ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Brandexdirectory ที่ มีนาคม 21, 2018, 04:50:43 pm



หัวข้อ: วางระบบบำบัดน้ำเสีย, บริการวางระบบบำบัดน้ำเสีย, ติดตั้งวางระบบบำบัดน้ำเสีย
เริ่มหัวข้อโดย: Brandexdirectory ที่ มีนาคม 21, 2018, 04:50:43 pm
วางระบบบำบัดน้ำเสีย, บริการวางระบบบำบัดน้ำเสีย, ติดตั้งวางระบบบำบัดน้ำเสีย

ประวัติบริษัท
บริษัท  สัมพันธ์ อินเตอร์เทรด  จำกัด  เริ่มก่อตั้งในปี  พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)  เพื่อดำเนินธุรกิจทางด้าน Water Treatment System (W.T.S.) ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมาตลอดตั้งแต่เปิดกิจการ นับเป็นเวลามากกว่า  20  ปีแล้ว  โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงอุตสาหกรรมโรงงานเป็นจำนวนมากครอบคลุมทั้งประเทศ  เราดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของคำว่า "ความถูกต้องต้องมาก่อนความถูกใจ" ตั้งแต่เริ่มต้นขบวนการจนถึงขั้นสุดท้ายขบวนการ รวมถึงการบริการหลังการขายที่รวดเร็วเเละตลอดอายุการใช้งาน  เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึ่งพอใจ ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในงานของเรามากที่สุด ดูเพิ่มเติม คลิก

(http://bybrandex.com/wp-content/uploads/2018/03/pro_pic25473.jpg)

การบำบัดน้ำเสีย 

การบำบัดน้ำเสียหมายถึง  การกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนดและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติ

ไม่เหมือนกันดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำจึงมีหลายวิธี โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปมี 4 วิธีคือ

1. กระบวนการทางเคมี (chemical process)
เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยการแยกสารต่างๆ หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก

สารพิษ สภาพความเป็นกรด ด่างสูงๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ด้วยการเติมสารเคมีต่าง ๆ ลงไปเพื่อให้เข้าไปทำปฏิกิริยาซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกสาร แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ เมื่อเติมสารเคมีลงในน้ำเสียแล้ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีค่อนข้างสูง ดังนั้นกระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อน้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือชีวภาพ

2. กระบวนการทางชีววิทยา (Biological Process)
กระบวนการทางชีววิทยา (biological process) เป็นการอาศัยหลักการใช้จุลินทรีย์ต่าง ๆ มาทำการย่อยสลายเปลี่ยนอินทรีย์สารไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุดในแง่ของการลดปริมาณสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำ แต่หลักการนี้เลือกสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์ โดยสัมพันธ์กับปริมาณของจุลินทรีย์ และเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย แบคทีเรียที่เลือกใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจน (aerobic bacteria) ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นพวกไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)

3. กระบวนการทางกายภาพ (physical process)
กระบวนการทางกายภาพ (physical process) เป็นการบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายซึ่งจะแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออก วิธีนี้จะแยกตะกอนได้ประมาณ 50-65% ส่วนเรื่องการแยกความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ (BOD5) ประมาณ 20-30% เท่านั้น  วิธีการต่าง ๆ ในกระบวนการนี้มีหลายวิธี เช่น การดักด้วยตะแกรง (screening) เป็นการแยกเศษขยะต่าง ๆ ที่มากับน้ำเสีย เช่น เศษไม้ ถุงพลาสติก กระดาษ ตะแกรงมีหลายขนาด การดักด้วยตะแกรงจึงเป็นการแยกขั้นตอนแรกในการบำบัดน้ำเสีย การตัดย่อย (combination) คือ การใช้เครื่องตัดทำลายเศษขยะขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง การกวาด (skimming) เป็นการกำจัดนำมันและไขมันโดยทำการดักหรือกวาดออกจากน้ำเสีย การทำให้ลอย (floating) จะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าน้ำ การตกตะกอน (sedimentation) เป็นการแยกตะกอนออกจากน้ำเสียโดยอาศัยหลักการเรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งจะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ

4. กระบวนการทางกายภาพ-เคมี (physical-chemical process)
เป็นกระบวนการที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยมากกว่ากระบวนการที่กล่าวมา ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ในขั้นตอนสุดท้ายในการบำบัดน้ำเสีย ที่ผ่านกระบวนในขั้นตอนอื่นแล้ว เช่น กระบวนการดังต่อไปนี้

4.1 การดูดซับด้วยถ่าน (carbon adsorption) วิธีการนี้ใช้ผงถ่านหรือคาร์บอนเป็นตัวดูดซับสาร
เจือปนที่ละลายอยู่ในน้ำทิ้ง
4.2 การแลกเปลี่ยนประจุ วิธีการนี้อาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างสารปนเปื้อนในน้ำเสีย

กับตัวกลางที่บรรจุซึ่งมีทั้งประจุบวกและประจุลบ โดยจะมีการลำเลียงน้ำภายใน



สนใจติดต่อ
สัมพันธ์อินเตอร์เทรด บจก.
173/37 ถ.สุดบรรทัด ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
โทรศัพท์ : +663 6212 234-6,+668 1852 6633
โทรสาร : +663 620 0236
อีเมล : tunhun@yahoo.co.th
เว็บไซต์ : www.sumpunth.com
เว็บไซต์ : sumpunthintertrade.brandexdirectory.com
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