หัวข้อ: ผู้เยาว์ทำนิติกรรม เกิดผลทางกฎหมาย เป็นอย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: saibennn9 ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2019, 03:08:18 pm การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว บุคคลที่อายุไม่ถึง 20 ปี จะสามารถทำสัญญาใดๆ ได้อย่างไม่เสียเปล่าต่อเมื่อบุคคลนั้นบรรลุนิติภาวะหรืออายุ 20 ปี แล้ว ซึ่งบุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่อ
ซึ่งโดยหลักแล้ว ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากทำโดยปราศจากความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมที่ทำลงไปนั้น เป็น “โมฆียะ” แต่ก็มีข้อที่เป็นทางออก ที่กำหนดให้ผู้เยาว์มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมได้เอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ
ผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ นิติกรรมบางประเภทเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครอง ไม่อาจกระทำได้ ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน (มาตรา 1574)
ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 2.กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2541 ผู้ร้องและผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาทแม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์จำเป็น จะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อคำนึงถึงฐานะและวัยของผู้เยาว์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าว หากใช้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือดร้อนแม้ที่ดินของผู้เยาว์ จะได้มาจากการยกให้ของผู้ร้องและบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ ไม่ขัดข้องที่จะขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้ว อีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการทรัพย์สินของตนเอง ได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้ผู้เยาว์ ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควร อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์มากกว่า เพราะราคาที่ดิน มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2551 ขณะทำสัญญาขายที่ดินจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้เยาว์และยังไม่บรรลุนิติภาวะ การทำนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 แม้โจทก์จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ทำสัญญาโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยตลอด ก็เป็นเพียงการเข้ายึดถือที่ดินแทนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 เท่านั้น ทั้งการที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินเมื่อบรรลุนิติภาวะและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 มิได้โต้แย้งคัดค้าน ก็หาใช่เป็นการแจ้งเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดิน หรือถือว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 สละสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ประการใดไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2558 โจทก์เป็นผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของตนแก่จำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ผู้เยาว์กระทำนิติกรรมเอง ไม่ใช่ผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำ จึงหาใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ไม่ แต่ต้องปรับตามมาตรา 21 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เยาว์จะกระทำนิติกรรมใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมนั้นจะเป็นโมฆียะ เมื่อมีการบอกล้างก็ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง สัญญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125 - 2126/2558 การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นนิติกรรมอันมีผลเกี่ยวถึงทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมดังกล่าว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาลซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี การทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ทนายเชียงใหม่ เครดิตบทความจาก : https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/ Tags : รับทำคดีความเชียงใหม่
|