ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: Luckyz0nl3 ที่ กันยายน 13, 2018, 01:33:28 am



หัวข้อ: การดำเนินการทางวินัยข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น
เริ่มหัวข้อโดย: Luckyz0nl3 ที่ กันยายน 13, 2018, 01:33:28 am
ความหมายของ คำว่า " วินัย "มี ๒ ความหมาย คือ
๑. ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนความประพฤติที่กาหนดให้ข้าราชการต้องยึดถือปฏิบัติ
๒. ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของวินัยได้ประเภทของ " วินัย "                                                                                                                                                               มี ๒ ประเภท(*มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย ข้อ ๒๒ วรรค ๓)  คือ                                            ๑. วินัยอย่างไม่ร้ายแรง         ๒. วินัยอย่างร้ายแรง  โทษทางวินัยมี ๕ สถาน (*มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัยและการดาเนินการทางวินัย ข้อ ๒๑ วรรค ๒) ได้แก่๑. วินัยอย่างไม่ร้ายแรง
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน๒. วินัยอย่างร้ายแรง
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออกฐานความผิดทางวินัย มีทั้งสิ้น ๑๘ ฐาน หรือ ๑๘ ข้อ (*มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยฯ) ได้แก่๑. ฐานไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ๒.    (๑) ฐานไม่ซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม
     - องค์ประกอบความผิด
        ๑. มีหน้าที่ราชการ
        ๒. ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่ซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม     (๒) ฐานอาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอานาจหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์
      - องค์ประกอบความผิด
        ๑. มีหน้าที่ราชการ
        ๒. อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอานาจหน้าที่ราชการของตน                                                                                                                ๓. หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น     (๓) ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ “ฐานทุจริต” เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
      - องค์ประกอบความผิด
        ๑. มีหน้าที่ราชการ
        ๒. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
        ๓. เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
        ๔. มีเจตนาทุจริต๓. ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
    - องค์ประกอบความผิด
      ๑. มีหน้าที่ราชการ
      ๒. ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการ๔. (๑) ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ/ไม่เอาใจใส่/ไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของราชการ/ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ                                                                                                                                                                                             - องค์ประกอบความผิด                                                                                                                                                                  ๑. มีหน้าที่ราชการ                                                                                                                                                                    ๒. ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่มีความอุตสาหะ/ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่เอาใจใส่/ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของราชการ/ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ    (๒) ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง    เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
        - องค์ประกอบความผิด
             ๑. มีหน้าที่ราชการ
             ๒. ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
             ๓. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง๕. ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายระเบียบของทางราชการ มติ ค.ร.ม. และนโยบายของรัฐบาล
     - องค์ประกอบความผิด
       ๑. มีหน้าที่ราชการ
       ๒. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายระเบียบของทางราชการ มติ ค.ร.ม.หรือนโยบายของรัฐบาล และเกิดความเสียหายแก่ราชการ     ฐานจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติค.ร.ม. หรือนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
     - องค์ประกอบความผิด
       ๑. มีหน้าที่ราชการ
       ๒. จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการมติ ค.ร.ม.หรือนโยบายของรัฐบาล
       ๓. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง๖. ฐานไม่สนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ และไม่ปูองกันภยันตรายนั้นจนเต็มความสามารถ
    - องค์ประกอบความผิด
      ๑. ไม่สนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตราย และ
      ๒. ไม่ปูองกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ๗. (๑)ฐานไม่รักษาความลับของทางราชการ
    - องค์ประกอบความผิด
      ๑. มีความลับของทางราชการ
      ๒. นำความลับของทางราชการไปเปิดเผย     (๒)ฐานเปิดเผยความลับของทางราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
    - องค์ประกอบความผิด
      ๑. มีความลับของทางราชการ
      ๒. นำความลับของทางราชการไปเปิดเผย
      ๓. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง๘. (๑)ฐานขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
     - องค์ประกอบความผิด
       ๑. มีคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
       ๒. เป็นการสั่งในหน้าที่ราชการ
       ๓. เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
       ๔. มีเจตนาขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามคาสั่งดังกล่าว
             - แต่หากเห็นว่าการปฏิบัติจะทำให้เสียหาย หรือไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีให้ทบทวนก็ได้ ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันตามคำสั่งเดิมต้องปฏิบัติตาม (ไม่ผิดวินัยฐานนี้/เป็นเหตุลดหย่อนโทษได้)     (๒) ฐานขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
