ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

Sitemap SMB => สินค้าอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: mossade4T ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2019, 03:52:00 pm



หัวข้อ: วางระบบไฟฟ้าโรงงาน
เริ่มหัวข้อโดย: mossade4T ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2019, 03:52:00 pm


โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีรูปแบบการวางระบบไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่โรงงานประเภทเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางระบบไฟฟ้าที่เหมือนกัน ซึ่งการออกแบบวางระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาดังนี้

1. ขนาดของโรงงาน โดยการไฟฟ้าทั้งสามคือ กฟผ., กฟน. และ กฟภ. ได้นิยามขนาดของโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจพาณิชยกรรมตามปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ขอใช้ดังนี้
     - โรงงานขนาดเล็ก : ความต้องการพลังไฟฟ้าไม่เกิน 30 KVA.
     - โรงงานขนาดกลาง  : ความต้องการพลังไฟฟ้า สูงสุด 30-1999 KVA.
     - โรงงานขนาดใหญ่ : ความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 2 MVA.
     ขนาดของโรงงานและกำลังไฟฟ้าที่ใช้ มีผลกระทบต่อการเลือกระดับแรงดันของระบบไฟฟ้าในโรงงานซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการลงทุนในอุปกรณ์ และอัตราค่าไฟฟ้า ตลอดจนมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ ใช้ควบคุมการใช้ไฟของโรงงาน

2. อุตสาหกรรมบางประเภท มีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเคมี โรงกลั่น อุตสาหกรรม petro chem เป็นต้น คุณภาพของไฟฟ้ามีผลกระทบต่อผลผลิตของโรงงานสูง บางอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้ามีลักษณะกระชากเป็นช่วง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก โรงโม่หิน โรงงานเชื่อมเหล็ก การออกแบบระบบไฟฟ้าต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าต้นทาง และผู้ใช้ไฟใกล้ ๆ กัน

กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยชี้นำในการลงทุนเพื่อคุณภาพของระบบไฟฟ้าของโรงงานเราแบ่งประเภทของกระบวนการผลิตออกเป็น

    -  กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง continuous flow เช่น อุตสาหกรรมเคมี โรงกลั่น เป็นต้น ระบบไฟฟ้าขัดข้องอาจทำให้สินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั้งหมดเสียหาย ต้องนำไปทำลาย ค่าเสียหายจากการที่ระบบไฟฟ้าขัดข้องจึงสูง การลงทุนให้ระบบไฟฟ้าภายในโรงงานมั่นคงจึงคุ้มค่า
    -  กระบวนการผลิตแบบ batch flow เช่น โรงงานทอผ้า อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปบางประเภท โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น การขัดข้องของระบบไฟฟ้าอาจทำให้สินค้า lot นั้นคุณภาพไม่ได้มาตรฐานต้องทำลายทิ้ง หรือจำหน่ายเป็นสินค้าเกรดต่ำ หรือต้องเริ่มต้นกระบวนการผลิตของ lot นั้นใหม่ การตัดสินใจลงทุนเพื่อคุณภาพของระบบไฟฟ้าของโรงงานจึงขึ้นกับระดับความ สูญเสียที่จะเกิดจากระบบไฟฟ้าขัดข้องเฉลี่ยต่อครั้ง
    -  กระบวนการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง การหยุดการผลิตไม่ได้ทำให้สินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ใน production line เสียหาย เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ โรงโม่หิน เป็นต้น

3. ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน

อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังจะมีความต้องการคุณภาพของ power supply ในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น และลักษณะการใช้งาน เช่น อุปกรณ์ motor ไฟฟ้าใช้กับไฟ 3 phase อุตสาหกรรมเราอาจแบ่งประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้พอสังเขปดังนี้

    -  ระบบไฟแสงสว่างในโรงงาน/ สำนักงาน
    -  อุปกรณ์ระบบปรับอากาศในโรงงาน/ สำนักงาน
    -  เตาอบ เตาหลอม heater เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
    -  ตู้แช่แข็ง ห้องเย็น
    -  มอเตอร์ไฟฟ้า
    -  หม้อแปลงไฟฟ้า
    -  อุปกรณ์ electronic และ computer
    -  ระบบควบคุม และป้องกัน
    -  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

     ระบบไฟฟ้าของโรงงานจะต้องออกแบบให้เป็นต้นกำลังที่เหมาะสมและปลอดภัยเพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ในโรงงาน ซึ่งการวางระบบที่เหมาะสมจะสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้หลากหลายสนองความต้องการในกระบวนการผลิตของโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ


4. ที่ตั้งของโรงงานและแหล่งจ่ายไฟ

     โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. และ กฟน. มีความมั่นคงสูง เช่น อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น ทางการไฟฟ้าได้มีการลงทุนให้ระดับความมั่นคงของระบบส่ง- จ่ายไฟฟ้าเป็น N-1 นั้นก็คือมีแหล่งจ่ายไฟสำรองให้สามารถรองรับกรณีฉุกเฉินได้ 1 วงจรจ่ายไฟ ในกรณีเช่นนี้ ทางโรงงานสามารถลดต้นทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรองหรือ stand by source ลงได้ในระดับหนึ่ง

     โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ห่างไกลที่ระบบจำหน่ายของ กฟภ. ไปไม่ถึงหรือไปถึงแต่คุณภาพต่ำมี voltage drop มากจะ trip บ่อย ก็จะต้องประเมินระดับการลงทุนในระบบไฟฟ้าของโรงงานที่เหมาะสม หรือใช้พลังงานอื่นเป็นพลังงานป้อนกระบวนการผลิตแทน เช่น เตาเผา หม้อไอน้ำ จากเชื้อเพลิงถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น

     โรงงานขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง อาจลงทุนผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือขอให้ไฟฟ้าจากระบบส่งแรงดันสูงแทนระบบจำหน่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นจะสูงกว่าแต่ค่าพลังงานไฟฟ้าจะถูกลง ทั้งนี้การไฟฟ้าทั้งสามแห่งเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนเลือกระดับแรงดันที่ต้องการได้ แต่การลงทุนเชื่อมต่อระบบของการไฟฟ้าเป็นภาระของผู้ใช้ไฟเอง ระดับแรงดันที่อนุญาตให้ใช้คือ 69 KV, 115 KV,230 KV ที่ตั้งของโรงงานแลแนวสายส่งที่จะต่อเชื่อมกับระบบส่งของการไฟฟ้าฯ ได้ มักจะเป็นปัจจัยหลักในการเลือกระดับแรงดัน


นี่คือภาพโฆษณาที่ลงในหนังสือ The Catalogue

(http://bybrandex.com/wp-content/uploads/2019/02/1372.jpg)


บริษัท เทคนิคอล ซีสเต็ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
       ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า วางระบบไฟฟ้าโรงงาน รับเหมาระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบไฟฟ้าอาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า แรงต่ำ-แรงสูง ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า ออกแบบระบบไฟฟ้า รับทำตู้สวิตซ์บอร์ด ระบบไฟฟ้าอาคารโรงงาน ติดตั้งระบบดับเพลิง รับซ่อมหม้อแปลงไฟฟ้า งานระบบท่อ ปล่อง ท่อดับเพลิง ติดตั้งระบบปรับอากาศ


สนใจติดต่อ
207/207 หมู่ 6 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
โทรศัพท์ : +663 804 2323, +669 8926 9424, +668 9627 9144
โทรสาร : +663 804 2324
อีเมล : tse.marketing@hotmail.com
technicalsystem.brandexdirectory.com
tsecthai.com
tsec.co.th
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