หัวข้อ: โรคเริ่ม พร้อมสมุนไพรรักษาโรคที่สามารถช่วยรักษาได้ เริ่มหัวข้อโดย: watamon ที่ พฤษภาคม 23, 2018, 10:24:09 am (https://www.img.in.th/images/f211cb6aec5bb252fabaab4c642ff274.jpg)
โรคเริม (Herpes simplex/Cold sore) โรคเริม คืออะไร[/b] โรคเริม (Herpes simplex) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ (โดยเฉพาะบริเวณปากและอวัยวะเพศ) ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ในปัจจุบันโรคเริม เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในเมืองไทย และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ เฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes simplex virus, ชื่อย่อ HSV) ทั้งนี้คำว่า herpes ของโรคเริม มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษหมายถึงเวลาคืบคลาน ซึ่งฮิปโปเครติสเป็นผู้ริเริ่มใช้คำนี้เป็นคำแรก กล่าวกันว่าในยุคโรมันได้มีการระบาดของแผลที่ปากเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามการใช้คำนี้ในระยะยังคงสับสนมากและยังใช้เรียกชื่อแผลที่ผิวหนังอีกหลายชนิด โรคเริ่มในปัจจุบันพบบ่อยอีกโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในวัยหนุ่มสาวและในวัยผู้ใหญ่ โอกาสเกิดโรคใกล้ เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย และจัดเป็นโรคติดต่อ ส่วนผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการ ที่มา : Wikipedia กำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ ส่วนในเด็กทารกและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ อาจมีอาการรุนแรง โดยเชื้อสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่การติดเชื้อเริมมักไม่แสดงอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ สาเหตุของโรคเริม ดังที่กล่ามาแล้วว่าโรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ เฮอร์ปี ซิมเพล็กไวรัส หรือ เรียกย่อว่า เอชเอสวี (Herpes simplex virus, HSV) ซึ่งไวรัสของโรคเริมนี้เป็นไวรัสต่างชนิดกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอี ใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำกับผิวหนังได้คล้ายๆกัน ในทางการแพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมนี้เป็น 2 ชนิด คือ
ซึ่งแต่เดิมเคยเชื่อว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ 1 เกิดโรคเฉพาะที่ช่องปากและริมฝีปาก ส่วนเฮอร์ปีส์ซิมเพลกซ์ 2 เกิดโรคเฉพาะที่อวัยวะเพศภายนอกและช่องคลอด แต่ปัจจุบันพบว่าไวรัสทั้ง 2 ชนิด สามารถก่อโรคได้กับผิวหนังทั้ง 2 แห่งได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่ปากมากกว่าที่อวัยวะเพศ ส่วนเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่อวัยวะเพศมากกว่าที่ปาก อนึ่ง HSV เป็นเชื้อไวรัสที่จัดอยู่ใน Fsmily Herpesviridae Subfamily Alphaherpesvirinae ไวรัสตระกูลนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อแบบแอบแฝง (latent infection) ที่ปมประสาท อาการของโรคเริม หลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มต้นแสดงอาการ คันๆ เจ็บๆ หรือปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง แล้วต่อมาจะเริ่มมีอาการอักเสบของผิวหนัง เกิดอาการบวม แดง ร้อน และเริ่มพองเป็นตุ่ม น้ำใส เรียงตัวเกาะกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 2-10 เม็ด ลักษณะคล้ายไข่ปลาหรือพวงองุ่น ต่อมาตุ่มน้ำใสเหล่านี้ ก็จะพองโตและแตกออกกลายเป็นแผลเปิดชนิดแผลตื้นๆ หลายแผลติดๆ กัน คล้ายแผลร้อนในภายในช่องปาก และมักจะหายได้เอง ภายใน 1-3 สัปดาห์ ในกรณีที่มีอาการของโรคเริมครั้งแรก ในบางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ต่ำๆ คล้ายกับอาการของไข้หวัดร่วมด้วย โดยก่อนหน้าจะเกิดตุ่มพอง อาจอ่อนเพลียแต่ไม่มีอาการอื่น จึงมักไม่รู้ตัวว่า ติดโรค หรือบางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดนำก่อน 1 - 3 วันเช่น ไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว และเมื่อเกิดในปากอาจกินอาหารแล้วเจ็บทำให้กินได้น้อย ผอมลง ทั้งนี้ในทางการแพทย์สามารถแบ่งชนิดการติดเชื้อของโรคเริมได้ดังนี้
