ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: iampropostweb ที่ สิงหาคม 18, 2018, 10:08:22 pm



หัวข้อ: เครื่องดรายลามิเนท
เริ่มหัวข้อโดย: iampropostweb ที่ สิงหาคม 18, 2018, 10:08:22 pm
*** ต้องการผลิตงาน อันดับแรกที่มีความสำคัญที่สุดคือ ต้องทราบเสียก่อนว่า งานที่จะผลิตคือชื่องานงานอะไร มีลักษณะอย่างไร ถ้ายังไม่ทราบไม่ต้องไปหาข้อมูลเครื่องจักรให้เสียเวลา หรือว่าหาข้อมูลไปก็ผิดพลาดเสียเวลาไปเปล่าๆ หรืออาจจะเสียเงิน  เพราะว่าข้อมูลเริ่มต้นว่าจะผลิตงานอะไรก็ยังไม่รู้เลย***การแก้ไขปัญหาภายหลังเป็นเรื่องยาก***
***ตามความเป็นจริงเครื่องจักรแต่ละรูปแบบไม่สามารถผลิตงานได้ดีทุกชนิดงาน ต้องเลือกเครื่องจักร ที่เหมาะสม ผู้ขายเครื่องจักรที่ไม่มีประสบการณ์ จะแจ้งว่าเครื่องจักร สามารถผลิตงานได้ แต่ไม่ได้บอกว่าผลิตได้ดีหรือไม่ดี เมื่อผลิตไม่ได้หรือไม่ดีก็จะโทษว่าคนทำงานไม่ดี***ปัจจุบันสินค้ามีการแข่งขันด้านการตลาดแข่งขันกันด้านราคากันมาก ซึ่งด้านราคาผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดหรือเลือกผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตต้องแข่งขันกันด้านราคา ในการควบคุมราคาหรือต้นทุนการผลิตให้ต้นทุนต่ำ อยู่ที่การควบคุมคุณภาพให้ได้ดีไม่มีการ REJECT. และที่สำคัญคือการลดการสูญเสีย NC & WASTE จึงต้องเลือกเครื่องจักรที่ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ต้องการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ***
***เครื่องจักรมีความแตกต่างกันตามการลักษณะของงานงาน เช่น งานดรายลามิเนท อลูมิเนียม ,กระดาษ มีความแตกต่างกับการดรายลามิเนทฟิล์ม PE,LLD.PE,CPP, MCPP ***การเลือกเครื่องจักรที่ไม่เหมาะสมจะทำให้การผลิตงานยากและมีปัญหาด้านคุณภาพ เช่น การเกาะติดของอลูมิเนียมเกาะติดไม่ดี เครื่องจักรไม่สามารถผลิตงานได้ดีทุกงานต้องเลือกเครื่องจักร ที่เหมาะสม ผู้ขายเครื่องจักรที่ดีมีประสบการณ์ จะแจ้งว่าเครื่องจักรชนิดนั้นสามารถผลิตงานได้ดีหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ขายที่ไม่มีประสบการณ์(หรือประสบการณ์สูงมากในการจูงใจลูกค้าด้วยวิธีการอื่นไม่ใช่จากคุณภาพเครื่องจักร) จะบอกว่าเครื่องจักรผลิตงานได้เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้บอกว่าผลิตงานได้ดีหรือไม่ ก็จะเกิดปัญหา หลังการขาย ผู้ขายจะหลบเลี่ยง ออกไปอ้างว่าไม่มีเวลาหรือก็บอกแบบไม่รับผิดชอบว่า เครื่องจักร ราคานี้ แบบนี้ ก็ทำได้แค่นี้เอง
(http://gravurecon.com/wp-content/uploads/2017/03/dry-lamination33-300x153.jpg)









ด้านล่างบทความมีการตอบปัญหางาน
***งานที่ผลิตด้วยการดรายลามิเนท เมื่อผลิตสินค้าแล้วยังไม่ส่งสินค้าทันที เก็บในสต๊อคระยะเวลาหนึ่ง หรืออีก กรณีหนึ่ง ส่งสินค้าให้กับลูกค้าแล้วลูกค้าเก็บไว้ในสต๊อก ระยะเวลาหนี่ง นำกลับมาตรวจเช็คใหม่ ผลของการตรวจเช็ค ที่ออกมาชิ้นงานลอก ,หรือ ส่งงานให้ลูกค้าแพ็คสินค้าส่งไปขึ้นร้านค้า ขึ้นห้าง สินค้าที่บรรจุด้วยของเหลวมีการรั่วซึมของสินค้าออกมาเลอะบนชั้นวางสินค้า , งานที่ส่งไปต่างประเทศแล้วชิ้นงานลอกระหว่างขนส่งหรือลอกที่ต่างประเทศ……..เกิดจากสาเหตุอะไร ?..ถ้าไม่ทราบสาเหตุจะเป็นความเสี่ยงในการรับงานจากลูกครั้งต่อไปเพราะสินค้าจะมีมูลค่าสูง
ด้านล่างมีบทความข้อควรระวัง
