หัวข้อ: ออกแบบกราฟิก ‘โคตรง่าย’ by Sarutanonโล่รางวัล เริ่มหัวข้อโดย: adzposter ที่ มีนาคม 28, 2018, 10:27:35 pm ออกแบบกราฟิก ‘โคตรง่าย’ by Sarutanonเทคนิคการออกแบบ
--EP.01 การออกแบบ คือ รสนิยมส่วนตัวของผู้หนึ่งนั้น สวัสดีครับ ผมชื่อตั้ม (จงกล ศรุตานนท์) ตั้งแต่เรียนจบมาก็ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มานานกว่า 8 ปีแล้วครับ ทุกวันนี้เมื่อมองไปทางไหนเราจะเริ่มเห็นสื่อด้าน ‘ออกแบบกราฟิก’ (Graphic Design) กันมากขึ้น เรียกได้ว่าเทรนด์ในอนาคตอันใกล้นี้ หลายคนจำเป็นต้องพึ่งการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อทำให้สื่อดึงดูดสายตาผู้อ่านของเราโดยอาศััยแนวคิดการออกแบบให้ทันสมัยที่สุด คราวนี้คำถามก็คือ หากเราจะเริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลย หรือเริ่มจาก ‘ศูนย์’ เราจะทำอย่างไรกันดีหละ ผมจึงอยากใช้โอกาสนี้มาแชร์ประสบการณ์เป็นพื้นฐานให้ผู้อ่านได้นำไปต่อยอดกับการใช้ชีวิตในยุค 4.0 กันครับเทคนิคการออกแบบ การออกแบบกราฟิก ‘โคตรง่าย’ จริงรึ? ทุกท่านทราบไหมครับว่าทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับการออกแบบอยู่แล้ว หากแต่เป็นเพียงการออกแบบชีวิต-ออกแบบไลฟ์สไตล์ว่าในวันนี้คุณตื่นนอนมาแล้วคุณจะแต่งตัวอย่างไรออกจากบ้าน หรือเที่ยงนี้คุณจะทานข้าวกับอะไร เหล่านี้ก็คือกระบวนการออกแบบที่เกิดขึ้นมาอย่างหนึ่งแล้ว เมื่อคุณเริ่มตื่นขึ้นมานั้น คุณก็ยังได้พบกับสื่อที่มีการออกแบบไว้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่บนจอทีวี สมาร์ทโฟน สบู่ แชมพู แพคเกจจิ้งต่าง ๆ ไปยันเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งล้วนผ่านงานออกแบบมาแล้วทั้งนั้นครับ ผมเพียงอยากจะบอกให้ทุกท่านจงเริ่มต้นสังเกตสิ่งรอบตัวเราให้มากขึ้น เพราะในชีวิตประจำวันตลอดเวลาที่ตื่น เราได้เสพ เราได้สัมผัสงานออกแบบกันอยู่แล้วเป็นปกติมาก ๆ ดังนั้น ถ้าคุณจะอยากหยิบจับอะไรสักอย่างขึ้นมาลองออกแบบดู หากคุณผ่านการสังเกตอะไรมาเยอะ และยิ่งมากก็ยิ่งดี จะทำให้การออกแบบนั้นก็โคตรจะง่ายอย่างที่ผมว่าเลยหละเหรียญรางวัล สำหรับตัวผมเองได้มีนิยามการออกแบบไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า ‘การออกแบบ คือ รสนิยมส่วนตัวของผู้หนึ่งนั้น’ แปลว่า ในขณะที่ผมได้ทำงานออกแบบ ผมได้นำเสนอสิ่งที่ผมจินตนาการไว้ให้แก่ลูกค้า ขณะเดียวกันโจทย์ก็คือลูกค้ากำลังคิดอะไรอยู่ข้างใน ผมต้องดึงสิ่งนั้นออกมาให้ได้ เมื่อผมสื่อความคิดลูกค้าออกมาได้แล้ว ลูกค้าก็เกิดความพึงพอใจตามที่เขาต้องการ และแน่นอนว่าสิ่งที่ลูกค้าคิดมีตั้งแต่งานระดับที่เรียกว่า ธรรมดามาก ๆ ไปจน งานออกแบบที่โคตรเทพเลยก็ว่าได้ แต่นั้นไม่ใช่การตัดสินว่างานออกแบบอันไหนดีกว่ากัน เพราะมันเป็นเรื่องของรสนิยมนั่นเอง