หัวข้อ: คุณแม่มือใหม่ หัดใช้ “ที่ตรวจครรภ์” ให้ถูกต้อง เริ่มหัวข้อโดย: Petchchacha ที่ สิงหาคม 03, 2018, 10:18:39 am (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/7921/pregnant-check.jpg)
คุณแม่มือใหม่ หัดใช้ “ที่ตรวจครรภ์” ให้ถูกต้อง เกี่ยวกับ ที่ตรวจครรภ์ [url=http://health.sanook.com/" target="_blank](https://s.isanook.com/he/0/uc/0/145/logo_100x35.jpg)[/url] สนับสนุนเนื้อหา สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งจะแต่งงานเป็นข้าวใหม่ปลามัน สงสัยว่าตัวเองนั้นกำลังจะตั้งครรภ์แล้วรึเปล่า ? แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริง ก่อนที่จะไปถึงหมอ คุณแม่มือใหม่ก็สามารถรู้ข้อมูลเบื้องต้นก่อนได้ผ่านการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ที่ตรวจครรภ์” ซึ่งในปัจจุบันที่ตรวจครรภ์นี้ก็มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามร้านเภสัชกร ถ้าอยากให้ชัวร์ Sanook! Health แนะนำว่าควรไปพบแพทย์น่าจะเวิร์คที่สุด จะได้ดำเนินการติดตามดูแลครรภ์ของคุณแม่ต่อไป แต่หากอยากรู้ข่าวดีก่อนก็ไม่ว่ากัน คุณแม่สามารถทำได้โดยใช้เจ้าเครื่องมือชิ้นนี้นี่ล่ะ ฉะนั้น เพื่อให้การใช้งานถูกต้องและทำความรู้จักกับที่ตรวจครรภ์มากขึ้น เพราะในตลาดมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เราจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์กัน เครื่องมือตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ที่ตรวจครรภ์ หรือชุดตรวจครรภ์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง โดยเป็นการทดสอบเพื่อหาฮอร์โมน HCG (Human chorionic gonadotropin) ในปัสสาวะของคุณแม่ ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะหลั่งออกมาจากรกและเริ่มผลิตหลังจากที่เกิดการปฏิสนธิไปแล้วประมาณ 6 วัน และจะขึ้นสูงที่สุดในช่วง 8 - 12 สัปดาห์ การตรวจหาด้วยตัวเองโดยใช้ที่ตรวจครรภ์นี้จะมีความแม่นยำถึงร้อยละ 90 ทั้งจะยิ่งแม่นยำขึ้นไปอีกในรายที่มีการขาดประจำเดือนตั้งแต่ 10 - 14 วันขึ้นไป (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/7921/pregnant-check-3.jpg) โดยปกติ ในชุดทดสอบการตั้งครรภ์จะมีอุปกรณ์มาให้เสร็จสรรพ แต่จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้ .. ที่ตรวจครรภ์แบบที่ 1 แบบแถบจุ่ม ในแบบแรกนี้เราจะเรียกกันว่า แบบแถบจุ่ม หรือ Test Strip ในชุดทดสอบนั้นจะประกอบไปด้วย แผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ (แผ่นตรวจครรภ์) และ ถ้วยตวงปัสสาวะ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) วิธีการใช้นั้น ให้เราเก็บน้ำปัสสาวะลงไปในถ้วยตวง จากนั้นนำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีลูกศรชี้ลงจุ่มลงไปในน้ำปัสสาวะ รอ 3 วินาที