ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: teeratum123 ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2018, 08:12:06 am



หัวข้อ: เครื่องโอโซน 3000 mg.
เริ่มหัวข้อโดย: teeratum123 ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2018, 08:12:06 am








เครื่องผลิตโอโซน 3000 mg.[/b]



(http://fj.lnwfile.com/_/fj/_raw/g6/9u/vv.jpg)
เกี่ยวกับตัวเครื่อง
ตัวเครื่องทำจากวัสดุพลาสติกที่เป็นฉนวนและไม่เป็นสนิมที่ด้านข้างของตัวเครื่องและมีช่องระบายความร้อนโดยด้านหนึ่งมีพัดลมเพื่อเป่าระบายความร้อนออกจากอุปกรณ์ภายในตู้ ด้านหน้าจะมีอุปกรณ์แสดงฐานะต่างๆ เช่น โวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ เครื่องบันทึกชั่วโมงการทำงาน หลอดไฟ และสวิตซ์ ปิด-เปิด เครื่อง และมีท่อทางออกโอโซนและสายไฟ
 
ข้อควรระวัง
ห้ามสัมผัสกับหลอดโอโซน ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอาจเกิดอันตราจากไฟฟ้าแรงสูง
 
รายละเอียดวิธีใช้เครื่องผลิตโอโซน
สวิตซ์หน้าเครื่องมี 3 จังหวัดคือ อัตโนมัติ (AUTO) ปิด (OFF) และปรับด้วยมือ (Manually) โดยเลือกตำแหน่งที่ต้องการ คือ ถ้าเลือกตำแหน่ง AUTO เครื่องจะถูกควบคุมโดยเครื่องตั้งเวลาให้ทำงานและหยุดพักสลับกันไปประมาณ 30 วินาที ถึง 3 นาที ตามเข็มนาฬิกาและเครื่องจะทำงานได้จะต้องต่อพ่วง เทอร์มินัลช่อง 3 กับ 4 เข้าด้วยกัน ปกติอาจควบคุมโดยสวิตซ์ลูกลอย หรือสวิตซ์แรงดัน Pressure Swith เป็นต้น โดยปกติจะใช้ร่วมกับลูกลอยและช่อง 3 จะมีไฟจ่ายไปช่อง 4 ละเป็นไฟกลับจากลูกลอยเข้าเครื่อง
 
กรณีเลือกตำแหน่ง Manually เครื่องจะทำงานทันที และทำงานตลอดจนกว่าจะปิดสวิตซ์กลับไปตำแหน่งปิดเครื่องจึงจะหยุดทำงาน
 
หลอดไฟหน้าเครื่อง
สีแดงแสดงสถานะ ปิดฝาเครื่องไม่สนิท เครื่องจะไม่ทำงาน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเมื่อเปิดฝาเครื่องจะหยุดทำงานทันที
สีเขียว จะแสดงฐานะเครื่องกำลังทำงาน
โวลต์มิเตอร์ แสดงฐานะว่ามีไฟจ่ายเข้าตัวเครื่องและจะแสดงผลถึงสถานะทางไฟฟ้าว่ากี่โวลต์
แอมมิเตอร์ แสดงฐานะว่าการใช้กระแสไฟฟ้าของเครื่องปกติเฉพาะระบบโอโซนไม่มีปั๊มน้ำจะใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 1 แอมป์ และเครื่องบันทึกชั่วโมงการทำงานเพื่อเป็นประโยชนืในทางสถิติโดยเครื่องจะสามารถนับชั่วโมงการทำงานนานถึง 99,000 ชั่วโมง
 
ระบบภายในเครื่อง
ภายในตัวเครื่องประกอบด้วย ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ หลอดผลิตก๊าซโอโซน จะเป็นส่วนที่มีลมหรืออากาศเข้าด้านบนลอดและผลิตเป็นก๊าซโอโซน ออกมาด้านล่าง โดยจะมีสายก๊าซเข้าและออก และตัวหลอดจะมีสายไฟแรงสูงมากจากหม้อแปลงไฟแรงสูงเพื่อจ่ายพลังไฟฟ้าผลิตก๊าซโอโซน
 
