ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: teareborn ที่ พฤษภาคม 30, 2017, 02:44:19 pm



หัวข้อ: มาดูเรื่องความเป็นพิษของชะพลูบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: teareborn ที่ พฤษภาคม 30, 2017, 02:44:19 pm
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1495529848777.jpg)
ถิ่นกำเนิดชะพลู
ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะมาเลย์ และหมู่เกาะชวา ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ค้าขายเครื่องเทศในอดีต เมื่อมีการติดต่อซื้อขายเครื่องเทศ จึงแพร่กระจายสู่พื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ ที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวย
ลักษณะทั่วไปของชะพลู  [/b]

  • ลำต้นชะพูล ลำต้นมี ชนิดตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม
  • ใบชะพลู ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ
  • ดอกชะพลู ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแยกเพศ
  • ผลชะพลู ผลเจริญบนช่อดอก มีชนิดเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีคุณสมบัติกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

     
     
     
    การขยายพันธุ์ของชะพลู
    ชะพลูเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก และมีความชุ่มชื้น ชอบแสงรำไร จึงมักพบชะพลูโตดีในพื้นที่ชื้น มีร่มเงา โดยเฉพาะบริเวณใต้ร่มไม้ ชะพลูอาจเพาะด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อออกปลูก เหง้าที่แยกอาจเป็นต้นอ่อนหรือต้นแก่เพียง 2-3 ต้น ก็สามารถแตกกอใหญ่ได้
    การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่มักขาดแคลนน้ำ ส่วนในฤดูฝนต้นชะพลูอาจเติบโตได้ดีเพียงอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ
    องค์ประกอบทางเคมี 
    พบว่าชะพลูมีสาร ฟลาโวนอยด์ (flavonoids)  และมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุน  ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans  และ  Alkaloids   และมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญ คือ มีแคลเซียมและสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ใบมีสารออกซาเลต (oxalate) ค่อนข้างสูง ถ้าสะสมในร่างกายในคุณภาพมาก อาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้และยังมีสารออกฤทธิ์ทางยา  คือ  aromatic alkene ,1 – allyl – 2 -methoxy – 4, 5 –methylenedioxybenzene, sitosterol, pyrrole amide, sarmentine, sarmentosine, pellitorine, (+) –sesamin, horsfieldin, two pyrrolidine amides 11 และ 12, guineensine, brachystamide B, sarmentamide A, B, และ C 1
    ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง 
    ไม่ควร บริโภคใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต เวลา กินควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้ รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน
     

    Tags : สมุนไพรชะพลู
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