ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: xcepter2016 ที่ กรกฎาคม 07, 2018, 09:21:11 pm



หัวข้อ: จาก สัตหีบโมเดล สู่ อีอีซีโมเดล : เพื่อมุ่งพัฒนาการศึกษา อีอีซีพลัส (EEC+)
เริ่มหัวข้อโดย: xcepter2016 ที่ กรกฎาคม 07, 2018, 09:21:11 pm
จาก สัตหีบโมเดล สู่ อีอีซีโมเดล : เพื่อมุ่งพัฒนาการศึกษา อีอีซีพลัส (EEC+)
การพัฒนาความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม จะมีแบบแผน การบริหารจัดการการศึกษาที่ต่างกัน ด้วยว่าการศึกษาเป็นหลักสำคัญของการพัฒนาสติปัญญาและบุคลากร ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน ตามทิศทางที่แต่ละประเทศกำหนดขึ้น
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/vw-german-industry.jpg)
 
การสร้างชาติเยอรมันยุคใหม่ด้วยการอาชีวะศึกษา รัฐบาลเยอรมนีกำหนดให้การอาชีวะศึกษาเป็นกระดูกสันหลังของการสร้างอุตสาหกรรมของชาติ โดยในปี ค.ศ.1969 ได้ตรากฎหมายการศึกษาอาชีวะ ให้อาชีวะศึกษามีคุณภาพการเรียนการสอนก้าวหน้า-สร้างประสบการณ์ตรงแบบโรงเรียน-โรงงาน (Germany Dual Vocational Training) ภายใต้การร่วมมือระหว่างองค์กรการผลิตภาคอุตสาหกรรมหลากสาขากับสถานศึกษาอาชีวะ รัฐบาลเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนและพัฒนามาตราฐานการศึกษานี้ เพื่อสร้างเศรษฐกิจเยอรมันยุคใหม่สู่การเป็นผู้นำเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโลก จนเยอรมนีผงาดเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลก และเป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระดับสากลไปโยปริยาย
ญี่ปุ่น หลังย่อยยับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การกำกับร่วมมือกับอเมริกา การฟื้นฟูประเทศของญี่ปุ่นได้สร้างการศึกษาสมัยใหม่ ตามวิสัยทัศน์ที่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศเป็นผู้วางวิสัยทัศน์ชี้นำและกระทรวงศึกษาเป็นองค์กรปฏิบัติ ได้เน้นสร้างการศึกษาเชิงประสบการณ์ให้เกิดการเรียนรู้เข้าใจถึงการประดิษฐคิดสร้าง การพัฒนาทักษะแรงงานและการทำงานในระบบอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้เอกชนสร้างเศรษฐกิจ-พัฒนาความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การสร้างบุคคลากรในระบบการศึกษาจึงตั้งอยู่บนฐานความร่วมมือ ที่มุ่งสร้างประสบการณ์ตรง-การเรียนรู้จริงจากการฝึกงานคู่กับการเรียนในห้องเรียน การจัดการอาชีวะศึกษาและการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จึงก้าวหน้าเป็นประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกได้ไม่ยาก
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/20151112c9dfe.jpg)
 
เช่นเดียวกับจีน ที่ย้อนหลังไปกว่า 4 ทศวรรษ ที่เริ่มผันตัวเองตามการเปิดสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา จีนเปิดประตูสู่เศรษฐกิจตลาดเสรีในฐานะ “โรงงานโลก” ที่อเมริกาสนับสนุนสุดตัวในยุคเปิดประเทศ จีนก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยการลอกเลียน-พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี วางแนวการศึกษาเชิงประสบการณ์ในระดับอาชีวะและประดิษฐคิดสร้างนวัตกรรมในระดับปริญญา! การผสานการศึกษาแบบโรงเรียน-โรงงาน ทำให้จีนมีประสบการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด นับแต่การเปิดประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เสินเจิ้น ที่ได้เคลื่อนย้ายขุมพลังการคิดค้นเทคโนโลยียุคใหม่จาก ซิลิคั่ล วัลเล่ย์ ในสหรัฐมาไว้ที่เสิ้นเจิ้น! จนจีนพัฒนเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องจนก้าวมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกในวันนี้แบบไร้เทียมทาน แม้มองย้อนหลังกลับไปกว่า 4 ทศวรรษ ที่วันนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของจีนโดยภาพรวม..ด้อยกว่าไทยด้วยซ้ำ! นี่คือวิสัยทัศน์ สติปัญญา การจัดการศึกษาในการพัฒนา และปฏิบัติการที่เป็นจริงของจีน และหลายประเทศที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่ประเทศไทยหิวกระหายยิ่งในวันนี้!
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/go-thailand-ok-ok-ok-1068x561.jpg)
 