หม้อแปลงแรงสูงจะมีสายไฟแรงต่ำเข้า 2 เส้นใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ 50 Hz และมีสายไฟแรงสูงออกมา 1 เส้น เส้นละ 8,500 โวลต์ กระแสสลับเข้าด้านในของหลอดและสายกลาง (N) เข้าข้างนอกหลอด
 
แผงวงจรควบคุมไฟฟ้าประกอบด้วย
เทอรมินัล 6 ช่องติดตั้งอยู่ มุมขวาด้านล่างที่ต่อสายไฟเข้ากับระบบต่างๆ คือช่องที่ 1 และ 2 เป็นช่องจ่ายไฟเข้าโดยช่อง 1 เป็น L และช่อง 2 เป็น N ช่อง 3 กับ 4 สำหรับจ่ายให้กับระบบโอโซน พัดลมระบายความร้อน และสามารถปั๊มน้ำไม่เกิน 1 แรงม้ามาต่อเข้าได้ ช่อง 5 กับ 6 สำหรับต่อเข้ากับลูกลอยไฟฟ้าโดยช่อง 5 จะเป็นไฟจ่ายไฟยังลูกลอยไฟฟ้าโดยช่อง 6 จะเป็นไฟกลับมาสั่งให้เครื่องทำงาน
เบรกเกอร์ขนาด 10 A ให้ต่อไฟเข้าที่หัวเบรกเกอร์ช่วยป้องกันปั๊มน้ำเสียหาย
กระบอกฟิวส์ปกติใช้ 10 A กรณีใช้ปั๊มน้ำร่วมกับเครื่อง LY2 รีเลย์ สำหรับควบคุมการจ่ายไฟให้ระบบโอโซนเป็น Power Relay
 
MY2 รีเลย์ สำหรับแยกสัญญาณ AUTO กับ Manually ออกจากกันจังหวะ MAN ใช้ขั้ว NC และจังหวะ Auto ใช้ขั้ว NO
 
 

  • นาฬิกาตั้งเวลาสลับเปิดสลับปิดกรณีใช้ตำแหน่ง AUTO ทั้งนี้ เพื่อให้เครื่องหยุดพักเป็นช่วงๆ โดยปกติที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องหยุดพักนานเพียงไม่เกิน 3 นาที เพราะหากหยุดนานเกินไประบบโอโซนจะไม่ถูกจ่ายให้กับน้ำ
  • พัดลมระบายความร้อนทิศทางจะเป่าระบายความร้อนออกจากหลอดโอโซน
คำแนะนำในการติดตั้ง
การติดตั้งเครื่องใช้วิธีแขนไว้กับผนังโดยเลือกมุมที่มีอากาศถ่ายเทนสะดวก และใกล้กับอุปกรณ์เติมก๊าซโอโซนแบบสุญญากาศ Venturi Injector ปกติสามารถติดตั้งใช้งานได้ดังนี้คือ กรณีใช้กับน้ำอาร์โอ RO สามารถต่อระบบไฟฟ้าหรือสั่งการทำงานพร้อมกับเครื่องอาร์โอและใช้ตำแหน่งอัตโนมัติ AUTO การแขวนผนังควรใช้เหล็กฉากมีรูที่มีขายทั่วไปตามร้านฮาร์ดแวร์นำมาประกบด้านข้างสองข้างและรองรับด้านล่างตัวเครื่องจะสะดวกในการติดตั้งเพราะสามารถเจาะยึดได้ง่ายกว่า
 
ข้อควรระวัง
ติดตั้งเครื่องภายในอาคารหรือทีไม่โดนฝนสาดและหลีกเลี่ยงให้ไกลจากบริเวณที่มีควันฝุ่นละอองน้ำและเก็บสารเคมี เช่น กรดเกลือต่างๆ
 
ตำแหน่งการติดตั้งกรณีใช้ร่วมกับเครื่องอาร์โอ
ปกติจะแขวนเครื่องให้สูงกว่าถังเก็บน้ำอาร์โอและใช้สัญญาณลูกลอยหากสามารถติดตั้งลูกลอยแยกต่างหากจะง่าย โดยพยายามตั้งระดับให้ใกล้เคียงกันและให้โอโซนอยู่ต่ำกว่าระดับลูกลอยอาร์โอเล็กน้อย แต่หากต้องใช้ลูกลอยของระบบอาร์โอต้องแน่ใจว่า 1 เป็นไฟเฟสเดียวกัน 2 ระบบจ่ายไฟผ่านลูกลอยไม่ใช่สายกลาง หรือ N
 
