ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

พูดคุยทั่วไป => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: somrudeek75 ที่ กรกฎาคม 09, 2018, 10:09:20 am



หัวข้อ: บทวิเคราะห์ AIS-dtac ว่าไง! กสทช. เคาะราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท รอบใหม่ เริ่ม
เริ่มหัวข้อโดย: somrudeek75 ที่ กรกฎาคม 09, 2018, 10:09:20 am
(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/top2-696x896.jpeg)

กสทช. เคาะราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท รอบใหม่ เริ่ม 24 มิ.ย เบอร์มงคล
ก็บอกได้เลยว่าเป็นกระแสไม่น้อยเลยทีเดียวครับ สำหรับการเริ่มต้นประมูลคลื่น 900 MHz เมื่อปีที่แล้ว ทางหน่วยงานภาครัฐประกาศอย่างชัดเจนว่าเงินที่ได้จากการประมูลในครั้งนี้ เราจะนำมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทั้งนี้การประมูลในครั้งนั้น ก็จบลงด้วยที่ค่าย True และ JAS ได้ไปครอบครอง แต่แล้ววันเวลาผ่านไป เมื่อถึงครบกำหนดการชำระเงินดันมีแต่ค่ายทรูเพียงเจ้าเดียว ที่นำเงินมาชำระงวดแรก เพราะฉะนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า JAS หายไปไหน ทำไมไม่มาตามนัด และผลสุดท้ายก็ยังคงคลุมเครือว่าเหตุผลที่แท้จริงแล้ว เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับบริษัทจัสมิน เพราะฉะนั้นเราจึงจะพามาวิเคราะห์กันครับ

 

เริ่มกันที่เหตุผลแรกก่อนว่าคลื่น 900 MHz สำคัญอย่างไร มีแรงจูงใจอะไรที่ต้องประมูล?
คลื่น 900 จำเป็นอย่างไร สำหรับตัวคลื่นดังกล่าวคงต้องบอกว่าจะทำให้ใครก็ตามที่ครอบครอง นั้นก็จะสามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่ต้องลงแรงมาก ด้วยเหตุที่ว่าการตั้งเสาสัญญาณ 1 ต้น จะมีความครอบ คลุมพื้นที่ได้มากกว่า คลื่น 1800MHz มากถึง 3 ต้น ดังนั้นผู้ที่ประมูลได้จึงเป็นการลดต้นทุนตั้งเสาไปโดยปริยาย รวมถึงการให้บริการในรูปแบบ 4G LTE Advance หรือว่าการรวมคลื่นสัญญาณ ระหว่างคลื่น 1800 – 2100 MHz เพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณ ส่งผลให้มีความเร็วที่เพิ่มขึ้น

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz1-2.jpg)

ทำไมต้องมีสล็อต 1 หรือสล็อต 2 ของคลื่น 900 มีความหมายอย่างไร?
โดยเริ่มแรกต้องอธิบายว่า การประมูลคลื่น 900 ในครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ใบอนุญาต ได้แก่ ชุดที่ 1 คลื่น 895-905 MHz คู่กับ 940-950 MHz (10 MHz) และก็ในชุดที่ 2 คลื่น 905-915 MHz คู่กับคลื่น 950-960 MHz (10 MHz) โดยแต่ละใบอนุญาตจะมีอายุ 15 ปี

ซึ่งถ้าหากสังเกต ก็จะพบว่าคลื่น 900 ชุดที่ 1 จะมีความใกล้เคียงกับคลื่น 3G ของ dtac นั่นก็คือ 850 อยู่ ส่งผลให้เมื่อใช้งานไปในบางพื้นที่อาจพบการรบกวนกันของสัญญาณ ทำให้การติดต่อสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดเป็นข้อร้องเรียนในภายหลัง

ดังนั้นทางแก้ไขคือ การลงทุนจัดการกับปัญหาสัญญาณรบกวนเพิ่ม ซึ่งทางกสทช. ระบุว่าอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3,000 ล้านบาท ส่งผลให้นอกจากจะค่าใบอนุญาตแล้ว ก็ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายกับปัญหาดังกล่าวและไม่นับรวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ต้องทำออกมาสมบูรณ์ เพื่อให้ไม่เป็นข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz2-3.jpg)

จึงสรุปได้ว่าคลื่น 900 ชุดที่ 1 : มีแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากใบอนุญาตและในกรณีของ Jas Mobile ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วเลยทีเดียว เพราะเสาสัญญาณก็ไม่มี จึงเกิดเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าแจ็สจะทำยังไงต่อไป…?

