หัวข้อ: ประกันบำนาญ | 4 ข้อควรคำนึงก่อนซื้อประกันบำนาญ เริ่มหัวข้อโดย: Jeatnarong9898 ที่ กันยายน 28, 2017, 02:28:25 pm ประกันบำนาญเป็นประกันชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งที่นอกเหนือจากจะให้ความคุ้มครองชีวิตตลอดเวลาที่เอาประกันแล้ว ยังเป็นกรมธรรม์ที่จ่ายเงินรายเดือนเหมือนเป็นเงินบำนาญคืนให้เมื่อผู้เอาประกันมีอายุถึงตามกำหนดและจะจ่ายให้ถึงอายุที่กำหนดไว้ด้วย ประกันบำนาญจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณเช่นเดียวกันกับการส่งเงินสมทบประกันสังคม และการลงทุนในกองทุน RMFpension นอกจากความคุ้มครองและเงินบำนาญที่ผู้เอาประกันจะได้รับจากการซื้อประกันบำนาญไว้แล้ว ค่าเบี้ยประกันบำนาญที่จ่ายในแต่ละปียังสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกด้วย ดังนั้นแม้ว่าผลตอบแทนในแง่การลงทุนเพื่อการเกษียณของประกันบำนาญจะไม่สูงนัก แต่เมื่อคิดคำนวณเรื่องของการประหยัดภาษีด้วยก็ทำให้ประกันบำนาญเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการประกันชีวิตที่น่าลงทุนอยู่เหมือนกันอย่างไรก็ตาม ประกันบำนาญมีรายละเอียดและเงื่อนไขที่แตกต่างจากประกันชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ประกันตลอดชีพ หรือประกันแบบออมทรัพย์อยู่หลายประการเหมือนกัน ทำให้ก่อนเลือกซื้อประกันแบบบำนาญ เราควรหาข้อมูลและทำความเข้าใจกับรูปแบบของการประกันประเภทนี้ให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ เพราะเรื่องที่ประกันบำนาญเหมือนกับประกันอื่น ๆ ก็คือเรื่องของการออมและลงทุนในระยะยาวนั่นเอง ประกันบำนาญไม่มีการจ่ายเงินคืนจนกว่าจะเกษียณ ประกันบำนาญมีเงื่อนไขในการจ่ายเงินคืนไว้ 3 กรณีด้วยกัน คือ หนึ่งหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในขณะที่ส่งเบี้ยประกันอยู่หรือช่วงระยะเวลาก่อนเกษียณ จะได้รับเงินชดเชยตามวงเงินคุ้มครองที่เอาประกัน แต่หากผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี แล้วแต่บริษัทประกัน ก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนตามที่กำหนดคืนทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต ปกติบริษัทประกันจะกำหนดอายุสูงสุดสำหรับการรับเงินบำนาญไว้ที่ 85 ปี กรณีสุดท้ายหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างที่ได้รับเงินบำนาญ ทายาทจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับเงินค่าเบี้ยประกันสะสมที่ผู้เอาประกันจ่ายไป หักลบด้วยเงินบำนาญทั้งหมดที่ผู้เอาประกันได้รับก่อนหน้าเสียชีวิต ดังนั้นการซื้อประกันบำนาญจึงเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ หากไม่เสียชีวิตก่อนก็ต้องรอจนกว่าเกษียณถึงจะได้เงินคืน ประกันบำนาญไม่ได้จ่ายคืนเป็นเงินก้อนเมื่อสิ้นสุดสัญญาเหมือนกับประกันออมทรัพย์ ประกันบำนาญมีความแตกต่างจากประกันแบบออมทรัพย์ตรงที่จะไม่มีการจ่ายเงินคืนให้กับผู้เอาประกันก่อนเงื่อนไขอายุเกษียณที่กำหนดไว้ คือ 55 ปี หรือ 60 ปี ยกเว้นกรณีที่เสียชีวิตก่อนเท่านั้น แต่ประกันออมทรัพย์อาจมีเงินปันผลจ่ายคืนระหว่างทางก่อนครบกำหนดสัญญาซึ่งก็จะได้เงินก้อนคืนอีกครั้ง ส่วนประกันบำนาญจะต้องรอจนถึงเกษียณเท่านั้น จึงจะได้เงินคืนและเงินที่คืนก็ไม่ได้เป็นเงินก้อนใหญ่ แต่เป็นเงินบำนาญรายเดือนที่จะจ่ายต่อจากนั้นทุกเดือนไปจนถึงอายุ 85 ปีหรือตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นประกันบำนาญจึงเป็นรูปแบบการลงทุนที่ไม่ได้เน้นเรื่องของผลตอบแทนเป็นหลัก