***ลูกยางกดทับ ( nip roll ) ไม่ดี แข็งเกินไป,นิ่มเกินไป,บวม,เป็นร่อง,เป็นขุย  etc. มีผลกับ ระบบควบคุมความตึง-หย่อน ( tension) ของเครื่องจักร เพราะะว่าเมือกดทับได้ไม่ดี ทำให้ระบบ จะไม่แยกการควบคุมเป็นช่วงๆ  UNWINDER – IN FEED – OUT FEED- REWINDER จะทำงานไม่แยกส่วนการควมคุม มีผลทำให้ ฟิล์มที่ใช้ผลิตงานจะควบคุมความตึง หย่อนได้ จะยึดและหดเกินกว่าค่ามาตรฐานที่ใช้งานได้ดี***
เพราะว่าฟิล์มต้องผ่านขั้นตอน การปล่อยม้วน (unwinder) เข้าส่วนโค็ดกาว ( in feed-out feed ) ฟิล์มต้องสำผัสกับกาวและทินเนอร์ทำให้ฟิล์มอ่อนตัว การความคุมส่วนนี้จึงมีความสำคัญมาก ความสวยงาม ความคมชัด (ภาพซ้อนกันจะไม่คมชัด) ถ้าลูกยางกดทับไม่ดี การดึงฟิล์มจะถูกดึงถึง ตัวปล่อยม้วน ตัวปะกบ จะทำให้ความตึงของงานสองชิ้นมีความตึงไม่เท่ากันเมื่อม้วนเซ็ตตัว กาวแห้งจะเกิดความเสียหาย ลักษณะฟิล์มเป็นเส้นพาดขวางกลางม้วน และตัวเก็บม้วน ที่มีความตึงมากกว่ากันไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ฟิล์ม ยืด-หด มาจาก ระหว่างช่วงการโค้ดกาวและการปะกบชิ้นงาน ตัวเก็บม้วน ถ้าควบคุมไม่ดี ฟิล์มจะเก็บม้วนแน่นบล็อคกิ้ง แกะไม่ออก เป็นเส้นพาดกลางม้วนตลอดแนว, ม้วนไหลออกจากกลางแกนแหลมเป็นกรวยออกมาจากแกนม้วน ,ม้วนแน่นบล็อคกิ้ง กาวติดริมม้วนแกะไม่ออก และม้วนหลวม วางลงพื้นแล้วแบน (เหมือนยางรถยนต์ยางแบน )
**อาจมีปัญหาเรื่องการผลิตงาน มีปัญหาที่หาคำตอบไม่ได้เหมือนๆกันทุกๆโรงงาน อาจจะมีการมองข้ามสาเหตุของการแก้ปัญหาต่างๆไปและได้รับคำตอบว่า “ไม่เกี่ยวข้องกัน” แต่ก็หาคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้สักที ป้ญหานั้นๆก็ไม่จบไป ยังคงอยู่แบบไม่มีการแก้ไข ( ถ้าไม่เปิดกว้างทางด้านความคิดและรับเรื่องเทคนิคการผลิตใหม่ๆเข้ามาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ก็หาคำตอบไม่ได้)
(http://gravurecon.com/wp-content/uploads/2017/03/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B79-300x81.jpg)
การเคลือบงานพิมพ์ทำให้การเกาะติดดี
*****รูปแบบเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์งานที่มีเคลือบเงาบนฟิล์มเป็นสีสุดท้าย หรืองานที่มีสีเกาะติดบนฟิล์มหนา รูปแบบเครื่องจักรแบบนี้ ทำให้สีแห้งได้ดีกว่าก่อนที่ฟิล์ม เข้าชุดเก็บม้วน (rewinder) เมื่อวานิชและสีแห้งดี นำไปผลิตขั้นตอนต่อไป ได้ดีไม่พบปัญหาสีบล็อคกิ้ง สีหลุดติดซับหลัง และเมื่อนำไปเคลือบ ลามิเนท (EXTRUSION ) ระหว่างงานพิมพ์ด้วยฟิล์ม OPP หรือ CPP จะเคลือบโดยตรงไม่มีการโค๊ตน้ำยา (orgatic) ก่อนการเคลือบ โดยการเคลือบด้วยวิธี นี้ ( EXTRUSION) จะเป็นวีธีลาดทับด้วย เม็ดพลาสติก PP ที่หลอมออกมาโดยตรง เมื่อใช้เครื่องพิมพ์รูปแบบนี้พิมพ์งาน การเกาะติดของชั้นเคลือบจะดีมากเพราะผิวฟิล์ม OPP หรือ CPP ที่พิมพ์สีจะมีการระเหยของสีที่ติดผิวฟิล์มจะระเหย ออกมากกว่าเครื่องพิมพ์ปกติ ( มีทินเนอร์ หรือตัวทำละลายสีตกค้างมากจะทำให้เคลือบเกาะติดไม่ดี) รวมทั้งกลิ่นสีที่ตกค้างน้อย เพราะมี PRINT UNIT 9  ให้มีการอบแห้งในตู้อบที่มีขนาดใหญ่กว่า ชุดอบ 1-8 ที่มีการร้อยฟิล์มขึ้นไปบนเครื่อง และเพิ่มระยะทางให้ฟิล์มยาวมากขึ้น การแห้งของสีและทินเนอร์จะแห้งมากขึ้น****
สำหรับงานดรายลามิเนท  อาจจะมีหลายๆความคิดที่หาสาเหตุที่ว่า ทำไมการเกาะติดบางครั้งเกาะติดดีมาก แต่ทำไมบางครั้งการเกาะติดไม่ดี เหตุผลนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เป็นสาเหตุเริ่มต้น ที่ทุกๆโรงงาน มีการมองข้ามไปและชอบบอกว่า “ไม่เกี่ยวกัน”แต่ก็หาคำตอบไม่ได้สักที ( หาไปจนเกษียนก็ตอบไม่ได้ ) เกิดการสงสัย ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด การตรวจเช็คปริมาณกาวก็ได้ค่าปกติดี แต่การเกาะติดไม่ดีหรือเป็นฟองอากาศเม็ดเล็กๆอีกด้วย หาสาเหตุแต่ที่เครื่องดายลามิเนท ก็หาสาเหตุทั้งหมดแล้วก็ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง ก็ไปโทษว่าเป็นที่สี ,โทษว่าเป็นที่กาว ,โทษว่าเป็นที่บล็อคกาว…?
***ในบทความมีหลายๆระดับความรู้ เลือกหาอ่านเนื้อหาที่อ่านแล้วมีความเข้าใจ ตามพื้นฐานความรู้เรื่องพิมพ์กราเวียร์ ของแต่ละบุคคลครับ ถ้าบางเรื่อง อ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านผ่านๆไปก่อน แล้วลองกลับมาอ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจ เพราะว่ามีรายละเอียดมากทุกขั้นตอนอาจจะเขียนได้ไม่ครอบคลุมทุกเรื่องได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ปัญหาต่างๆเกิดจาก เครื่องจักร , คน ,วิธีการทำงาน ,วัตถุดิบ ถ้าแยกออกเป็นเรื่องย่อยๆแล้วจะใช้เวลาเขียนนาน ควรอ่านเฉพาะที่มีเข้าใจและที่ต้องการอ่านก่อน เพื่อนำไปใช้ทำความเข้าใจแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน อาจจะตรงประเด็นกันบ้าง ไม่ตรงประเด็นกันบ้าง คิดเสียว่ายังมีเรื่องราวเรื่อง พิมพ์ระบบกราเวียร์ ให้อ่านบ้างก็ดีนะครับผม
***อ่านบทความก็จะทราบดีว่ามีประสบการณ์จริง เขียนบทความจากประสบการณ์จริง ภาษาที่ใช้เขียนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในการปฎิบัติงานในโรงงาน ถ้าผู้อ่านไม่ได้มาจากสายปฎิบัติหรือยังไม่มีประสบการณ์ ในการทำงานในสายงานนี้ อาจจะอ่านบทความแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบ้างพอสมควร
*** มีความต้องการสอบถามเรื่องเครื่องจักร ชนิดที่ต้องการทำงานทุกขั้นตอนการผลิต สอบถามได้นะครับ เราอาจจะสามารถแนะนำบริษัท ที่ขายเครื่องจักรให้ได้ เป็นบริษัทนำเข้าจากประเทศจีน ที่ให้ความสำคัญ ความคิดเห็นของลูกค้า รับฟังความต้องการของลูกค้า และให้คำแนะนำเครื่องจักรที่ตรงกับชนิดสินค้าที่การผลิตสินค้า, มีบริการหลังการขายที่ดี , มีราคาที่เหมาะสม, สเปคเครื่องที่เหมาะสม คุณสมบัติของเครื่องจักรไม่มากเกินความจำเป็นหรือน้อยเกินไปทำให้ทำงานดีๆได้ยาก , มีเครื่องจักร หลากหลายสเปคตามแบบงานที่ทำง่ายๆตั้งแต่ แบบงาน OTOP จนถึงงานที่ต้องการทำสเปคสูง จนถึงงานส่งออกต่างประเทศ เปรียบเทียบราคาและประสิทธิภาพ กับเครื่องจักรจาก ประเทศญี่ปุ่นหรือเครื่องยุโรปที่มีราคาที่สูง เครื่องจักรประเภทเดียวกันได้ในราคาที่ถูกกว่า ***ราคาเครื่องจักรเป็นส่วนสำคัญในการคิดราคาขายสินค้า***
****ไม่ขอแนะนำเครื่องจักรมือสอง สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ เพราะต้องใช้ประสบการณ์มาก และต้องมีการใช้เทคนิคการผลิตสูง ต้องมีความเข้าใจเบื้องต้น เรื่องการซ่อมแซมบำรุงรักษาด้วยตนเองในระดับหนึ่งเพราะเครื่องจักรจะมีการเสียบ่อย ถ้าจ้างช่างเข้ามาซ่อมจะเสียเวลารอ ค่าใช้จ่ายสูง และข้อจำกัดของเครื่องจักรในด้านการพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การคาดหวังเริ่มต้นจะคาดหวังเพียงเล็กน้อย ผลิตงานง่ายๆ ตามความเข้าใจของตนเองหรือเห็นการทำงานของคนอื่นที่มีประสบการณ์ แต่จริงๆแล้วไม่ง่ายเลย ให้ทดลองสอบถามคนที่ใช้งานเครื่องมือสองผลิตงานกว่าที่จะได้ผลิตงานได้ระดับที่ขายให้ลูกค้าได้ เขาใช้เวลานานเท่าไร ใช้เงินลงทุนไปเท่าไร ใช้เวลานานเท่าไร คงไม่มีใครตอบว่าใช้งานได้ในเดือนแรกที่เริ่มทำงาน อาจจะใช้เวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี หาข้อมูลเปรียบเทียบให้ครบถ้วนทุกๆด้านก่อนการตัดสินใจนะครับ***
บทความ
****งานดรายลามิเนทถ้ามองผ่านๆเหมือนเป็นงานง่ายๆไม่ยากเหมือนงานเครื่องพิมพ์ แต่ควรคำนึงถึงว่า การดรายลามิเนทเป็นงานโค้ดกาวลงบนผิวฟิล์มเป็นงาน ที่ไม่มีสีที่ทำให้มองเห็นด้วยสายตาเปล่า ได้ในทันทีที่เดินงานออกมา แต่จะทราบผลเมื่อทิ้งไว้ให้กาวแห้งอาจจะใช้เวลา 12-24 ( ชั่วโมงตามสเปคกาว) ก็จะทราบว่างานที่ออกมาใช้ได้หรือไม่ได้หรือได้ตรงตามคุณภาพที่ต้องการหรือไม่ แต่เมื่อหลังจากที่ทิ้งงานไว้ 12-24 ชั่วโมงเพื่อให้กาวแห้งแล้วจะทราบผลของ งานที่ออกมาอาจจะได้ดีทั้งหมดหรือเสียทั้งหมดเพราะเมื่อกาวแห้ง แข้งตัวติดชิ้นงานแล้วจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก เป็นของเสียไม่สามารถใช้งานได้thanit
***ในบทความมีหลายๆระดับความรู้ เลือกหาอ่านเนื้อหาที่อ่านแล้วมีความเข้าใจ ตามพื้นฐานความรู้เรื่องพิมพ์กราเวียร์ ของแต่ละบุคคลครับ ถ้าบางเรื่อง อ่านแล้วไม่เข้าใจก็อ่านผ่านๆไปก่อน แล้วลองกลับมาอ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจ เพราะว่ามีรายละเอียดมากทุกขั้นตอนอาจจะเขียนได้ไม่ครอบคลุมทุกเรื่องได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ปัญหาต่างๆเกิดจาก เครื่องจักร , คน ,วิธีการทำงาน ,วัตถุดิบ ถ้าแยกออกเป็นเรื่องย่อยๆแล้วจะใช้เวลาเขียนนาน ควรอ่านเฉพาะที่มีเข้าใจและที่ต้องการอ่านก่อน เพื่อนำไปใช้ทำความเข้าใจแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน อาจจะตรงประเด็นกันบ้าง ไม่ตรงประเด็นกันบ้าง คิดเสียว่ายังมีเรื่องราวเรื่อง ของการทำงานพิมพ์ระบบกราเวียร์ ให้อ่านบ้างก็ดีนะครับผม
***ในหัวข้อบทความของทุกขั้นตอนการผลิต แต่ละบทความมี เรื่องปัญหาต่างๆที่พบในการพิมพ์ระบบกราเวียร์ และในขบวนการผลิต ได้มีการตอบวีธีการแก้ไขหลายๆปัญหาที่พบในการพิมพ์ ระบบกราเวียร์ โปรดอ่านเผื่อว่าจะตรงกับ ปัญหาที่ท่านกำลังหาคำตอบอยู่ ถ้าเปิดผ่านๆไปไม่ได้ความรู้ ขอแนะนำว่า ควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง “การเลือกเครื่องจักรให้ถูกต้องกับชนิดของงาน เป็นสิ่งสำคัญ”  