     - องค์ประกอบความผิด
       ๑. มีคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
       ๒. เป็นการสั่งในหน้าที่ราชการ
       ๓. เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
       ๔. มีเจตนาขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
       ๕. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง๙. ฐานกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
    - องค์ประกอบความผิด
      ๑. มีการปฏิบัติราชการ
      ๒. การปฏิบัติราชการนั้นเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
   - เว้นแต่
     ๑. ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือ
     ๒. ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว๑๐. (๑)ฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
       - องค์ประกอบความผิด
          ๑. ต้องมีการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
          ๒. การรายงานนั้นมีข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะปกปิดข้อความจริงซึ่งควรต้องแจ้งด้วย      (๒)ฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
       - องค์ประกอบความผิด
         ๑. ต้องมีการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
         ๒. การรายงานนั้นมีข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะปกปิดข้อความจริงซึ่งควรต้องแจ้งด้วย
         ๓. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง๑๑. ฐานไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
      - องค์ประกอบความผิด                                                                                                                                                                  ๑. มีระเบียบและแบบธรรมเนียมของทาราชการ                                                                                                                                ๒. ไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการนั้น๑๒. (๑)ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ
      - องค์ประกอบความผิด
        ๑. มีหน้าที่ราชการ
        ๒. มีการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการนั้น      (๒)ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ตั้งแต่ครึ่งวันขึ้นไป)
      - องค์ประกอบความผิด
        ๑. มีหน้าที่ราชการ
        ๒. ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
        ๓. เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง       (๓)ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
        - องค์ประกอบความผิด
         ๑. ละทิ้งหน้าที่ราชการ
         ๒. ติดต่อกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน
         ๓. โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ๑๓. ฐานไม่สุภาพเรียบร้อย/ ฐานไม่รักษาความสามัคคี /ฐานไม่ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ                                                             
      -องค์ประกอบความผิด
       ๑.ไม่สุภาพเรียบร้อยระหว่างข้าราชการและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ                                                                                                           ๒.ไม่รักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
       ๓. กลั่นแกล้งกัน
       ๔. ไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติราชการ๑๔. (๑)ฐานไม่ต้อนรับ/ฐานไม่ให้ความสะดวก/ฐานไม่ให้ความเป็นธรรม/ฐานไม่ให้การสงเคราะห์ฐานดูหมิ่น/เหยียดหยาม/กดขี่/ข่มเหง...ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ                                                                                                                                                  - องค์ประกอบความผิด                                                                                                                                                                  ๑. ไม่ต้อนรับ ไม่ให้ความสะดวก ไม่ให้ความเป็นธรรม ไม่ให้การสงเคราะห์ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหง                                            ๒. กระทาต่อประชาชนผู้มาติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน       (๒)ฐานดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
        - องค์ประกอบความผิด
          ๑. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงอย่างร้ายแรง
          ๒. เป็นการกระทำต่อประชาชนผู้มามาติดต่อราชการ
          ๓. กระทำโดยมีเจตนา (กระทำโดยรู้สานึกในการกระทำ)๑๕. ฐานกระทาการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทาการหาผลประโยชน์อันอาจทาให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตน๑๖. ฐานเป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตาแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท๑๗. ฐานวางตนไม่เป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนกับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย๑๘. (๑)ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทาการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว (ประพฤติชั่วไม่ร้ายแรง ประพฤติตนไม่สมควร)
- แนวทางพิจารณาความผิดฐานประพฤติชั่วทั้งอย่างร้ายแรง และอย่างไม่ร้ายแรง ดังนี้
   ๑. เกียรติของข้าราชการ
   ๒. ความรู้สึกของสังคม
   ๓. เจตนาในการกระทำ (มีจิตสำนึกในการกระทา)      (๒)ฐานกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนัก
กว่าจำคุก (เว้นประมาท/ลหุโทษ) หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
     - เรียงฐานความผิด เป็นดังนี้
      ๑. ฐานกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก
      ๒. กระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงพรุ่งนี้เราจะมานำเสนอ ตัวอย่างในการกระทำความผิดทางวินัยและแนวทางการลงโทษทางวินัยกันต่อนะคะ                                                                                                                                                                 ๑โดย ทนายความเชียงใหม่
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