ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: kdidd ที่ มิถุนายน 13, 2017, 01:26:57 pm



หัวข้อ: (แปะก๊วย) เลือกใช้ไม่ดีมีโทษมหันต์
เริ่มหัวข้อโดย: kdidd ที่ มิถุนายน 13, 2017, 01:26:57 pm
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1492671107597.jpg)
(แปะก๊วย) เลือกใช้ไม่ดีมีโทษมหันต์
            สมุนไพรทุกชนิดนั้นมีคุณสมบัติและสรรพคุณในการใช้บำบัดรักษาโรคต่างๆได้ ตามสารออกฤทธิ์ต่างๆ ที่มีในตัวสมุนไพรนั้นๆ แต่ทุกสิ่งย่อมมีสองด้านเสมอ มีมืด ย่อมมีสว่าง มีข้อดีย่อมมีข้อเสีย สมุนไพรก็เช่นกัน หากว่าสมุนไพรมีคุณสมบัติหรือสรรพคุณข้อดีแล้ว อีกด้านหนึ่งหากเราใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือเรามีโรคประจำตัวที่มีผลต่อสารต่างๆ ในตัวสมุนไพรนั้นๆ แล้ว แทนที่เราจะได้ประโยชน์จากการใช้สมุนไพรก็อาจจะกลายเป็นผลร้ายต่อสุขภาพอนามัยของเราก็ได้ ดังนั้นในการใช้สมุนไพรแต่ละตัว เราควรมีการศึกษาข้อมูลของสมุนไพรนั้นๆ อย่างถ่องแท้ก่อนเสมอ สำหรับสมุนไพร ”แปะก๊วย” ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีการยืนยันจากหลายๆ หน่วยงานหรือจากการศึกษาวิจัยหลายๆ ชิ้น ว่ามีผลที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แปะก๊วยบำรุงสมอง แปะก๊วยป้องกันอัลไซเมอร์ รวมถึงแปะก๊วยช่วยในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ แต่หากเรานำมาใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ในปริมาณมากหรือน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลกับสุขภาพของเราเช่นกัน ซึ่งในรายงานการวิจัยด้านความเป็นพิษของแปะก๊วยนั้น มีหลายงานวิจัยเหมือนกันที่ระบุว่า แปะก๊วยนั้นมีความเป็นพิษอยู่ เช่น มีการทดสอบค่าความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูทดลอง ให้ค่า LD₅₀ = 7725 มก/กก. (น้ำหนักตัว) และเมื่อให้ทางปากมีค่าเท่ากับ 1100 มก./กก. (น้ำหนักตัว) มีรายงานอีกฉบับหนึ่งว่า พบหญิงอายุ 33 ปี กินสารสกัดใบแปะก๊วย 120 มก./วัน นานเป็นปี ตรวจพบก้อนเลือดในเยื่อหุ้มสมอง แต่กลับเป็นปกติเมื่อหยุดกินสารสกัดแปะก๊วยนานประมาณ 35 วัน อีกรายหนึ่งเป็นหญิงอายุ 72 ปี กินสารสกัดใบแปะก๊วย 150 มก./วัน นาน 6 เดือน ตรวจพบก้อนเลือดในเยื่อหุ้มสมอง เช่นกัน  แล้วยังมีการศึกษา ชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานผลแปะก๊วยมากเกินไปทำให้เกิดอาการชักได้ โดยเชื่อว่าอาจเกิดสาร 4’- Methoxpyridoxin (4’MPN) ที่มีในเมล็ดแปะก๊วยทำให้เอนไซม์ glutamate decarboxylass ทำงานไม่ได้  จึงทำให้เกิดอาการชัก  และเมื่อมีการชักทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วขณะ ซึ่งอาจทำให้เซลล์สมองตายได้ นอกจากนี้แปะก๊วยยังมีผลไปขัดขวางการเกาะกันของเกร็ดเลือด เช่นเดียวกับ กระเทียมและตังกุย
            แต่อย่าเพิ่งไปกลัวเจ้า “แปะก๊วย” กันมากจนเกินไปนะครับ  เพราะปัญหาที่พบในการใช้แปะก๊วยเหล่านี้ เกิดจากควรใช้ที่ไม่ถูกวิธี คือ การใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป และใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หากใช้ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม แปะก๊วย ก็จะเป็นสมุนไพรที่ให้ประโยชน์อย่างแน่นอน
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ประโยชน์แปะก๊วย

Tags : สมุนไพรเเปะก๊วย


หัวข้อ: Re: (แปะก๊วย) เลือกใช้ไม่ดีมีโทษมหันต์
เริ่มหัวข้อโดย: kdidd ที่ มิถุนายน 14, 2017, 03:57:45 pm
แปะก๊วย กินแล้วดี
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