เพราะว่าเครื่องจักรมีหลายแบบ แม้รูปร่างเครื่องจักรจะเหมือนๆกัน แต่เครื่องจักรแต่ละแบบ ถูกออกแบบมาให้ทำงานตรง และเหมาะสม กับชนิดของสินค้า จะทำงานได้ดีตรงกับสินค้าที่ต้องการผลิต ส่วนสินค้าที่มีความแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ต้องการซื้อ ต้องให้ข้อมูลผู้ผลิตหรือผู้ขายเครื่องจักรเพื่อให้ตรงกับสินค้า… เครื่องจักรที่ถูกออกแบบมาทั่วๆไป จะผลิตสินค้าได้คุณภาพได้ไม่ดีเท่ากับเครื่องจักร ที่ออกแบบมาตรงชนิดกันกับความต้องการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ (เพราะสินค้ามีรูปแบบและคุณสมบัติที่หลากหลายชนิดแตกต่างกันมาก)
***การที่จะทราบว่างานมีปัญหาหรือไม่ เริ่มต้นตั้งแต่ ขั้นตอนแรก ตั้งแต่ข้อมูลงานที่ถูกต้องจากลูกค้า เมื่อทำแล้ว  งานมีปัญหา nc – complen- reject  ต้องร่วมประชุมกันทั้งหมดทุกฝ่าย เพื่อหาสาเหตุ ,การแก้ไข ,การป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ถ้าได้รับคำตอบที่ได้ไม่มีข้อสรุป ดังนี้  คือโทษแต่คนอื่น โทษกันไป มา วนเป็นวงกลม ไม่สิ้นสุดและหาผลสรุปไม่ได้ คือ****

  • ช่างดราย….. โทษว่าเป็นที่ กาวไม่ดี ,เครื่องจักรไม่ดี,แม่พิมพ์(บล็อค)ไม่ดี, ฟิล์มที่ใช้ไม่ดี , ลูกน้องไม่ดี ,งานเร่ง ด่วน
  • ร้านทำแม่พิมพ์(บล็อค) …..โทษว่าเป็นที่ กาวไม่ดี, ช่างดรายไม่เก่ง ,เครื่องดรายไม่ดี , สเปคงานยาก ,ลูกค้าไม่บอกข้อมูล, QC สเปคสูง
  • ร้านขายกาว….โทษว่าเป็นที่  แม่พิมพ์( บล็อค )ไม่ดี, ช่างดรายไม่เก่ง,เครื่องจักรไม่ดี, ผสมกาวผิดสูตร
  • ฝ่ายขาย ( เซลล์ )….. โทษว่าเป็นที่ ลูกค้าเรื่องมาก,ช่างดรายไม่เก่ง,กาวไม่ดี , สเปคงานยาก , QC ตรวจสอบอย่างไรปล่อยงานไม่ได้คุณภาพออกไปให้ลูกค้า

สรุป ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย (เพราะไม่มีการสรุปผลได้) ถ้าผลเป็นแบบนี้แสดงว่ากำลังเกิดปัญหาที่แก้ไม่จบ ( จากประสบการณ์ น่าจะเป็นปัญหานี้เหมือนๆกันทุกโรงงาน ) คนที่รับผลกระทบที่มากที่สุดคือ “ลูกค้า” ต่อมาก็คือลูกค้าก็จะหายไป จะเขียนอธิบาย ขยายความในครั้งต่อไปครับ
***ในแต่ละหัวข้อด้านกลางๆบทความ จนถึงจบจะมีแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคร่าวๆเพื่อเป็นข้อควรระวัง ขอแนะนำเข้าไปอ่านครับ***

  • เครื่องดรายลามิเนทควรเป็นเครื่องระบบใด   ชนิดที่ใช้กับกาวชนิดที่ไม่ใช้ ตัวทำละลายชนิด EA ( solvent free,solvent less) หรือ ใช้ชนิดกาวที่ต้องใช้ตัวทำละลายชนิด EA ( SOLVENT BASE) , ต้องการความแข็งแรงของงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทานได้ขนาดใด , ต้องการสินค้าที่ไม่มีกลิ่นทินเนอร์ตกค้างเหลือในสินค้า เพราะต้องควบคุมปริมาณกาวว่าต้องโค็ดกาวให้ติดที่ผิวฟิล์ม ว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไร งานที่ต่างชนิดกันต้องมีการใช้ชนิดกาวและปริมาณกาวที่ใช้จะมีปริมาณที่แตกต่างกันด้วย
  • การผลิตทุกขั้นตอนจนกระทั่งถึงลูกค้า มีผลกระทบกันทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่รับงานจากลูกค้ามาจนถึง ลูกค้ารับสินค้าด้วยความพึงพอใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด***

