ารถยนต์ที่เปิดไฟฉุกเฉินขับออกไปก็ถูก ชนกลางลำ ข้อควรปฏิบัติในกรณีฝนตกหนักคือ ไม่ควรขับชิดรถยนต์คันหน้าเกินไป ใช้ความเร็วต่ำ เปิดไฟส่องสว่าง เพื่อให้ ผู้ขับรถยนต์คันที่อยู่ข้างหน้าและหลังทราบ และไม่ควรเปลี่ยนช่องทางโดยไม่จำเป็น หากฝนตกหนักจนทัศนวิสัยแย่จริง ๆ ควรจอดรถยนต์ชิดไหล่ทางและเปิดไฟฉุกเฉินให้รถยนต์ที่ตามมาด้าน หลังทราบ รอจนกระทั่งฝนลดลงแล้วค่อยเดินทางต่อ ยาง ? อีกความปลอดภัยในหน้าฝน ยางรถยนต์มีผลอย่างมากต่อความปลอดภัย หากสูบลมยางน้อยเกินไป อาจทำให้รถยนต์แฉลบได้ง่าย ซึ่งใน หน้าฝน ควรเพิ่มแรงดันลมให้มากขึ้นจากเดิมอีก 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อให้หน้ายางแข็งและมีกำลังในการ รีดน้ำ ดอกยางและขนาดหน้ายางยังมีผลต่อประสิทธิภาพการยึดเกาะในขณะขับรถยนต์ หากใช้ดอกยางละเอียดจะ ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะมีการรีดน้ำได้ดี ขณะที่หน้ายางยิ่งกว้าง ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะ ลดลง เพราะประสิทธิภาพในการรีดน้ำออกจากหน้ายางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับยางที่มีหน้ายางแคบกว่า ขับรถยนต์ลุยน้ำท่วม ขณะที่ฝนตกหรือหลังฝนหยุดตก บางจุดของผิวถนนมีน้ำท่วมขัง การขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น การขับด้วยความเร็วสูงผ่านจุดที่มีน้ำขังเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อาจทำให้รถยนต์แฉลบหรือเสียการทรงตัวได้ง่าย นอกจากนั้น อาจทำให้น้ำพุ่งกระจายขึ้นมาเต็มกระจกบังลมหน้า และไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้ ซึ่งอันตรายมาก หากจุดที่มีน้ำท่วมขังอยู่ใกล้ทางเดินเท้า การใช้ความเร็วต่ำและความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นไปโดนคนเดินบนทางเท้า เป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติ ลุยน้ำอย่างมั่นใจ ควรใช้ความเร็วต่ำ ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ระบบจุดระเบิดจนเครื่องยนต์ดับ และขับทิ้งระยะจากรถคันหน้าพอ สมควร เมื่อต้องขับสวนกันควรชะลอความเร็ว โดยเฉพาะสวนกับรถยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ระลอก คลื่นเข้าปะทะด้านหน้าจนทำให้เครื่องยนต์ดับ และถือเป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติ ย้ำเบรกเพื่อความมั่นใจ หลังผ่านการลุยน้ำหรือผิวถนนที่มีน้ำท่วมขัง ประสิทธิภาพของระบบเบรกจะลดลงจากเดิม การแตะเบรกเบา ๆ ขณะขับ ช่วยไล่ความชื้นออกจากดิสก์หรือดรัมเบรก รวมถึงผ้าเบรก แต่ข้อควรระวัง คือ ระมัดระวังรถยนต์ที่ตาม มาข้างหลัง ควรเลือกจังหวะเบรกให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อหมดหน้าฝน ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกใหม่ หรือเปลี่ยนทุก 1 ปี เพราะความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1% โดยน้ำหนัก ทำ ให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลง 30-50 องศาเซลเซียส เสียค่าน้ำมันเบรก 100-200 บาท แต่ช่วยเพิ่มความ ปลอดภัยในการเบรกได้มาก
|