ล้อแม็ก แม็ก แม็กล้อ แม็กซ์แต่งรถ ล้อแม็กคุณภาพ รวมล้อแม็กลายใหม่ๆ

พูดคุยทั่วไป => พูดคุยทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: bob111 ที่ มิถุนายน 26, 2019, 12:44:24 pm



หัวข้อ: รู้จัก“แมงกะพรุน”มีพิษ และวิธีปฐมพยาบาล
เริ่มหัวข้อโดย: bob111 ที่ มิถุนายน 26, 2019, 12:44:24 pm
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับ “แมงกะพรุน” มีพิษ ให้ประชาชนได้ทำความรู้จักและศึกษาไว้เป็นข้อมูล จะได้จำแนกประเภทของแมงกะพรุนได้ถูกต้องก่อนเกิดอันตราย

“แมงกะพรุน” มีพิษ

แมงกะพรุน (Jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ ตัวแมงกะพรุนประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ มีระบบประสาท แต่ไม่มีสมอง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล แต่มีบางชนิดที่อยู่ในน้ำจืด มักพบในทะเลเขตร้อนหรืออบอุ่น สามารถพบได้ตั้งแต่บริเวณผิวน้ำจนถึงทะเลลึก พิษของแมงกะพรุนจะกระจายอยู่ทั่วไปในทุกส่วนของแมงกะพรุน แต่จะมีมากที่สุดบริเวณส่วนหนวด (tentacle) แมงกะพรุนที่มีพิษและเป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) และแมงกะพรุนไฟในกลุ่ม Scyphozoa และ Hydrozoa

(https://www.bpicc.com/images/2019/06/26/T18CT60ObSbLrsQ6m7Td8XmquC4xADJNZekWG1ysiMQnDrj20gCnEIT.jpg)

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่ง แมงกะพรุนไฟ หรือ ตำแยทะเล (Sea nettles) โดยทั่วไปจะมีลักษณะรูปร่างคล้ายร่ม ลำตัวประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ ล่องลอยไปตามกระแสน้ำและแรงคลื่นลม ทุกส่วนของแมงกะพรุนไฟมีเข็มพิษยกเว้นผิวร่มด้านบน เมื่อร่างกายสัมผัสกับแมงกะพรุนไฟ พิษจะเข้าสู่ผิวหนังทันที ลักษณะอาการบริเวณผิวหนังที่โดนสัมผัสจะเป็นผื่นหรือปื้นแดง ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ให้รีบล้างเมือกด้วยน้ำทะเล (ห้ามราดด้วยน้ำจืดและน้ำส้มสายชู) หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือขยี้หนวด แล้วใช้ใบผักบุ้งทะเลบดปิดบริเวณสัมผัสเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบส่งโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันเพื่อไม่ได้โดนแมงกะพรุนพิษให้หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในบริเวณและช่วงเวลาที่พบสัตว์เหล่านี้และควรเดินสำรวจว่าในบริเวณนั้นมีเสาติดตั้งป้ายการพยาบาลเบื้องต้นและเสาน้ำส้มสายชูหรือไม่ กรณีฉุกเฉินจะได้รับมือและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที

ข้อมูลเพิ่มเติม : เวกัส168 Vegus
ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