*** ปัจจุบันการซื้อ -ขายเครื่องจักร ที่ผู้ขายเครื่องจักรมีความต้องการแต่เพียงต้องการขายเครื่องจักรอย่างเดียว มีการนำเสนอ ในการแนะนำสิ่งแรกที่ให้เกิดความจูงใจกับผู้ซื้อคือราคาที่ถูก มีการลดราคาได้มากจากการต่อรองของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะมีความภูมิใจว่าได้ซื้อเครื่องจักรที่มีราคาถูก (ถูกกว่าที่ผู้ซื้ออื่นที่ได้ซื้อไปก่อนหน้า) เป็นการเริ่มต้นที่ให้ผู้ซื้อให้ความสนใจมากที่สุด หรือเพิ่มเติม วิธีการใช้งานเครื่องจักร ,การควบคุมเครื่องจักร แค่เพียงเท่านั้นไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ เพราะผู้ซื้อเครื่องจักรอาจจะไม่มีความเข้าใจ ว่าลักษณะงานที่ผู้ซื้อเครื่องจักรมีความต้องการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆได้เลือกเครื่องจักร ตรงตามความต้องการหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดซื้อเครื่องจักรที่ไม่สามารถผลิตงานได้ตรงความต้องการ จะเกิดความเสียหายสูงมากเมื่อซื้อเครื่องจักรมาจอด เพราะเครื่องจักรที่ซื้อมาไม่ตรงกับการผลิตสินค้าที่ต้องการผู้ขายเครื่องควรให้คำแนะนำผู้ซื้อว่าลูกค้าต้องการผลิตสินค้าชนิดใด เครื่องจักรที่เหมาะสม คือเครื่องจักรต้องมีลักษณะอย่างไร ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับชนิดงานนั้นๆ การป้องกันงานสูญเสียที่มีผลกับต้นทุนการผลิต และแนะนำขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันผู้ซื้อเครื่องจักร จะคำนึงถึงราคาเครื่องจักรที่มีราคาถูกเป็นลำดับแรก จุดนี้เองเป็นจุดที่ผู้ขายใช้เป็นสิ่งจูงใจลำดับแรกแต่เมื่อซื้อเครื่องจักรแล้วไม่ตรงกับความต้องการผลิตหรือผลิตได้คุณภาพไม่ดี มีการสูญเสียสูง ผู้ขายเครื่องจักรไม่เข้ามาเยี่ยมเยียน ร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาร่วมกันให้กับผู้ซื้อได้รับความพึงพอใจในการใช้งานเครื่องจักรได้ตรงตามความต้องการ ปล่อยให้ผู้ซื้อเครื่องจักรรับปัญหาในการที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เรื่องนี้มีความสำคัญที่ผู้ซื้อควรคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ( ผู้ขายเครื่องจักรประเภทที่เมื่อมีปัญหาในการผลิตงานก็เพียงให้คำพูดการยืนยันอย่างเดียวว่าเครื่องจักรที่ตนเองขายนั้นดี ที่สุดในโลกโทษแต่ว่าคนทำงาน operator )ไม่ดี ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องจักร ควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ ***
คือเครื่องโค้ดกาวลงบนผิวฟิล์มพลาสติกเพื่อประกบให้ฟิล์มพลาสติก 2 ชิ้นมาประกบติดกัน เช่น Nylon ประกบกับ LLD.PE

  • ส่วนโค้ดกาวประกบด้วยบล็อคกาว,ความลึกของสกรีนกาว,ลูกยางกดทับบล็อค,ถาดกาว,ใบมีดปาดกาว
  • ส่วนตู้อบกาวในเครื่องจักรหลังการโค้ดกาวเพื่อให้แห้งหมาด ก่อนการประกบ
  • ส่วนลูกยางรีดทับระหว่างชิ้นงานโค็ดกาวและชิ้นงานประกบ
  • ส่วนการรีดประกบกันระหว่างชิ้นงานที่ผ่านการโค้ดกาวและฟิล์มที่จะประกบ
  • ส่วนการปล่อยม้วน ม้วนเข้าเครื่องส่วนหน้า เข้าส่วนโค้ดกาว
  • ส่วนการปล่อยม้วน เข้าส่วนการรีดประกบฟิล์ม
  • ส่วนการเก็บม้วน หลังการรีดประกบฟิล์มthanit
