หัวข้อ: รับตอกเสาเข็ม Micropile รับรับเหมา ที่อยู่อาศัย ติดต่อ CompleteHome เริ่มหัวข้อโดย: Saiswatka ที่ สิงหาคม 02, 2017, 09:10:00 pm รับตอกเสาเข็ม Micropile สำหรับการต่อเติมบ้าน เสาเข็มไมโครไพล์ (หมดกังวัลส่วนต่อเติมจะทรุด)
- เราคือผู้เชียวชาญด้านเสาเข็มไมโครไพล์ทุกชนิด ปัญหาการทรุดตัวมักจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
ถาม: เสาเข็มสปันไมโครไพล์ของคอมพลีทไมโครไพล์ดียังไง? ตอบ: สปันไมโครไพล์ของบริษัทเราคือการตอกเสาเข็มลงไปโดยตุ้มเหล็ก จะตอกลงไปทีละท่อน แล้วเชือมต่อกัน พูดง่ายๆก็คือตุ้มเหล็กหนัก1.3 ตัน บวกแรงที่ทิ้งลงมา ตอกจนกระทั้งเข็มแทบไม่ลงแล้ว ฉะนั้นสามารถรับน้ำหนักได้ทันที เสาเข็ม รากฐานสำคัญของบ้าน เรื่องน่ารู้ จากกระแสข่าวในปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานของเหล่าโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือโครงการคอนโดมิเนียมหลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็น ดินทรุด และอื่น ๆ อีกมายมาย ในครั้งนี้จะนำเสนอเรื่อง “เสาเข็ม” เสาเข็มมีประเภทอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร ทำหน้าที่อะไร เสาเข็มแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เสาเข็มสั้น เดิมมีการใช้ เสาเข็มไม้สน หรือ ไม้ยูคาลิปตัส แต่เนื่องปัญหาเรื่องอายุความคงทนของไม้ และขนาดของเสาเข็มไม้ จะมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากันตลอดต้น โดยโคนจะใหญ่และปลายจะเล็กลง ทำให้ความสามารถในการรับแรงน้อย ปัจจุบันจึงมีการนำเสาเข็มคอนกรีต หน้าตัดหกเหลี่ยม หรือ รูปตัวไอ มีขนาด 15 เซนติเมตร ความยาวมีให้เลือกตั้งแต่ 1- 6 เมตร ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป ข้อเสีย ต้องคัดเลือกเสาเข็ม ที่มีสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่ผลิตจากโรงงานขนาดเล็ก คุณภาพจึงไม่ค่อยได้มารตฐานนัก ความเสียหายที่พบ คือ เกิดหักขณะทำการขนส่ง หรือการจัดวางอย่างผิดวิธี หากพบว่าเสาเข็มหัก หรือร้าว ไม่ควรนำมาใช้งานเพราะจะทำให้เสาเข็มหักในขณะที่ตอกได้ การตอกเสาเข็มสั้น เนื่องจากเสาเข็มมีหน้าตัดเล็กมาก ผู้รับเหมามักจะใช้เสียมที่มีด้ามยาวมากๆ ขุดนำเป็นรู ให้ความลึกเกือบเท่าความยาวเสาเข็ม แล้วจึงนำเสาเข็มหย่อนลงในรู จากนั้นจึงใช้วิธีกดเสาเข็มลงให้ได้ตามระดับที่ต้องการ ดังนั้นความสามารถในการรับน้ำหนัก ของเสาเข็มจึงขึ้นอยู่กับฝีมือของช่าง ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มค่อนข้างน้อย เนื่องจากเสาเข็มขนาดเล็กและสั้น ดังนั้นจึงเหมาะกับการก่อสร้างอาคารขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ชั้นดินที่เสาเข็มสั้น ฝังอยู่ยังเป็นชั้นดินอ่อน เมื่อดินเกิดการทรุดตัว เสาข็มก็จะทรุดตัวตาม ดังนั้นต้องคำนึงถึงอัตราการทรุดตัวของโครงสร้างดังกล่าวด้วย เสาเข็มสำหรับการต่อเติม เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เสาเข็มเจาะแบบแห้ง หรือเรียกตามอีกอย่างหนึ่งว่า เข็มสามขา วิธีการทำเสาเข็มจะใช้แท่นที่เป็นเสาสามขา ซึ่งติดรอกที่ยอดไว้ยกท่อ หรือ ตุ้มเหล็กในขณะทำงาน การทำงานจะใช้วิธีตอกท่อเหล็กลงในดิน แล้วนำดินขึ้นมาจนถึงระดับที่ต้องการ จึงใส่เหล็ก และเทคอนกรีตลงในรูที่เจาะไว้ ข้อเสีย ราคาเสาเข็มค่อนข้างแพง ราคาเริ่มต้นประมาณ 15,000 - 30,000 บาท ต่อต้น ประกอบกับเสาเข็มดังกล่าว สามารถรับน้ำหนักได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากเป็นการต่อเติม เล็กๆน้อยๆ จะทำให้ค่าก่อสร้างนั้นค่อนข้างแพง การใช้เสาเข็มเจาะแบบแห้ง แทนเสาเข็มตอก จะเป็นการลดความสั่นสะเทือนจากการตอกได้ แต่ในขณะที่ทำงานนั้น เครื่องเจาะต้องใช้เครื่องปั๊มลม ซึ่งมีเสียงดังมากประกอบกับการทำงานต้องมีการตอกท่อเหล็กปลอก ลงในดิน โดยมีตุ้มเหล็กเป็นตัวตอก ทำให้เกิดเสียงดังมากในขณะทำงานตลอดเวลา ในขณะที่ทำงานต้องมีการขุดดินขึ้นมาจำนวนมากและดินจะมีสภาพเหลว ทำให้พื้นที่นั้นสกปรก และต้องมีการขนส่งดินดังกล่าวออกจากพื้นที่ให้หมด เพื่อไม่ให้กีดขวางการทำงาน