ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Saiswatka ที่ กรกฎาคม 22, 2017, 08:10:13 pm



หัวข้อ: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Saiswatka ที่ กรกฎาคม 22, 2017, 08:10:13 pm
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1497779701168.png)
การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
            พืชพันธุ์ต่างๆที่เป็นสมุนไพรนั้นเกือบทั้งหมด จะมีกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์หรือที่เราเรียกว่ามีการศึกษาทดลองและวิจัยเพื่อให้ได้รู้ถึงข้อจำกัดรวมถึงส่วนประกอบต่างๆที่มีในตัวสมุนไพรนั้นๆ เช่น สารออกฤทธิ์  ฤทธิ์ทางยาของสมุนไพร ความเป็นพิษของสมุนไพรนั้นๆ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆอาทิเช่น ควรใช้ในจำนวนเท่าใด  ใช้ในระยะเวลานานเท่าใด  มีฤทธิ์เสริมหรือต้านกับสารออกฤทธิ์ชนิดไหนบ้าง ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาตอบโจทย์ และลองให้เห็นอาจใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงถึงคุณสมบัติและวิธีใช้ของสมุนไพรแต่ละชนิดได้ ซึ่งก็มีสมุนไพรไทยหลายๆประเภทที่ได้ผ่านการวิจัยและทดลองทั้งในการศึกษาค้นคว้าโดยนักวิจัยชาวไทย และนักวิจัยในต่างประเทศ เช่น กระชายดำ กระเทียม ว่านชักมดลูก ขิง ขมิ้น ฯลฯ จนทำให้สมุนไพรไทยเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับกันในสากล ในบทความนี้เราจะมาดูว่าคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทยนั้น จะมีอะไรบ้างทั้งในแง่ของฤทธิ์ทางยาของสมอไทย รวมถึงความเป็นพิษของสมอไทย ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยอยู่หลายชิ้นพอสมควร โดยในการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ทางยาของสมอไทยนั้นพบว่าจากการสกัดผลของสมอไทยมีสารชนิดหนึ่ง (สาร 1,2,3,4,6 –penta-O-galloyl-B-D-glucose) สามารถยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesteraseและ butyrylcholinesteraseได้ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้เป็นเอนไซม์ที่ทำลายการนสื่อประสาทในสมองที่ชื่อAcetylcloine ที่เป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ และยังมีงานทดสอบอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่าสารสกัดสมอไทยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Shigella ที่เป็นสาเหตุของโรคบิด และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษอีกด้วย ส่วนในด้านการวิจัยในเรื่องพิษวิทยาหรือความเป็นพิษในสมอไทยนั้น ก็มีผลงานการทดสอบหลายชิ้นเหมือนกัน เช่น มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูทดสอบ โดยให้หนูกินสารสกัดผลสมอไทยด้วยเอทานอล 50% ในขนาด 10 กรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัมนาน 7 วัน พบว่าไม่พบอาการเป็นพิษในหนูทดสอบ และเมื่อเปลี่ยนวิธีการจากการให้บริโภคสารสกัดสมอไทยเป็นการฉีดใต้ผิวหนังแก่หนูทดลองอีกลุ่มในขนาดเท่าเดิมนานเท่าเดิม ก็ไม่พบความเป็นพิษเช่นกัน รายงานการศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุมีการใช้ผงแห้งของสมอไทยในหนูวิจัยโดยให้หนูเพศผู้และเพศเมียได้รับสารในรูปผงจากผลแห้งของสมอไทย ขนาด 0.5 , 2.5 , และ 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยให้ 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลารวม 13 สัปดาห์ เมื่อครบตามเวลาแล้วพบว่าไม่พบความเป็นพิษเกิดขึ้นทั้งการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและค่าต่างๆ แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีรายงานถึงการค้นพบในมนุษย์ ดังนั้นหากเราจะบริโภคสมอไทยในรูปแบบทั้งแบบผลสด สารสกัด ผงแห้ง ก็ควรจะหลีกเลี่ยนการกินในขนาดที่สูงและบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ให้เหมือนกับคำโบราณที่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม หรือ ช้าแต่ชัวร์

Tags : สมอไทย


หัวข้อ: Re: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
เริ่มหัวข้อโดย: kdidd ที่ กรกฎาคม 24, 2017, 11:06:17 am
(http://i66.tinypic.com/2cz2deb.png)
สมอไทย


หัวข้อ: Re: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
เริ่มหัวข้อโดย: kdidd ที่ กรกฎาคม 26, 2017, 12:55:04 am
(http://i66.tinypic.com/2cz2deb.png)
สมอไทย
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