เหตุผลที่ทำให้ : เหล่าโอเปอเรเตอร์ตัดสินใจร่วมประมูลนอกจากคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมของคลื่น 900 MHz…?
แน่นอนว่าเหตุผลแรกเลยคือ “การอยู่รอดครับ” กล่าวคือการมีคลื่นอยู่ในมือ เปรียบเหมือนกับเรามีไพ่ที่เหนือกว่า ก็สามารถที่นำมาต่อยอดการทำธุรกิจต่างๆ ผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้างผลกำไร หรือรายได้ และเพื่อให้ได้กลายเป็น “ผู้นำการบริการ” ซึ่งเมื่อเปรียบกับการลงทุนแล้ว ถึงแม้จะสูง ถ้าบริหารจัดการดี ปัจจัยภายในที่พร้อมคือ “องค์กร” กับปัจจัยแวดล้อมภายนอกเอื้ออำนวย ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ก็ย่อมตามมา และก็จะสอดคล้องกับสาเหตุที่สองคือ “อะไรๆ ก็ไม่แน่นอน”

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz3-2.jpg)

สาเหตุที่สอง
“อะไรๆ ก็ไม่แน่นอน” ทำไมผมถึงพูดแบบนี้ ณ ตอนนี้หากเรามองไปถึงอนาคต คงคาดเดาได้ยากครับ ว่าชีวิตประจำวันของเราก็จะเป็นอย่างไรต่อไป หรือจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะทุกอย่างอยู่บนความไม่แน่นอนเช่นเดียวกับการดำเนินธุรกิจในเมื่อประเมินเบื้องต้นแล้วว่าคลื่น 900 MHz นั้นมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วเหตุใดถึงต้องอยู่เฉย สังเกตได้จาก True ถึงแม้จะมีคลื่นเต็มไม้เต็มมือ แต่ก็ยังลงมาแข่งขันประมูล และสุดท้ายชนะไปได้ที่สุด แถมยังด้วยจำนวนเงินที่สูงลิ่ว นี่ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ประกอบกับข้อหนึ่ง ระบุได้ว่า การอยู่รอดและการเป็นผู้นำการบริการ รวมถึงการที่ไม่รอให้อนาคตมาตัดสินปัจจุบัน คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะมีคลื่นมาให้ประมูล !?

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz4-3.jpg)

สาเหตุที่สาม
“การลงทุนที่คุ้มค่า” อย่างที่กล่าวข้างต้น เนื่องจากคลื่น 900 เป็นคลื่นความถี่ตํ่า ทำให้การลงทุนปักเสาสัญญาณ ไม่ต้องใช้เสาสัญญาณมากต้น เพื่อทำให้เกิดสัญญาณที่ครอบคลุม เหมือนคลื่นความถี่สูง อีกทั้งคลื่นดังกล่าวมีความแรงของสัญญาณประสิทธิภาพสูงส่งผลให้คลื่นสัญญาณนั้นไปได้ไกล และที่สำคัญยังทะลุทะลวง เข้าสู่ภายในบ้านและอาคารได้ดี ดังนั้นการใช้งานติดต่อสื่อสารเรียกได้ว่าไม่ขาดตอนเลยทีเดียว (แต่ก็ต้องขึ้นอยู่คลื่นที่ผู้ให้บริการถือครองอยู่ด้วยว่าเอื้ออำนวยมากน้อยแค่ไหน)

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz5-2.jpg)

หลังจากที่ทราบข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้ว มาดูกันว่าทำไม True ถึงย่อมจ่ายค่าเงินประมูลใบอนุญาตที่ 2 แพงลิ่ว…?
คงมีอยู่แค่คำตอบเดียวที่ให้ได้ครับว่าคือ “True ต้องการเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจการให้บริการการติดต่อสื่อสาร” เบอร์มงคล true ด้วยคลื่นที่สะสมอยู่ในมือนั้นก็เรียกได้ว่าเอื้ออำนวยต่อการต่อยอดเป็นธุรกิจต่างๆ ได้อย่างไม่ยากเย็น และที่สำคัญเป็นการประกาศศักยภาพของตนเองว่ามีความเพรียบพร้อมเพียงใด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ นานา ซึ่งข้อพิสูจน์ก็อย่างที่เราเห็นกันในโฆษณาทุกวันนี้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยหนี้ที่มหาศาสเช่นกัน

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz6-2.jpg)

แต่ไฮไลท์คงไม่ได้อยู่ที่ True ครับ แต่ว่ากลับกลายเป็น JAS ต่างหาก ว่าอย่างที่เราทราบกันหลังจากประมูลได้ เรา (ผู้ใช้บริการ) อยากจะเห็นแพ็กเกจเป็นแบบใด เพราะตามหลักการตลาด ถ้าหากว่ามีผู้แข่งขันในธุรกิจเพิ่มขึ้น การออกกลยุทธ์เอาใจลูกค้า ก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการ โดยเฉพาะการเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ จึงต้องงัดกลยุทธ์ สำหรับการนับหนึ่งลูกค้า และการคืนทุนที่รวดเร็ว ทว่า……

