หัวข้อ: ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม เริ่มหัวข้อโดย: penpaka2tory ที่ มิถุนายน 29, 2018, 05:02:34 pm (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/8537/tumeric.jpg)
ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยไซส์เล็กๆ ที่ให้ประโยชน์ไม่เล็กตาม เกี่ยวกับ ขมิ้นชัน [url=http://health.sanook.com/" target="_blank](https://s.isanook.com/he/0/uc/0/145/logo_100x35.jpg)[/url] สนับสนุนเนื้อหา เรื่อง[url=http://health.sanook.com/" target="_blank]สุขภาพ[/url]ใครว่าไม่สำคัญ นอกจากที่การ[url=http://health.sanook.com/health/exercise/" target="_blank]ออกกำลังกาย[/url]นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ดู[url=http://health.sanook.com/" target="_blank]สุขภาพ[/url]ดีแล้ว เรื่องของอาหารการกินก็สำคัญ ไม่ใช่เพียงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือผัก แต่สมุนไพรไทยหลายๆ ชนิดก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้รสชาติเหมือนผัก แต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย อย่าง [url=http://www.sanook.com/health/5645/" target="_blank]ขมิ้นชัน[/url] ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่นิยมเอามาประกอบอาหาร โดยเฉพาะในอาหารใต้ ด้วยสีสันที่เป็นสีเหลืองสดสะดุดตา จึงทำให้อาหารดูมีความน่าทาน แต่ยังคงประโยชน์ไว้ได้อย่างครบถ้วน วันนี้ Sanook! Health จะพาไปทำความรู้จักกับเจ้าขมิ้นชันให้มากขึ้น ขมิ้นชัน จัดอยู่ในประเภทเดียวกับ ขิง ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน นั้นจัดว่าเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะมีสีเหลืองเข้ม ไปจนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ถิ่นกำเนิดจะอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกในแบบอื่นๆ อีกมาก อาทิ ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ทั้งนี้ การเรียกก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละภาค แต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่ขมิ้นชันจะนิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหารเพื่อแต่งสี แต่งกลิ่นอาหารให้มีความน่าทาน อาทิ แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/8537/ginger-tumeric.jpg)iStock ภายในสีเหลืองเข้มของ ขมิ้นชัน นั้นเต็มไปด้วยประโยชน์ ขมิ้นชัน นั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ , วิตามินบี 1 , วิตามินบี 2 , วิตามินบี 3 , [url=http://guru.sanook.com/9151/" target="_blank]วิตามินซี[/url] , วิตามินอี , ธาตุแคลเซียม , ธาตุฟอสฟอรัส , ธาตุเหล็ก , เกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย , คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ในขณะเดียวกัน ขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาอาการและบรรเทาโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิดจากการที่ได้ค้นพบประวัติในการนำมาใช้รักษามากกว่า 5,000 ปี บริโภค ขมิ้นชัน นั้นไม่ยาก สำหรับการเก็บเกี่ยวขมิ้นชันเพื่อนำมาบริโภคนั้นไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เนื่องจากจะทำให้สารที่ประโยชน์ อย่าง เคอร์คูมิน ที่อยู่ในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าขมิ้นชันที่เกี่ยวมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9 - 12 เดือน และเมื่อเก็บมาแล้วต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป อีกทั้งต้องเก็บไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน เมื่อเก็บได้เหง้าขมิ้นชันมาแล้ว หากต้องการนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรค หรืออาการต่างๆ ควรล้างให้สะอาดและไม่ต้องปอกเปลือก จากนั้นให้หั่นเป็นแว่นบางๆ แล้วนำไปตากแดดประมาณ 2 วัน จึงนำกลับมาบดให้ละเอียด นำไปผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ เท่ากับปลายนิ้วก้อย จากนั้นจึงนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 - 3 เม็ด ช่วงหลังอาหารและก่อนนอน อีกวิธีหนึ่ง คือ การนำเหง้าขมิ้นชันแก่มาขูดเอาเปลือกออก แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำขมิ้นมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง แต่หากจะนำขมิ้นชันมาใช้เป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเอาเหง้าขมิ้นชันมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นชันมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/8537/tumeric-2.jpg)iStock บริโภค ‘ขมิ้นชัน’ อย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด จากการศึกษาข้อมูลบางอย่างของ ‘ขมิ้นขัน’ พบว่า หากเรารับประทานขมิ้นชันไปตามเวลาที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปิด หรือเริ่มทำงาน ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น เราจึงได้นำข้อมูลส่วนนี้มาบอกเพิ่ม จะได้ลองนำเอาไปใช้กัน
|