ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: penpaka2tory ที่ กันยายน 13, 2018, 05:37:34 am



หัวข้อ: เมื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: penpaka2tory ที่ กันยายน 13, 2018, 05:37:34 am
เมื่อ " ให้ " ไปแล้ว จะเรียกคืนทรัพย์สินที่ให้ไปได้หรือไม่ อย่างไร
การถอนคืนการให้โดยเสน่หาโดยหลักแล้วเมื่อให้อะไรใครไปแล้วย่อมจะเอาคืนไม่ได้ แต่กฎหมายอนุญาตให้ถอนคืนการให้ได้ ในเหตุ " เนรคุณ "          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 บัญญัติว่า " อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้            (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ           (2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือได้หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ           (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ หรือกรณีตาม * (1) " การประทุษร้าย " ต้องไม่เป็นเหตุให้ผู้ให้ถึงแก่ความตาย เพราะถ้าผู้ให้ถึงแก่ความตายไปแล้วย่อมไม่สามารถถอนคืนการให้ตามมาตรานี้ได้       กรณีตาม (2)  " ทำให้เสียชื่อเสียง/หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง " ตัวอย่าง เช่น ผู้รับการให้ด่าผู้ให้ว่า " อีแก่ไม่ยุติธรรม มึงทำให้ครอบครัวกูแตกแยก กูจะไม่อยู๋กับมึงแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นผู้ให้ซึ่งเป็นอา ทำให้ผู้ให้อับอายเสื่อมเสียชื่อเสียงและเป้นการหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง ผู้ให้ย่อมมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ "(คำพิพากษาฎีกาที่ 1078/2553) กรณีตาม (3) จะเป็นเนรคุณได้ ต้อง          3.1 ผู้ให้มีความจำเป็นเพราะขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต          3.2 ผู้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้รับ          3.3 ผู้รับอยู่ในฐานะที่จะให้ได้โดยไม่เดือดร้อน           3.4 ผู้รับ " ปฏิเสธ " ที่จะให้         ตัวอย่างเช่น แม้ผู้ให้จะชรามากแล้ว แต่ก็ยังมีบุตรหลายคนช่วยอุปการะ ส่วนผู้รับเองก็รายได้น้อยและต้องไปทำงานต่างจังหวัด การที่ผู้รับมิได้อยู่เลี้ยงดูผู้ให้ ยังไม่ถือว่าผู้รับประพฤติเนรคุณ(คำพิพากษาฎีกาที่ 3562/2535)          โดยปกติแล้ว สิทธิในการถอนคืนการให้เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ให้ หากผู้ให้มีสิทธิถอนคืนการให้แล้วแต่ถึงแก่ความตายไปก่อน โดยหลักแล้วสิทธิในการถอนคืนการให้ย่อมตายตกไปตามตัวผู้ให้ สิทธิในการถอนคืนการให้จะไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท เว้นแต่       (ก) ผู้รับการให้ได้ฆ่าผู้ให้โดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย       (ข) ผู้รับการให้ได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้ในระหว่างที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่       (ค) ผู้ให้ฟ้องคดีไว้แล้ว ต่อมาถึงแก่ความตาย*** เหตุที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ถอนคืนการให้ ----->>> หกเดือนนับแต่ผู้ให้หรือทายาททราบว่าผู้รับประพฤติเนรคุณ หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปกฎหมายถือเป็นปริยายว่าผู้ให้ได้ให้อภัยผู้รับแล้ว  และ ------>>> สิบปีนับแต่เวลาที่ผู้รับประพฤติเนรคุณ กรณีนี้คือผู้ให้ไม่รู้ถึงการประพฤติเนรคุณของผู้รับการให้และการให้ดังต่อไปนี้ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ การให้บำเหน็จสินจ้าง, ให้ในสิ่งที่มีค่าภาระติดพัน , ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา และให้ในการสมรส ตัวอย่างเช่น การที่บิดาจดทะเบียนยกที่ดินให้บุตรเพื่อให้บุตรนำไปทำมาหากินเลี้ยงชีพนั้น มิใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เพราะบิดาไม่มีหน้าที่จะต้องทำเช่นนั้น โดย ทนายความเชียงใหม่
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