เมื่อวันเวลาผ่านไปหลังจากการประมูลได้ ทางบริษัท JAS Mobile ก็ยังไม่มีท่าทีแสดงเจตนารมณ์ที่มีความพร้อมและเชื่อมั่นออกมาว่าเรานั้นเอาจริง นอกจากการแถลงการณ์เมื่อเดือนธันวาคม โดยก็มีแค่ การแถลงการณ์ ซึ่งมีเนื้อใจความสำคัญ…และภาพประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นคือ

เป้าหมายบริษัทคือการเป็นเบอร์สองของตลาดโปรเน็ตที่มีบริการทั้งเครือข่ายบรอดแบนด์แบบมีสายและไร้สาย

ผนึกกำลังการให้บริการอย่างลงตัวทั้งบรอดแบนด์และโมบายอินเทอร์เน็ต

มีการเตรียมเงินลงทุนเสาสัญญาณไว้พร้อมแล้ว แต่จะเป็นเจรจาการเช่าใช้ฐานเสาสถานีร่วมกับรัฐวิสาหกิจ

มั่นใจได้ว่าสามารถชำระเงินประมูลได้ตามกำหนด อันเนื่องมาจากหลักการผ่อนชำระเงินแบบยืดหยุ่นของกสทช.

น่าจะเปิดให้บริการได้ทันช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีพุทธศักราช 2559

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz7-2.jpg)

หลังจากนั้นก็เงียบหายเข้าไปจนเริ่มมีการถกเถียงว่าสรุปแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป และล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม วันที่ 21 พุทธศักราช 2559 คือวันที่กสทช. ต้องจำว่าเป็นบทเรียนอีกครั้งหนึ่ง เพราะสุดท้ายทางบริษัท Jas Mobile ก็ไม่มาชำระเงินงวดแรกตามกำหนด ส่งผลให้ใบอนุญาตดังกล่าวกลายเป็นโมฆะและต้องประมูลใหม่ในที่สุด…แล้วช่วงเวลาที่ผ่านมาภาครัฐต้องเสียต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่าใด
แล้วเหตุผลใดที่บริษัท Jas Mobile ไม่มาชำระเงินตามกำหนด…?
ส่วนรายละเอียดเริ่มตั้งแต่ เหตุผลที่ทำไมนายพิชญ์ไม่เข้าร่วมการประมูลด้วยในคลื่น 900 MHz ทั้งๆ ที่ตอนคลื่น 1800 MHz ก็ได้เข้าร่วมเคาะราคา โดยให้เหตุผลดังนี้

นายพิชญ์ชี้แจงว่าเป็นเรื่องกลยุทธ์, แผนงาน, งบประมาณและการลงทุน โดยให้นโยบายกับทางทีมงานที่เข้าห้องเคาะราคาว่าให้สู้ราคาเต็มที่ได้สูงสุด 80,000 ล้านบาท ซึ่งหน้าที่ทีมงานคือ เคาะราคาไปเริ่อยๆ จนชนะประมูล จึงสรุปว่าการที่นายพิชญ์ไม่เข้าร่วมเคาะราคานั้นเป็นเรื่องของกลยุทธ์ในการแข่งขัน

ส่วนด้านแหล่งเงินทุน นายพิชญ์ยืนยันว่ามีผู้สนับสนุน คือ บริษัทหัวเว่ยและธนาคารกรุงเทพ ซึ่งในด้านธนาคารกรุงเทพ ส่วนตัวได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารมาก่อนแล้ว แต่ในนาทีสุดท้ายธนาคารได้โทรศัพท์แจ้งนายพิชญ์ว่าต้องทำค้ำประกันส่วนตัวด้วย รวมถึงต้องนำคุณพ่อของนายพิชญ์มาคํ้าประกันด้วยเช่นกัน จึงไม่สามารถตกลงกันได้ในที่สุด และทำให้ต้องหยุดการเจรจากับธนาคารกรุงเทพ

และในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 2 เดือน ส่งผลให้ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน แต่ก็ยังมีธนาคารไอซีพีซีติด ต่อเสนอมาว่า หากหาพันธมิตรร่วมทุนจากประเทศจีนได้ ทางธนาคารก็พร้อมจะรออกหลักทรัพย์ค้ำประกัน (แบงก์การันตี) ให้ ทว่าสุดท้ายก็ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะมีเวลาที่กระชั้นชิด

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz9.jpg)