เราจึงไม่ควรตัดสินใครจากเพียงการมองเห็นแค่ผิวเผินนะครับโล่รางวัล ใช้โปรแกรมอะไรดี? ในการออกแบบ เมื่อพูดถึงโปรแกรม ซอร์ฟแวร์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการออกแบบในปัจจุบันมีโคตรเยอะครับ แต่ที่ผมจะเลือกมาแชร์มี 2 โปรแกรมหลัก ซึ่งถ้ามีความเข้าใจและใช้เป็นแล้วหละก็ จะได้ทั้งงานสวย ทำงานสนุก และมีคุณภาพมากพอที่จะนำไปใช้ต่อยอดกันได้เลย โปรแกรมที่ว่าคือ ตระกูลอะโดบี - Adobe Illustrator (Ai ; อิลลัสเตรเตอร์) และ Adobe Photoshop (Ps ;โฟโต้ชอป) ที่หลายคนพูดถึงกันบ่อย ๆ จากประสบการณ์ของผม อย่างเช่นสิ่งพิมพ์ ‘ไฟล์ไม่คม มีอาร์ตเวิร์กเป็นเวกเตอร์ไหมครับ’ ‘ออกแบบแล้วพี่ขอไฟล์เวกเตอร์ด้วยได้ไหมคะ’ ‘มีไฟล์ Ai ให้แล้วทางร้านมีส่วนลดให้หรือเปล่าครับ’ ‘ไฟล์โฟโต้ชอปสามารถใช้ส่งงานพิมพ์ได้ไหมพี่’ ‘ไฟล์ psd ต้องมีความละเอียดเท่าไหร่ในการส่งพิมพ์’ ‘แต่งหน้าให้เนียนในโฟโต้ชอปทำไงอะ’ ‘สอนวิธีลบพื้นหลังให้เหลือแต่ต้นไม้หน่อยได้ป่าว’ ‘จะดราฟท์โลโก้ต้องใช้เครื่องมือตัวไหน’ เป็นต้นนะครับเทคนิคการออกแบบ ซึ่งคำถามเหล่านี้มักจะถูกถามอยู่บ่อยครั้ง และแน่นอนว่าผมไม่เคยไม่เบื่อที่จะตอบเลยครับ เพราะการให้คำตอบทุกครั้งโดยส่วนมากช่วยให้การทำงานออกแบบมันง่ายขึ้น เป็นการทบทวนความรู้ซ้ำไปซ้ำมา และเมื่อถูกถามต่อเนื่องมาหลายปี ผมจึงเริ่มรู้สึกว่ามันถึงเวลาแล้วนะ ที่ควรจะต้องออกมาแบ่งบันและบอกเล่าเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้มีคำตอบอยู่บนโลกออนไลน์ เผื่อว่าวันหนึ่งท่านใดที่บังเอิญไปค้นเจอก็จะได้คำตอบนั้นกับตัวเอง ทุกคนรู้ไหมครับว่า? ผมเองก็ค่อย ๆ พัฒนาและเติบโตในสายงานออกแบบกราฟิกมาจากการเกิดคำถาม หาคำตอบ รู้จักสังเกต และเรียนรู้เทคนิคจากในอินเทอร์เน็ตนี่หละครับ เพียงแต่หลาย ๆ ครั้งบทความที่ตอบคำถามเรามักจะเป็นภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทยครับ หลังจากวันนี้ผมจะพยายามเขียนขึ้นเป็นภาษาในแบบฉบับของผมเองเพื่อเป็นคลังความรู้ต่อไปนะครับผมโล่รางวัล ‘ทักษะพื้นฐาน’ ที่ต้องมีเพื่อเริ่มต้นการออกแบบ เอาหละครับ เมื่อผู้อ่านหลาย ๆ ท่านรู้สึกอยากจะเรียนรู้ขึ้นมาจริง ๆ ก็ถึงเวลาที่ต้องเตรียมตัวครับ โดยผมมีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนมีทักษะ มีความสามารถที่จะเรียนรู้และฝึกฝนได้ทั้งนั้น แม้ว่าคุณจะไม่มีหัวในด้านการออกแบบเลยจริง ๆ แต่หากใจมันอยากจะลองทำก็ไม่แปลกนะครับถ้าคุณได้ลองพยายาม ผมเองเรียนด้านการสื่อสาร (นิเทศศาสตร์) ได้เริ่มจับงานออกแบบหน้าบทความก็ตอนเรียนปี 2 แล้วค่อย ๆ เรียนรู้ พัฒนา หาโอกาสให้ตัวเองอยู่เรื่อย ๆ คนเราจึงพัฒนาตัวเองได้ครับและสำหรับทักษะพื้นฐาน ผมจะเน้นไปที่การฝึกร่วมกับโปรแกรม Adobe นะครับ ซึ่งมีอยู่ 2 ทักษะ ก็พอครับสิ่งพิมพ์
|