หัวข้อ: จงใจทิ้งร้างตามกฎหมาย อย่างไรจึงจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ เริ่มหัวข้อโดย: saibennn9 ที่ มิถุนายน 12, 2019, 05:31:53 pm บางคนได้เข้าใจว่า กรณีเช่นของตนเองเป็นการทิ้งร้าง และได้นำไปปรึกษานักกฎหมาย แต่กลับได้คำตอบว่า กรณีไม่ใช่เหตุทิ้งร้างที่จะนำมาเป็นเหตุในการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อฟ้องหย่าคู่สมรสของตนเองได้ ซึ่งปัจจุบัน การแยกทางกันมามากขึ้นทุกวัน เพราะการดำเนินชีวิตของเราในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก มีเครื่องอำนวยความสะดวก ทำให้ง่ายต่อการติดต่อ รวดเร็ว ทำให้ปัจจัยเหล่านี้ อารมณ์ของเราย่อมเปลี่ยนแปลงรวดเร็วไปด้วย แนะนอนว่า เมื่อรวดเร็วแล้วต้องมากับความใจร้อน และเป็นต้นสายปลายเหตุที่ทำให้เกิดการตัดสินใจแบบกะทันหันทำให้สูญเสียคนรักไปได้ กลับมาที่เรื่องเหตุฟ้องหย่ากันครับว่า อย่างไรเรียกว่า ทิ้งร้าง
ทิ้งร้างนั้น ตามกฎหมายแล้ว จะต้องเป็นผู้ถูกกระทำกล่าวคือ ต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำให้อยู่คนเดียวหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า โดนทิ้ง หรือเรียกภาษาวัยรุ่นว่า โดนเท นั้นเอง แบบนี้ พอจะเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วใช่หรือไม่ว่า คำว่า ทิ้งร้างตามกฎหมายแล้ว มีความหมายว่าเช่นไร ดังนั้น จึงให้พิจารณาจากคำตัดสินของศาลดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2552 โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) โดยอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปีไม่ได้ระบุถึงการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา แม้โจทก์จะอ้างข้อตกลงแยกทางตามเอกสารท้ายคำฟ้องก็ตาม แต่เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (4/2) นั้น ไม่ได้มีเพียงระยะเวลาที่แยกกันอยู่เกินสามปีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นอีก คือต้องเป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบดังกล่าวไว้ ฟ้องของโจทก์ในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุหย่าตามบทบัญญัติในมาตรา 1516 (4/2) โจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ออกจากบ้านพักของจำเลยไปเอง กรณีจึงถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยหาได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่ได้ละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ทนายความเชียงใหม่ เครดิตบทความจาก : https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/ Tags : ทนายเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่,ทนายเชียงใหม่
|