(http://www.disthai.com/images/content/original-1494570446126.jpg)กวาวเครือแดง[/b]
ชื่อสมุนไพร กวาวเครือแดงชื่อประจำถิ่น กวาวเครือ (เหนือ) จานเครือ (อีสาน) ตานจอมทอง (ชุมพร) โพตะกุ , โพมือ (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea superba Roxb
ชื่อวงศ์ Leguminosae วงค์ย่อย Papilonaceae
ถิ่นกำเนิดกวาวเครือแดง พบอยู่มากในบริเวณที่ราบเชิงเขา และ เชิงเขาป่าเต็งรัง ภูเขาหินปูน ในเขตที่มีต้นไม้ใหญ่ไม่หนาแน่นนัก มักพบอยู่เป็นกลุ่มๆ ภายในป่า อาจเกิดจากสาเหตุ คือ ติดฝักได้น้อย ฝักมีขนาดใหญ่ ทำให้แพร่กระจายตำแหน่งเดิมได้ยาก ต้นกวาวเครือแดง ที่สร้างพุ่มเอง จะมีรูปร่างเตี้ย ส่วนต้นที่เกี่ยวพันกับต้นไม้ใหญ่จะแตกกิ่งไปถึงยอดไม้
ลักษณะทั่วไปของกวาวเครือแดงกวาวเครือแดงอยู่ในจำพวกไม้เลื้อย เป็นเถาวัลย์ เนื้อแข็ง มักชอบพาดขึ้นกับต้นไม้ใหญ่
- ใบ ใบใหญ่คล้ายใบต้นทองกวาว แต่ใบใหญ่กว่า
- ดอก ดอกใหญ่คล้ายดอกแคแสด แต่เป็นพวงระย้าเหมือนดอกทองกวาว
- หัว มีหลายขนาดลักษณะรูปร่างทรงกระบอก เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดง คล้ายเลือดไหล
ออกมา
- ราก มีรากแขนงขนาดใหญ่ แยกจากเหง้าเลื้อยไปรอบๆ หลายเมตร
การขยายพันธุ์กวาวเครือแดงทำได้ 3 วิธีดังนี้
- การนำไปปลูกเมล็ด โดยการเพาะปลูกเมล็ดในกระบะขี้เถ้าแกลบประมาณ 45 วัน นำต้นกล้าที่ได้ ปลูกลงถุงเพาะชำโดยใช้ดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน เปลือกมะพร้าว 1 ส่วน ค่า pH ประมาณ 5 เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตได้ 60 วัน จึงนำลงแปลงเพาะปลูกกลางแจ้ง โดยทำด้วยไม้ไผ่ หรือปลูกร่วมกับไม้ยืนต้นในกระบวนการเกษตร เช่น ไผ่ สัก ปอสา หรือไม้ผลอื่นๆ พื้นที่ปลูกควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 300-900 เมตร
- การปักชำ นำเถาที่มีข้อมาปักชำในกระบะ หรือถุงที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ เมื่อเถาแตกรากและยอดแข็งแรงดีแล้ว จึงนำลงแปลงปลูกต่อไป
- การแบ่งหัวต่อต้น หัวของกวาวเครือ ไม่มีตาที่จะแตกเป็นต้นใหม่ จำเป็นต้องใช้ส่วนของลำต้นมาต่อเชื่อตามวิธีการขยายพันธุ์แบบต่อราก เลี้ยงกิ่ง (nursed root grafting) สามารถนำหัวกวาวเครือขนาดเล็ก อายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป และต้นหรือเถาที่เคยทิ้งไปหลังการเก็บเกี่ยวมาขยายพันธุ์ได้ หลังการต่อต้นประมาณ 45-60 วัน ก็สามารถนำลงปลูกได้ และมีข้อดีคือสามารถต่อต้นกับหัวข้ามสายพันธุ์ได้
องค์ประกอบทางเคมี
ส่วนหัวประกอบด้วยสารไฟโตแอนโดรเจน และไอโซฟลาโวลิกแนน 2 ชนิด ได้แก่ Mebicarpin (carpin 3-hydroxy-9methoxypterocarpan); สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ butenin; formononetin (7-hydroxy_-methoxy-isoflavone); (7,4_-dimethoxyisoflayone); 5,4_-dihydroxy-7-methoxy-isoflavone, 7-hydroxy-6,4_-dimethoxyisoflavone
แอนโทไซยานินมีค่าการดูดกลืนแสงในช่วงคลื่น 510-540 นาโนเมตร สารละลายแอนโทไซยานินมีการเปลี่ยนแปลงสีตามค่าความเป็นด่าง (pH) ต่ำจะมีสีแดง pH ปานกลางจะมีสีน้ำเงินม่วงและเมื่อ pH สูงจะมีสีเหลืองซีด
สรรพคุณกวาวเครือแดง
- หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ เพิ่มปริมาณอสุจิ เป็นยาอายุวัฒนะ
แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ราก แก้ลมอัมพาต บำรุงโลหิต ผสมกับรากสมุนไพรอื่นอีก 8 ชนิดเรียกว่า พิกัดนวโลหะ แก้โรคลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ ดับพิษ ถอนพิษไข้ สมานลำไส้
Tags : กวาวเครือแดง,กวาวเครือ