นอกจากนี้โรคเริมเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยเมื่ออาการของโรคเริมหายดีแล้ว เชื้อไวรัสจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ซึ่งยาไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ เป็นระยะพักหรือ หลบซ่อนตัวของเชื้อไวรัสโดยที่ไม่แสดงอาการออกมา รอเวลาจนกว่าสภาวะความแข็งแรงของร่างกายลดต่ำลง เช่น ตอนอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานของร่างกาย ลดต่ำลง สตรีที่กำลังมีประจำเดือน ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในภาวะที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยเกินไป อารมณ์เครียด คิดมาก กำลังเจ็บป่วย อากาศร้อนและแสงแดดจัด เมื่อใดก็ตามที่สภาวะของร่างกายอ่อนแอ โรคนี้ก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ ณ ตำแหน่งที่เดิมหรือใกล้เคียง แนวทางการรักษาโรคเริม แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเริมได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากลักษณะตุ่มน้ำ โดยมักตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ หรือพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตและเจ็บ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาจตรวจพบแผลขึ้นพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่เป็นเริมในช่องปาก แต่ถ้าหากแพทย์ไม่แน่ใจว่าใช่อาการของเริมหรือไม่แพทย์ก็อาจจะมีการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม เช่น การตรวจเลือด การเพาะเชื้อตรวจหาสารก่อภูมต้านทาน การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับภูมิต้านทาน เนื่องจากอาการของเริมนั้นค่อนข้างคล้ายกับโรคอื่น ๆ อาทิ โรคงูสวัด แผลร้อนใน และการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันโรคเริมยังคงเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วการรักษาโรคเริมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ซึ่งโรคเริมที่พบมากคือ บริเวณริมฝีปาก ช่องปาก และอวัยวะสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงกล่าวถึงเฉพาะบริเวณดังกล่าวดังนี้ เนื่องจากโรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัสและสามารถหายได้เอง จึงแนะนำให้รักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เมื่อมีอาการปวด หรือมีไข้ และอาจจะประคบเย็นให้กับแผล เช่น การทำ wet dressing (การนำผ้าก๊อซมาชุบน้ำเกลือหมาดๆ วางลงด้านบนของแผล) เพื่อให้ความเย็น รู้สึกสบายแก่แผล และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และในกรณีที่แผลแตกเป็นแผลอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนอง อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ อะไซโคลเวียร์ (acyclovir), แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir), และวาลาไซโคลเวียร์ (valaciclovir) ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ในการใช้ยากลุ่มนี้ ควรใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไวรัสจะหยุดการเพิ่มจำนวน จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ในทางปฏิบัติเมื่อตุ่มน้ำใสแตกออกเป็นแผลแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อไวรัส เพราะเป็นระยะที่ไวรัสหยุดการเพิ่มจำนวนแล้ว ในรายที่เป็นครั้งแรก ควรใช้ยาเม็ด เช่น อะไซโคลเวียร์ ขนาด 200 มก./เม็ด วันละ 5 ครั้ง (ทุก 4 ชั่วโมง) เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 5 วัน ในรายที่กลับมาเป็นใหม่ (recurrent attack) อาจรักษาตามอาการ หรือใช้ยาทาอะไซโคลเวียร์ ซึ่งควรใช้ทันทีที่เริ่มมีอาการ อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และควรใช้ยาทาชนิดนี้ วันละ 5 