– ส่วนสำคัญในเครื่องจักรนี้คือ

การทำงานของเครื่องจักรดรายลามิเนท[/b]
      นำม้วนฟิล์มพลาสติกที่ไม่พิมพ์สีหรือพิมพ์สี ขึ้นเครื่องในส่วนชุดปล่อยม้วนด้านหน้าก่อนการ โค้ดกาว ปล่อยม้วนเข้าในส่วนการโค้ดกาว ผ่านเข้าไปในส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนตู้อบ, ผ่านเข้าส่วนรีดประกบชิ้นงาน สุดท้ายเข้าเก็บม้วนงานในส่วนของการเก็บม้วนหลังประกบ
-ข้อควรระวังในการทำงาน
….   ชนิดของกาวและอัตราส่วนในการผสมกาวต้องให้ถูกต้องตาม อัตราส่วน ของแต่ละชนิดกาวและชนิดของงานที่ต้องการ
….   สกรีนแม่พิมพ์ต้องมีความลึก ความกว้าง ที่เหมาะสมกับความต้องการปริมาณกาวที่ต้องการโค้ดลงบนผิวฟิล์ม
….  ถาดกาวต้องมีความลึก ความกว้าง ในปริมาตร ที่เหมาะสมให้กาวหมุนเวียนได้ดี
….  ปั๊มกาว ต้องมีแรงดันที่เหมาะสมเพื่อกาวได้หมุนเวียน ขึ้นบนถาดกาวได้ดี
….  อุณหภูมิในตู้อบต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อกาวจะได้แห้งหมาด และฟิล์มที่อบไม่ ยืด-หด
….  ชุดประกบหรือรีดฟิล์ม สองชิ้นให้ประกบติดกัน ลูกยางต้องมีความแข็งที่ถูกต้องตามชนิดฟิล์ม
…..  ถ้าความแข็งของลูกยางไม่ถูกต้องจะมีปัญหา งานจะยับ,หรือกาวจะถูกรีดไม่เต็มพื้นที่ ของฟิล์ม
….  ชุดปล่อยม้วนฟิล์มประกบ ต้องมีแรงดึงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันฟิล์มยับ, เป็นฟองอากาศ
…. ชุดเก็บม้วนหลังการประกบ ต้องเก็บไม่ให้แน่นเกินหรือหย่อนเกิน เมื่อม้วนออกไปเก็บและกาวแห้งจะพบ ปัญหาการยับและฟองอากาศ    หรือเป็นคลื่น

  • การล้างทำความสะอาดบล็อคกาวและถาดกาว มีความสำคัญมาก ควรล้างให้สะอาดหลังเลิกงาน
  • ไม่มีแปรงใดๆมีขนาดเล็กมาก ที่จะสามารถทำความสะอาดได้ลึกจนสุดปลายหลุมสกรีน ทำให้ทำความสะอาดกาวหลังการใช้งานไม่            หมดจากบล็อค ทำให้ปริมาณกาวโค้ดติดผิวฟิล์มไม่ได้ตามมาตรฐาน และทำให้  กาวเป็นเส้น **
  • มีกาวตกค้างที่ส่วนที่ลึกสุดของปลายหลุมสกรีนควรทำความสะอาดด้วยวิธีไหน ที่จะทำให้บล็อคสะอาดได้ดี
  • การที่เครื่องจักรมีความยาวในส่วนอบกาว ( DRY OVEN ) มีความยาวดีกว่าหรือช่วงสั้นๆดีกว่า มีผลอย่างไรกับคุณภาพ
ปัญหาที่พบ
   1. ขิ้นงานเป็นฟองอากาศจุดเล็กๆละเอียด  ……เกิดจากปริมาณกาวที่โค้ดบนผิวฟิล์มน้อยเกินไป ( กาวบางและอาจจะเป็นชนิดของสีพื้นจากงานพิมพ์ไม่ตรงชนิดกันกับชนิดของกาว ) ..ชนิดของสีไม่เหมาะสมกับชนิดของกาว…สีบางสีไม่เข้ากันกับชนิดกาว อาจจะทำให้เป็นฟองอากาศเล็กๆในบางสี…..สกรีนแม่พิมพ์(บล็อค)ตื้น ปริมาณกาวติดผิวฟิล์มน้อยเกินไป..ผสมกาวบางเกิน ใส่ EA มาก
 2. ชิ้นงานเป็นรอยยับริมด้านหนึ่ง เป็นแนวยาวไปยังริมอีกด้านหนึ่ง ( เป็นแนวตรง )……..เกิดจากการที่ต้วควบคุมความตึง-หย่อน ของ ฟิล์ม ของชุดปล่อยม้วนทั้งหมด (ปล่อยม้วนฟิล์มจากงานพิมพ์,ม้วนฟิล์มที่จะมาประกบเช่น ม้วน พี .อี. ) ตั้งค่าแรงดึงไม่เหมาะสมกัน
3. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักให้กาวแห้งแล้วกาวแข็งติดริมม้วน……….เกิดจากมีกาว  ส่วนเกินจากสกรีนแม่พิมพ์หรือลูกยางที่กดทับ เกินออก ไปเลยจากแผ่นฟิล์ม