อย่างไรก็ตามผลสรุปในตอนนี้สำหรับคลื่น 900 ใบอนุญาตที่ 1 ก็คือ “การต้องเริ่มต้นประมูลใหม่” โดย กสทช. มีการบอกกฏเกณฑ์ของผู้ร่วมลงประมูลไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้

1.คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลตัดสิทธิ์ผู้ที่ไม่มาชำระเงินค่าประมูลจากการประมูลครั้งที่แล้ว
2.เคาะราคาเริ่มต้นประมูลที่ 75,654 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาของผู้ที่ชนะการประมูลครั้งก่อน
3. การวางเงินหลักประกันจะเท่าเดิม คือ 5% ของราคาเริ่มต้นการประมูล 75,654 ล้านบาท = 3,783 ล้านบาท
4. จ่ายเงินค่าประมูลแบ่งเป็น 4 งวด เช่นเดิม คืองวดแรก 8,040 ล้านบาท พร้อมแบงก์การันตีส่วนที่เหลือ งวดที่สอง 4,020 ล้านบาท พร้อมแบงก์การันตีส่วนที่เหลือ งวดที่สาม 4,020 ล้านบาท พร้อมแบงก์การันตีส่วนที่เหลือ และงวดสุดท้ายต้องจ่ายที่เหลือทั้งหมด
5. กรณีผู้ชนะการประมูลไม่มาชำระเงินจะยึดเงินหลักประกันจำนวน 3,783 ล้านบาท กสทช. จะเรียกค่ารับผิดเพิ่มขึ้นอีก 11,348 ล้านบาทรวมเป็น 15,131 ล้านบาทหรือคิดเป็น 20% ของราคาตั้งต้นการประมูล และหากมีความเสียหายเพิ่มเติม สำนักงาน กสทช. จะเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีก

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz10.jpg)

6.ร่างหลักเกณฑ์การประมูลใช้เฉพาะครั้งนี้เท่านั้น จึงเสนอเงื่อนไขกรณีมีผู้ประมูลรายเดียว แต่มีการเคาะยืนยันราคา 75,654 ล้านบาท ก็ให้ถือว่าเป็นผู้ชนะการประมูล
7.การประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลจะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลในลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 หากผู้ชนะรายที่ 1 ไม่มาชำระเงินค่าประมูล กสทช. ก็จะเรียกผู้ชนะลำดับที่ 2 มาชำระเงินประมูล และเป็นผู้ชนะแทน ทั้งนี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และในกรณีมีผู้เสนอราคาเท่ากัน 2 ราย กสทช. อาจมีการประกาศเพิ่มเติมให้ดำเนินการยื่นซองราคา เพื่อแข่งขันราคากันเลย

8.และในกรณีที่ไม่มีผู้เข้าประมูล กสทช. จะเคาะราคาถอยหลังจาก 75,654 ล้านบาทตํ่าลงมาเรื่อยๆ และจะหยุดไว้ที่ราคาที่ทางบริษัทกลุ่มทรูได้เคาะไว้ที่ 73,722 ล้านบาท และเงินส่วนที่ขาดรวมถึงค่าเสียหายเพิ่มเติมจะมีการฟ้องร้องจากบริษัท Jas Mobile

(http://galaxy-7.net/wp-content/uploads/2018/05/cz11.jpg)

โดยจากที่กล่าวมาข้างต้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจำนวนตัวเลขราคาของการประมูล มีจำนวนที่สูงมากเลยทีเดียว ซึ่งกรณีนี้ทำให้การประมูลครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ต้องถือว่าน่าติดตามเลยว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีจริงๆ กสทช. คงเหลือ 2 ทางเลือก 1. เคาะราคาให้ตํ่าลงมาอีก ตํ่ากว่ากลุ่มทรู แต่จะเป็นไปได้หรือ? 2. เก็บคลื่น 900 เข้าห้องปิดตาย ทว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไปโดยปริยาย สุดท้ายเราคงต้องติดตามกันต่อไปครับ ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

 

หลังจากทราบกฏเกณฑ์กันไปแล้ว มาดูกันว่ากำหนดการของระยะเวลาเป็นอย่างไรบ้าง…?
วันที่ 5-28 เม.ย. 2559 เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 895-905 MHz/940-950 MHz (หรือ ร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz)
วันที่ 22 เม.ย. 2559 จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศดังกล่าว
วันที่ 12 พ.ค. 2559 ร่างประกาศฯ จะถูกส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ 13 พ.ค.-12 มิ.ย. 2559 ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 13 มิ.ย. 2559 ยื่นคำขอเข้าร่วมการประมูล
วันที่ 24 มิ.ย. 2559 วันประมูล!!!



เรียบเรียงโดย: MCCONTENT

ที่มา: http://galaxy-7.net/technology-it/201805434
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