ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

พูดคุยทั่วไป => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: normaluser ที่ พฤศจิกายน 15, 2018, 05:27:20 pm



หัวข้อ: วิธีออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรค “หัวใจ”
เริ่มหัวข้อโดย: normaluser ที่ พฤศจิกายน 15, 2018, 05:27:20 pm
วิธีออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรค “หัวใจ”

(https://s.isanook.com/he/0/rp/r/w700/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hlLzAvdWQvMi8xMzQxNy9oZWFydC1kaXNlYXNlLWV4ZXJjaXNlLmpwZw==.jpg)

ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจมีความเสี่ยงหลายอย่างในการออกกำลังกาย เพราะหัวใจที่ไม่แข็งแรงเต็มที่ 100% จึงอาจทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายในหลายๆ ประเภทได้ แต่อย่างไรก็ตามทางออกสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ดียิ่งขึ้น แพทย์ยังลงความเห็นว่ายังสมควรที่จะต้องออกกำลังกายอยู่ เพียงแต่ต้องทำอย่างถูกวิธี
ข้อดีของการออกกำลังกาย928bet
นพ.ณัฐพงศ์ วงศิวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจ สามารถลดการเกิดโรคหัวใจชนิดต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง และยังทำให้ลดอัตราการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยโรคหัวใจอีกด้วย ที่สำคัญการออกกำลังกายสามารถลดความอ้วน ลดระดับคอเลสเตอรอล เบาหวาน เพิ่มความกระฉับกระเฉง นำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ปรับปรุงรูปร่าง ช่วยให้หลับสบาย และลดภาวะเครียด
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของหัวใจ
พญ.วิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของหัวใจนั้น สามารถทำได้ตามความเหมาะสมของวัยตนเอง ตามสภาพร่างกาย และสิ่งแวดล้อมที่ดี ในความแรงที่เพียงพอต่อการกระตุ้นการพัฒนาของร่างกายและหัวใจโดยไม่เสี่ยงอันตราย โดยอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดอยู่ที่ 60-80% และทำให้เป็นกิจวัตรประจำ
 
วิธีออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนว่าเราสามารถออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง มีคำแนะนำ หรือคำเตือนอะไรก่อนการออกกำลังกายหรือไม่
ชวนคนรู้จักมาออกกำลังกายด้วย หรือออกกำลังกายภายใต้การดูแลของครูฝึก หรือเทรนเนอร์ เพราะหากมีอาการอะไรเกิดขึ้น จะได้มีคนอยู่ช่วยได้ทันท่วงที และอย่าลืมแจ้งผู้เกี่ยวข้องรอบตัวด้วยว่าคุณเป็นโรคหัวใจ
ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรวอร์มร่างกายด้วยการทำท่ากายบริหารง่ายๆ ช้าๆ สลับท่าไปเรื่อยๆ ขยับทั้งขา แขน ข้อเท้า ข้อมือ หัวไหล่ คอ เอว ราว 5-10 นาที
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นถึงระดับที่มีชีพจร 60-80% อย่างน้อย 20 นาที928bet
การยกน้ำหนัก ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เลือกน้ำหนักที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยยกดัมเบล ขวดใส่น้ำ หรือใช้อุปกรณ์ในฟิตเนสก็ได้ โดยออกกำลังทั้งในส่วนของต้นแขน ต้นขา หน้าท้อง ข้างเอว ข้างสะโพก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละคนไม่เท่ากัน ให้ลองทำเป็นเซ็ตๆ เซ็ตละ 10 ครั้ง ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น สลับเป็นส่วนๆ ไป อย่าหักโหม หากมีอาการหน้ามืด เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ ชีพจรเต้นรัวและแรงเกินไป หรือปวดกล้ามเนื้อให้หยุด แล้วหาที่นั่งพักทันที
กายบริหาร หรือโยคะ เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย การออกกำลังกายช้าๆ แบบกายบริหารช้าๆ หรือโยคะ เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างช้าๆ กล้ามเนื้อไม่ฉีกขาด หรือเกิดอาการบาดเจ็บมากเหมือนการยกน้ำหนัก แต่อาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เหมือนกันในระยะแรกๆ หากทำอย่างเป็นประจำ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจะค่อยๆ หายไป
เดินเร็ว หรือวิ่งเหยาะๆ วันละ 1-3 ชั่วโมง อย่าลืมเลือกรองเท้าที่รองรับการกระแทกได้ดีด้วย
เทนนิส ว่ายน้ำ ช่วยให้แขน และขาได้ใช้กล้ามเนื้อได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงานเพื่อสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และทำให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยดีขึ้น
รำกระบอง เป็นวิธีที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังได้ทำงานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นด้วย
หลังการออกกำลังกาย อย่าลืมคูลดาวน์ยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้ออีกครั้งด้วยการทำท่ากายบริหารช้าๆ เบาๆ 5-10 นาที928bet
 
หากมีอายุน้อยกว่า 40 ปี ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือความผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือเป็นโรคหัวใจ สามารถออกกำลังกายแบบไม่หักโหมได้ทันที แต่หากมีความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย

ที่มา Sanook
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