 4. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักไว้แล้ว ม้วนไหล.( แกนกลางแหลมยื่นออกมา )……….เกิดจากการเก็บม้วนควบคุมความตึง-หย่อนไม่ดี หรือมีการปรับระหว่างการเดินงาน และปริมาณกาวที่โค้ดติดผิวฟิล์มมากเกินกว่ามาตรฐาน(ทำให้ไม่แห้งหมาดจะลื่น ไม่มีความฝืดในเนื้อกาวกับฟิล์ม
 5. ม้วนงานหลังจากการเก็บพักแล้ว ชิ้นงานไม่แห้ง (กาวไม่แห้ง )……….เกิดจาก อัตราส่วนผสมกาวไม่ถูกต้อง หรือใช้นิดกาวไม่ถูกต้องตรงกับชนิดฟิล์มโดยเฉพาะกาวที่มีส่วนผสม HARDENER หรือ การผสมใส่ HARDENER ไม่ตรงตามสูตรหรือลืมใส่
6. งานที่ผลิตส่งลูกค้าแล้วเกินหนึ่งเดือนชิ้นงานลอก หรืองานที่ส่งไปต่างประเทศแล้วชิ้นงานลอกระหว่างขนส่งหรือลอกที่ต่างประเทศ……….เกิดจากการที่ใช้ชนิดกาวที่มี คุณสมบัติไม่ถูกต้อง กับอายุการใช้งานของสินค้าและชนิดของสินค้าที่บรรจุ..ปริมาณกาวติดบนผิวฟิล์มน้อยเกินไป
7. งานที่เคลือบออกมาแล้ว ครบเวลากาวแห้งแล้วนำไปสลิทม้วนสำเร็จรูปส่งสินค้าให้ลูกค้า พบว่าลูกค้าตรวจสอบว่ามีกลิ่นกาวและทินเนอร์ตกค้างอยู่ในชิ้นงาน…..เกิดจากการแห้งของกาวไม่ดีหรือระหว่างการดรายลามิเนท เครื่องจักร มีการระบายอากาศในตู้อบไม่ดี     
งานแต่ละชนิดโค้ดกาวติดผิวฟิล์มไม่เท่ากัน ( ตามชนิดของสินค้าที่บรรจุเช่นสินค้าแห้ง,สินค้าเป็นน้ำ,สินค้าเป็นกรด-ด่่าง ) อยู่ที่ชนิดงานมีความต้องการปริมาณกาวที่โค้ดลงบนผิวฟิล์มไม่เท่ากัน เช่น…2.0 กรัม/ตารางเมตร,  2.5กรัม/ตารางเมตร,  3.0กรัม/ ตรางเมตร.,  3.5กรัม/ ตารางเมตร,  4กรัม/ ตารางเมตร.,  4.5กรัม/ตารางเมตร การตัดชิ้นงาน วัดค่าน้ำหนักกาวควรอ่านคู่มือของกาวชนิดนั้นๆว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไรและวิธีการตรวจเช็คในขณะที่กาวยังไม่แห้งหรือต้องวัดในสถานะที่กาวแห้งแล้ว (ใช้ตู้อบ อบชิ้นงาน) ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดความผิดพลาดในการหาค่าน้ำหนักกาวที่ติดบนผิวฟิล์ม มีผลเสียกับคุณภาพงานเรื่องการเกาะติดของกาวthanit

  • ความสำคัญต้องทำขนาดของสกรีนแม่พิมพ์ สำหรับโค๊ตกาวที่ความถี่ของลายสกรีน และความลึกของหลุมสกรีนแตกต่างกันตามความ        ต้องการของงานที่มีความต้องการปริมาณกาว โค๊ตติดผิวฟิล์มแตกต่างกัน ไม่เช่นนั้นจะพบกับปัญหากาวขึ้นไม่ได้      ตามน้ำหนักที่ต้องการ งานที่ออกมาจะไม่มีความแข็งแรง หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะงานที่สเปคสูงๆ เช่น งานรีทอร์ท จะซึม ,รั่ว, แตก หรืองานสเปคอื่น งานจะลายเป็นฟองอากาศ
  • การทำลายสกรีนมาไม่ดีงานจะออกมาลายเป็นรอยเหมือนตาข่าย (ลายเสื่อ) งานเคลือบ อลูมิเนียม จะเห็นได้อย่างชัดเจนหลังจากที่กาว      แห้งและ..MCPP, MPET ก่อนเคลือบจะมองเห็นปัญหางานพิมพ์เช่นสีเลอะ,สีเป็นเส้น,ละอองสี จะเห็นได้ยาก แต่เมื่อเคลือบออกมาแล้ว        จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาก ทำให้งานที่สูญเสียมีมูลค่าที่สูง…..งานของแต่ละชนิดของวัตถุดิบที่นำมาเคลือบจะมีความแตกต่างชนิดของ      กาวด้วยเหมือนกันเช่น เคลือบโอพีพีกับซีพีพี จะใช้ชนิดกาวแตกต่างกันกับการ เคลือบพีอีทีกับอลูมิเนียม….
  • ความหนาของวัตถุดิบ ต้องใช้กาวให้ถูกชนิดเพราะค่
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