หมายเหตุ
กรณีติดตั้งร่วมกับอาร์โอ หากเป็นไปได้ให้ต่อไฟทำงานพร้อมกับปั๊มอาร์โอและใช้ตำแหน่ง AUTO และพ่วงสายไฟช่อง 3 กับ 4 เข้าหากัน
 
กรณีใช้กับหัวบรรจุขวด
ในระบบบรรจุขวดปกติจะมีปั๊มน้ำให้แขวนเครื่องในบริเวณที่สูงงในระดับที่ทำงานสะดวก กรณีท่อน้ำอยู่ต่ำกว่าก็ให้ใช้ตัวดูดโอโซน (Venturi Injector) เข้ากับท่อน้ำโดยต่อโอโซนผ่านอุปกรณ์กันน้ำย้อนที่เตรียมให้แล้ว ดังภาพ
กรณีท่อน้ำอยู่สูงกว่าตัวเครื่อง สามารถติดตั้งตัวดูดโอโซนได้เลย เพียงแต่ท่อดูดโอโซน ต้องต่อให้ยาวลงมาต่ำกว่าเครื่อง และใช้เบรกเกอร์ควบคุมอยู่ในห้องบรรจุ
 
ข้อควรระวัง
อย่าให้สายโอโซนอยู่ในลักษณะตกท้องช้างน้ำกรดจะขัง
 
การต่อท่อน้ำเข้ากับอุปกรณ์ผสนมโอโซน
 

  • ต่อท่อเข้ากับอุปกรณ์ดูดก๊าซโอโซนด้านน้ำเข้าจะมีมาร์คเป็นรอยขีด 2 รอย หรือถ้ามองเข้าไปในอินเจ๊กเตอร์ด้านรูเข้าจะเล็กกว่าด้านนอก
  • ด้านโอโซนอินเจอ็คเตอร์จะคว่ำลงเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์กันน้ำย้อนดังภาพ
การบำรุงรักษาระบบโอโซน
 

  • ให้คอยตรวจสอบดูว่า

 
1.พัดลมระบายความร้อนหรือไม่
2.ให้ตรวจเช็คดูว่าในขณะทำงานมีโอโซนดูดเข้าในระบบได้
 

  • การตรวจสอบระบบโอโซน ทำได้โดยเมื่อให้เครื่องทำงานอย่างน้อย 1 ถึง 3 นาที ให้หยุดเครื่องและเปิดฝาเครื่องให้สัมผัสที่หลอดดูว่าอุ่นๆ หรือร้อนหากหลอดโอโซนไม่ทำงานจะไม่ร้อน
  • คอยตรวจเช็คอาจมีกรดขังในท่อกรณีท่อโอโซนอยู่ในลักษณะระดับลาดต่ำ และดูดซึมหรือตกท้องช้าง เพราะจะทำให้ปริมาณโอโซนลดลงได้
วิธีการจัดส่งสินค้า
บริการจัดส่งสินค้า ทั่วประเทศ ผ่านบริษัท ขนส่ง ฟรี ค่าบริการจัดส่งสินค้าไปยังบริษัทขนส่ง

  • ภาคอีสานและภาคกลาง ผ่าน IT TRANSPORT CO.,LTD. Telephone : 02-1911101-4 , 090-2628646 , 087-6426039
  • ภาคเหนือ ผ่าน บริษัท นิ่มซี่เส็ง สาขา ตลาดไท
  • ภาคใต้ผ่านบริษัท ภูเก็ตศรีสุชาติขนส่ง
(http://fu.lnwfile.com/_/fu/_raw/xg/vy/cc.jpg)






คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : เครื่องโอโซน

เครดิตบทความจาก : http://tw-water001.lnwshop.com/manage/inventory/product/43/

Tags : เครื่องโอโซน,โรงงานผลิดน้ำดื่ม
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