แต่เน้นเรื่องของการวางแผนเพื่อมีเงินใช้หลังเกษียณ ซื้อประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีเงินได้ได้มากกว่า เงินค่าเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับประกันบำนาญในแต่ละปีสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ได้ จากที่มีกำหนดไว้ว่าประกันชีวิตนำมาหักลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกินปีละ 100,000 บาท ประกันชีวิตทุกประเภทที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นประกันแบบตลอดชีพ ประกันออมทรัพย์ หรือประกันบำนาญก็ให้รวมอยู่ในวงเงินนี้ด้วย นอกจากนั้นผู้ที่ต้องการซื้อประกันบำนาญเพิ่มเติมก็ยังสามารถใช้วงเงินที่ 2 เพิ่มเติมได้ เพราะรัฐบาลกำหนดวงเงินต่างหากอีก 200,000 บาท สำหรับค่าเบี้ยประกันบำนาญเท่านั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้เพิ่มเติมได้จากวงเงินแรก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออมเงินเพื่อการเกษียณผ่านประกันบำนาญกันให้มากขึ้นนั่นเอง ประกันบำนาญมีเงื่อนไขที่ต่างจากกองทุน RMF แม้ว่าวัตถุประสงค์หลักของประกันบำนาญและกองทุน RMF จะเหมือนกันคือเป็นการออมเงินไว้เพื่อเกษียณ โดยที่ทั้งสองรูปแบบต่างก็ให้ผลประโยชน์ในเรื่องการลดหย่อนภาษีที่เหมือนกันด้วยก็จริง แต่การตัดสินใจเลือกระหว่างซื้อประกันบำนาญกับลงทุนในกองทุน RMF ก็ควรอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไขและรายละเอียดที่แตกต่างกันด้วย อย่างการซื้อกองทุน RMF จะมีความยืดหยุ่นในเรื่องของจำนวนเงินที่ซื้อในแต่ละปี ที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากันก็ได้ และยังสามารถซื้อปีเว้นปีได้ด้วย ในขณะที่ประกันแบบบำนาญนั้นจะเป็นการจ่ายค่าเบี้ยในจำนวนเงินที่เท่ากันทุกงวด ในเรื่องของผลตอบแทน กองทุน RMF มีความเสี่ยงมากกว่าจึงอาจให้ผลตอบแทนที่ทั้งสูงหรือต่ำกว่าก็ได้ ส่วนประกันแบบบำนาญแม้ผลตอบแทนอาจไม่สูงมาก แต่ก็ปลอดภัยและมั่นคง เมื่อถึงวัยเกษียณก็มั่นใจว่าจะได้รับเงินบำนาญคืนตามเงื่อนไขแน่นอน ดังนั้นถ้าจะให้ฟันธงว่าประกันบำนาญหรือกองทุน RMF ดีกว่ากัน ก็คงจะตอบยาก คนส่วนใหญ่จึงเลือกวางแผนเกษียณด้วยการซื้อทั้งกองทุน RMF และซื้อประกันบำนาญด้วย อ่านถึงบรรทัดนี้หลายคนคงสนใจอยากวางแผนเกษียณด้วยการซื้อประกันบำนาญกันมากขึ้น และยังได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีด้วย กรุงไทยแอกซ่า มีผลิตภัณฑ์ประกันเกษียณอายุ PR60 ที่เป็นประกันเกษียณอายุที่มีจุดเด่นเรื่องเงินคืนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในอัตราปีละ 0.1% โดยเริ่ม ณ สิ้นปีที่ 2 ไปจนถึง 1% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย จากนั้นรับเงินคืน 1% ทุกปีไปจนถึงอายุ 59 ปี เมื่ออายุครบ 60 ปีจะได้รับเงินก้อน พร้อมรับผลประโยชน์เพิ่มเติมสูงสุดถึง 18% และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น การกู้ยืมเงินฉุกเฉินตามมูลค่าในกรมธรรม์ หรือการซื้อความคุ้มครองเรื่องสุขภาพหรืออุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วย
ขอขอบคุณ บทความ ประกันบำนาญ: https://wealthcare.krungthai-axa.co.th/pension/, https://wealthcare.krungthai-axa.co.th/ รีวิว ประกันบำนาญ จาก Pantip: www.pantip.com Tags : ประกันบำนาญ,ประกันชีวิตผู้สูงอายุ,ประกันบำนาญ
|