ครั้ง ทุก 3-4 ชั่วโมง ในรายที่มีการกลับมาเป็นโรคเริมได้บ่อยๆ เช่น เป็นโรคเริมทุกเดือน ในกรณีนี้อาจใช้ยาในขนาดป้องกัน การเกิดโรคเริม ด้วยการกินยาเม็ดอะไซโคลเวียร์ ขนาด 200 มก./เม็ด วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน จะช่วยลดการกลับมาเป็นใหม่ได้ดี กลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม โรคเริมสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุดังนั้นทุกคนมีโอกาสติดโรคเริมได้ (ทั้งบริเวณปากและอวัยวะสืบพันธุ์) แต่มีรายงานว่าการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ ๘๕ ของประชากรโลก โดยติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ที่เป็นสาเหตุของโรคเริมที่ปาก (HSV1) ซึ่งการติดเชื้อครั้งแรกเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ อุบัติการณ์สูงสุดเกิดในเด็กระหว่างอายุ ๖ เดือน ถึง ๓ ขวบ เด็กในชุมชนแออัดและสุขอนามัยไม่ดีมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแต่ในปัจจุบันพบในวัยหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น การติดต่อของโรคเริม จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสภาพการณ์ดังนี้ มีเชื้อไวรัสในน้ำเหลืองจากแผล น้ำลาย น้ำเหลืองหรือน้ำอสุจิ (semen) แล้วเชื้อไวรัสต้องเข้าสู่ผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือรอยแผล และอาจจะเข้าสู่เยื่อเมือก เช่น บริเวณปากและอวัยวะเพศ เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีกระบวนการติดเชื้อ ดังนี้ เฮอร์ปีส์ไวรัสจะแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างๆของผิวหนังโดยที่บางครั้งก็ไม่มีอาการ แต่บางรายไวรัสจะแบ่งตัวและทำลายเซลล์ผิวหนัง จึงมีการอักเสบทำให้มีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม อยู่บนปื้นแดง เมื่อตุ่มน้ำแห้งหรือแตกไปจะเกิดเป็นสะเก็ด แล้วหายโดยไม่มีแผลเป็น ภายหลังการแบ่งตัวครั้งแรกแล้ว ไวรัสจะเข้าไปตามเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังบริเวณที่เกิดโรคแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาทโดยไม่มีการแบ่งตัว ทำให้ทั้งไวรัสและเซลล์ประสาทอยู่ด้วยกันได้เป็นปกติ ซึ่งเชท้อนี้มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-12 วัน แต่โดยเฉลี่ย 6-7 วัน เราไม่ทราบแน่ชัดว่ามีช่วงใดบ้างที่ไวรัสจะมีการแบ่งตัวและแพร่กระจายออกมาจากเซลล์ที่แฝงตัวอยู่ ในช่วงนี้เองที่จะพบไวรัสในของเหลวของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแก่ผู้สัมผัสได้ และบ่อยครั้งที่การแบ่งตัวของไวรัสเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการ ซึ่งการติดต่ออาจเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มแผลที่เป็นโรค จากน้ำ จากตุ่มพอง จากน้ำลาย จากสารคัดหลั่ง หรือจากเมื่อใช้ของใช้ร่วมกัน การจูบ การกิน จากมือติดโรคป้ายตาจึงเกิดโรคที่ตา และเมื่อเกิดกับอวัยวะเพศ จะก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ขณะคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ เมื่อติดเชื้อเริมมักไม่มีอาการอะไร แต่เชื้อจะอยู่ในตัวตลอดชีวิต ในปมประสาท รอจนเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจึงแสดงอาการแล้วเป็นอีกได้เรื่อยๆ บางครั้งอาจเกิดถึงปีละ 3 ครั้ง แต่จะค่อยๆห่างไปเมื่อสูงอายุขึ้น มักเกิดอาการตามหลังช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ำ เช่น อาการเครียด พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย ถูกแสงแดดจัด หลังผ่าตัด หรือช่วงมีประจำเดือน (https://www.img.in.th/images/84cec0f364ed7a85222b324a95e8f34a.jpg) การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นโรคเริม
สำหรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HSV ทั้งชนิด live หรือ attenuated หรือ subunit vaccine กำลังอยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ สมุนไพรที่ช่วยป้องกัน/รักษาโรคเริม พญายอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau วงศ์ Acanthaceae ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ C. burmanni Nees สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ สารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ สารกลุ่ม monoglycosyl diglycerides เช่น 1,2-O-dilinolenoyl-3-O-b-d-glucopyranosyl-sn-glycerol และสารกลุ่ม glycoglycerolipids จากใบ มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเริม ฤทธิ์ต้านเริม สารสกัดน้ำจากใบ มีฤทธิ์ต้านไวรัส Herpes simplex type 1 และ type 2 โดยตรงก่อนที่ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์ และสารสกัดจากใบความเข้มข้นตั้งแต่ 1:1,200 นาน 30 นาที สามารถออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ HSV 2 โดยตรงก่อนเพาะเลี้ยงลงเซลล์ สารสกัดเมทานอลและสารสกัดน้ำจากใบไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส HSV-2 และ HSV-1, HSV-2 ในเซลล์ ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิงจำนวน 27 คน ได้รับการรักษาด้วยครีมจากสารสกัดเอทานอลจากใบพญายอ 5% (dilution 1:4,800) เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยา acyclovir cream จำนวน 26 คน และยาหลอก 24 คน โดยทาแผลวันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 6 วัน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยครีมพญายอ และ acyclovir cream แผลตกสะเก็ดในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 ต่างจากแผลของผู้ป่วยที่ใช้ยาหลอก จะตกสะเก็ดในวันที่ 4–7 และหายในวันที่ 7-14 หรือนานกว่านั้น ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการอักเสบ ระคายเคือง ในขณะที่ acyclovir cream ทำให้แสบ ผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเป็นซ้ำ จำนวน 56 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอ เปรียบเทียบการรักษากับยา acyclovir cream จำนวน 54 คน และยาหลอก 53 คน ทาตุ่มหรือแผลวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 วัน พบว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาจากสารสกัดพญายอแผลจะตกสะเก็ดภายใน 3 วัน และหายภายใน 7 วัน ไม่มีอาการแสบแผล และไม่มีความแตกต่างจากการรักษาด้วย acyclovir cream แต่ยา acyclovir cream จะทำให้แสบแผล จักรนารายณ์ ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura ovalis DC., Gynura auriculata Cass.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีศักยภาพเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม นอกจากนี้สมุนไพรจักรนารายณ์ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol, dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์เป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก โดยพบว่าปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก แต่ทั้งนี้สมุนไพรที่มีรายงานในการรักษาโรคเริมได้ผลดีที่สุดและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือพญายอ เนื่องจากมีการศึกษาทางคลินิกอย่างแพร่หลายและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่นในการศึกษาในผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ ชนิด HSV-2 ทั้งชนิดที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ จำนวน 163 ราย และ 77 ราย ให้ผู้ป่วยทายาบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง หรือ ทุก 5 ชั่วโมง พบว่าทำให้อาการดีขึ้น และการศึกษาผลของการใช้ยาจากใบพญายอที่ทำให้อยู่ในรูปของทิงเจอร์และ กลีเซอรีน เพื่อใช้ในผู้ป่วยโรคเริม งูสวัด และแผลอักเสบในปาก จำนวน 16 ราย พบว่าสามารถรักษาแผลและลดการอักเสบได้ผลดี โดยระยะเวลาที่อาการปวดและแผลหายไป จะอยู่ระหว่าง 1-3 วัน นอกจากนี้พบว่า ยาครีมที่ได้จากสารสกัดใบพญายอ ไม่พบอาการข้างเคียงในการใช้ เอกสารอ้างอิง
Tags : โรคเริม
|