แต่ต้องระวังไม่ให้ปัสสาวะเลยขีดที่แผ่นกำหนด หรือสูงเกินกว่าขีดของลูกศรในแผ่นทดสอบ เมื่อครบ 3 วินาทีแล้ว ให้นำแผ่นทดสอบออกจากน้ำปัสสาวะ และถือไว้ในแนวนอน (แนะนำให้วางไว้บนพื้นผิวที่แห้งสนิทเท่านั้น) รออ่านผลการตั้งครรภ์หลังเวลา 1 - 5 นาที ทางที่ดีควรรอให้ครบ 5 นาที จะได้แน่ใจว่าชุดทดสอบนี้แสดงผลได้อย่างถูกต้อง ข้อดีของที่ตรวจครรภ์ในแบบที่ 1 นี้ คือ มีราคาถูก แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปัสสาวะสูงกว่าขีดที่กำหนด เพราะจะทำให้แผ่นทดสอบเสื่อมสภาพได้ ที่ตรวจครรภ์แบบที่ 2 แบบตลับ หรือแบบหยด แบบที่ 2 นี้เรียกว่า แบบตลับ หรือ แบบหยด (Pregnancy Test Cassette) ประกอบไปด้วย ตลับทดสอบการตั้งครรภ์ , ถ้วยตวงปัสสาวะ และหลอดหยดสำหรับดูดน้ำปัสสาวะ วิธีการใช้งาน ให้เก็บน้ำปัสสาวะลงในถ้วยตวง จากนั้นให้นำหลอดหยดดูดน้ำปัสสาวะเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ แล้วจึงหยดน้ำปัสสาวะลงบนตลับทดสอบประมาณ 3 - 4 หยด วางไว้บนพื้นราบ เสร็จแล้วให้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีจึงอ่านผลการทดสอบ ข้อดีของการใช้ที่ตรวจครรภ์ในแบบที่ 2 นี้ เมื่อเป็นแถบตรวจจะช่วยลดโอกาสที่แผ่นทดสอบจะเสื่อมสภาพจากการดูดซับน้ำปัสสาวะของชุดทดสอบได้ ที่ตรวจครรภ์แบบที่ 3 แบบปัสสาวะผ่าน แบบที่ 3 นี้เรียกกันว่า แบบปัสสาวะผ่าน หรือ Pregnancy Midstream Tests ในชุดจะมีแค่เพียงแท่งตรวจสอบการตั้งครรภ์ วิธีใช้ คือ ให้ถอดฝาครอบออกพร้อมกับถือแท่งทดสอบโดยให้หัวลูกศรชี้ลง จากนั้นให้ปัสสาวะผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าลูกศร ปัสสาวะผ่านให้ชุ่มประมาณ 5 นาที จากนั้นให้ถือ หรือวางแท่งทดสอบการตั้งครรภ์ไว้ในแนวราบ รออ่านผลได้ตั้งแต่ประมาณ 30 วินาทีเป็นต้นไป เพื่อความแน่นอน แนะนำว่าให้รอเวลาประมาณ 3 - 5 นาที จะเห็นผลได้ชัดเจนมากที่สุด ข้อดีของการใช้ที่ตรวจกันแบบนี้ คือ สามารถใช้งานได้สะดวกมากกว่า 2 ชนิดก่อน เพราะไม่ต้องมีการตวงน้ำปัสสาวะรอไว้ในถ้วย จึงช่วยให้ลดขั้นตอนในการทดสอบได้ แต่ข้อเสียของมันจะอยู่ที่ราคาที่สูงกว่าทั้ง 2 แบบแรก (https://s.isanook.com/he/0/ud/1/7921/pregnant-check-2.jpg)iStock การอ่านผลที่ตรวจครรภ์ โดยปกติแล้ว ในกล่องของชุดทดสอบการตั้งครรภ์จะมีวิธีการใช้งานและวิธีการอ่านค่า พร้อมกับแนบรูปภาพตัวอย่างมาให้ ซึ่งส่วนมากการอ่านผลที่ให้ความแม่นยำจะต้องอ่านภายใน 5 นาที หากทิ้งไว้นานกว่านั้นอาจทำให้มีอีกขีดเกิดขึ้นมาได้ และอาจจะไม่ใช้การตั้งครรภ์ หรือเป็นค่าที่เชื่อถือไม่ได้แล้ว ขีด C คือ Control Line ส่วนขีด T คือ Test Line สำหรับรายละเอียดของการตรวจจะมีดังนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sanook.com/health/7921/ คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรดไหลย้อน Tags : สุขภาพ, ยารักษาโรค
|