หัวข้อ: การลักกระแสไฟฟ้าเป็นความผิดหรือไม่อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: saibennn9 ที่ มิถุนายน 03, 2019, 07:21:29 pm การลักทรัพย์นั้น จะต้องมีองค์ประกอกของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยที่ผู้อ่านอาจต้องทำความเข้าใจกันสักเล็กน้อยว่า การเอาทรัพย์ไปนั้น เป็นการกระทำในลักษณะใด อย่างใดเรียกว่า เป็นการเคลื่อนที่ อย่างไรเรียกว่า เป็นทรัพย์สิน อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ทรัพย์ที่อาจเป็นทรัพย์ที่สามารถเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้นั้น จะต้องดูว่า ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองหรือไม่ หากมีแล้ว สามารถยึดถือเอาได้หรือไม่ หากยึดถือได้แล้วและมีมูลค่าในตัวเองก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ แม้ว่า ทรัพย์นั้นจะมีหรือไม่มีรูปร่างก็ตาม(ทนายเชียงใหม่) ดังนั้น ความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องเป็นทรัพย์ที่สามารถลักทรัพย์ได้ แม้จะไม่มีรูปร่างก็ตาม เมื่อได้ข้อสรุปตามทฤษฎีเช่นนี้แล้ว กลับมาที่ คำถามกันว่า การลักกระแสไฟฟ้าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้หรือไม่ คำตอบก็คือว่า เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ เพราะมีการเอาไป และมีการเคลื่อนทรัพย์สินอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งเคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกาตัดสินกรณีดังกล่าวไว้แล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย โดยความผิดฐานลักทรัพย์ ตามแบบธรรมดา หรือไม่ใช่เหตุฉกรรณ์นั้น อยู่ในมาตรา ๓๓๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ส่วนความผิดที่มีอัตราโทษสูงขึ้นอยู่ในมาตรา ๓๓๕ แห่งประมวลกฎหมาย บัญญัติว่า ผู้ใดลักทรัพย์ (1) ในเวลากลางคืน (2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ (3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ (4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ (5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ (6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน (7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป (8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ (9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ (10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ (11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง (12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นมีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้(ทนายความเชียงใ เครดิตบทความจาก : https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/ Tags : ทนายเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่
|