สำหรับประเทศไทย ที่วันนี้ยังติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลางเรื้อรังมาเกินครึ่งทศวรรษ จนอาการน่าห่วง! จึงจำเป็นต้องปรับสร้างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านของโลก ทั้งในแง่เทคโนโลยีและการลดต้นทุนตามมาตรฐานการค้าใหม่ของโลก พร้อมไปกับสร้างพื้นที่เศรษฐกิจขึ้นใหม่อย่าง EEC เพื่อขับเคลื่อนประเทศออกจากหายนะทางเศรษฐกิจที่อาจต้องเผชิญ! หากสร้างความก้าวหน้าใหม่ขึ้นไม่ได้ก็ยากที่จะรอดพ้นจากหายนะ! ในการพัฒนาครั้งนี้การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นและก้าวกระโดด แต่หากการศึกษายังล้าหลังติดยึดอยู่ในระบบอำนาจและคอรัปชั่น แสวงประโยชน์ใส่ตัวใส่สถาบัน ไม่มีทิศทาง ไร้ความรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิต ปล่อยให้ตกงานสูญเปล่าทางการศึกษาสูงถึงร้อยละ 46 ที่เป็นอยู่ นโยบายรัฐฯที่คิดสร้างความก้าวหน้าคงต้องล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย!
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/eec-robotic-open-1068x561.jpg)
 
วันนี้คณะทำงานด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรของ EEC ได้เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาใหม่ด้วยการหยิบอาชีวะศึกษาขึ้นเป็นแกนการพัฒนาตอบโจทย์ความต้องการ ในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล โดยได้คัดเลือก 12 สถานศึกษาอาชีวะที่มีการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ S curve ของรัฐฯและความต้องการของการลงทุนยุคใหม่ มาเป็นแกนในการขับเคลื่อน โดยทาง EEC ได้เชื่อมประสานกับหน่วยงาน BOI และผู้ประกอบการ-ผู้ลงทุนในพื้นที่ EEC ร่วมผลิตบุคคลากรสร้างประสบการณ์เพื่อการพัฒนาทักษะฝีมือ ภายใต้ชื่อ “สัตหีบโมเดล” ในปีแรกจะมุ่งพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐานการผลิตใน 6 สาขาเพื่อผลิตอาชีวะจำนวนราวเกือบ 2,000 คน และจัดปรับฐานการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/Sattahip-Model-1068x600.jpg)
 
ขั้นต่อไปสถานศึกษาที่ผ่านการประเมิน จะได้รับการปรับพัฒนาคุณภาพอย่างก้าวกระโดด ทั้งระบบการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง EEC BOI กลุ่มโรงงานผู้ประกอบการ สถานศึกษาที่เข้าร่วม องค์กรพี่เลี่ยงทั้งภาครัฐ-เอกชน และสถาบัน-องค์กรความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยภาคส่วนทั้งหมด จะร่วมพัฒนาคุณภาพอาชีวะไทยสู่มาตรฐานสากล ให้ตรงความต้องการในการผลิตของกลุ่มเศรษฐกิจ S curve ที่รัฐบาลวางแนวทางไว้
เป็นโครงการสร้างชาติยุคใหม่ที่จะขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องยั่งยืน โดย EEC เป็นแกนกลางร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงาน-สถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง เป็นคลื่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศครั้งใหม่ การศึกษาแบบ สัตหีบโมเดล ที่นำมาใช้วันนี้จะเปลี่ยนรูปแบบและการจัดการเป็น อีอีซี โมเดล ในแบบ อีอีซี[/u] พลัส (EEC+) ที่ประมวลเอาความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดมาสู่สถานศึกษา ครู และผู้เรียน ซึ่งจะขับเคลื่อนไปอย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ของเทคโนโลยี เส้นทางเศรษฐกิจการค้าโลก และการพัฒนาศักยภาพภายใน ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรในประเทศและผู้ลงทุนระหว่างประเทศทั้งหลาย อีกทั้งสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรัฐบาลและเอกชนนานาชาติ ที่มีการลงทุนและการร่วมมือพัฒนากับประเทศไทย
 
.
 
(https://www.salika.co/wp-content/uploads/2018/04/spirit-of-eec-1068x561.jpg)
 
.
 
การศึกษาอีอีซี[/b] โมเดล มุ่งตอบโจทย์การสร้างคุณภาพคน มาตรฐานงาน คุณภาพสถานศึกษา และการสร้างความก้าวหน้าแบบยั่งยืนในกระแสการเปลี่ยนผ่านปนะเทศในคลื่นการพัฒนาของโลกยุคใหม่ ที่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC มองว่าเป็น Spirit of EEC
 
www.salika.co/
 
 

Tags : อีอีซี
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