หรือไปทำความเสียหายให้กับพื้นที่ข้างเคียง การทำเสาเข็มเจาะ ต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ และต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการทำงานที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะ ช่างโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้ เสาเข็มแบบไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มที่เริ่มนิยมการใช้งานกันมาไม่นานนี้ หลักการทำงาน จะผลิตเสาเข็มคอนกรีตกลม แบบมีรูตรงกลาง หรือหน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.20-0.25 เมตร ความยาวท่อนละ 1.50 เมตร แล้วใช้เครื่องตอกขนาดเล็กตอกเสาเข็มแต่ละท่อนลงในดิน เชื่อมต่อเสาเข็มเพิ่มความยาวด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้าต่อกัน แล้วตอกลงในดินต่อๆกัน จนถึงระดับที่ต้องการ ความยาวที่สามารถทำได้ สามารถตอกได้เท่ากับเสาเข็มตอกแบบยาว หรือ ถึงระดับชั้นดินที่แข็งแรงได้ ข้อเสีย เนื่องจากเป็นเทคนิคในการก่อสร้างแบบใหม่ มีผู้ที่สามารถทำด้ไม่มาก ทำให้ไม่มีการแข่งขันกันในเรื่องราคา ทำให้ราคาเสาเข็มต่อต้นค่อนข้างแพง ราคาประมาณต้นละ 30,000 บาท เสาเข็มมีรอยต่อ รอยเชื่อมจำนวนมาก ดังนั้นในขณะทำงานต้องมีการดูแลความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมเป็นอย่างดี ต้องมีการควบคุมดิ่งของเสาเข็มให้ได้ดิ่งตลอดเวลา เนื่องจากตอกด้วยเสาเข็มขนาดเล็ก มีโอกาสที่เสาเข็มจะล้มดิ่งได้ง่าย ขั้นตอนง่ายๆ ในการสังเกตุว่าบ้านมีการทรุดเอียงหรือไม่ ดูรอยแยกของอาคาร มักสังเกตได้ง่ายถ้าเป็นอาคารที่ทำการต่อเติม ซึ่งจะเกิดระหว่างอาคารเก่าและใหม่ (http://completemicropile.com/wp-content/uploads/2017/04/4.1-300x225.jpg) สังเกตความยาวของรอยร้าว จากการวัด ติดกระจก Slide ระหว่างรอยร้าวเพื่อตรวจสอบการแยกของอาคารถ้ากระจกแตกแสดงว่ามีการแยกตัวเพิ่มขี้น (http://completemicropile.com/wp-content/uploads/2017/04/5.2-300x225.jpg) งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์ แถวถนนสายไหม จำนวน8 ต้น สำหรับเป็นฐานรากของการต่อเติมบ้าน เพื่อจะได้ไม่ต้องกลัวว่าส่วนต่อเติมจะทรุด โดยมีทีมวิศวกรควบคุม และตรวจสอบBlowcount เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดของงาน (https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/p320x320/16998215_1955860284644935_1974864206701617595_n.jpg?oh=3c0250d962a67c3cf6a079ac4c683835&oe=59B9F3D8) งานตอกเสาเข็มส่วนต่อเติมของบ้าน เสาเข็มดีไม่ต้องกลัวทรุดครับ หลังนี้ตอกเสาเข็มส่วนต่อเติมบ้านจำนวน5ต้น (https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/p320x320/16708618_1943092882588342_6560391331171816719_n.jpg?oh=8f52ed644ee3ddb1ad334f06dfc37cdf&oe=59AB0F0C) รูปจากหน้างานพระราม2 โครงการในเครือแสนสิริ 7ตัน สำหรับต่อเติมด้านหน้าบ้าน (https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/18222165_1990840251146938_4854694959420712709_n.jpg?oh=4b3d48b7accea14c1f176250c5ac70e7&oe=59A7DEDB) ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอก ข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็น เสาเข็มที่ใช้ กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบ ร้อยได้ผล ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดู จำนวนครั้งในการตอกด้วย ( blow count ) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้ จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จม มิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยัง ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะ เป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่ มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ ประเภทของเสาเข็มเจาะ
------------------------------------------ สนใจติดต่อสอบถาม Tel: 08-4644-6655 www.completemicropile.com Tags : เสาเข็มmicropile, spun micro pile
|