หัวข้อ: อาการนอนกรน (SNORING) คืออะไร? เริ่มหัวข้อโดย: Cloudsupachai111 ที่ กรกฎาคม 21, 2019, 01:55:06 pm อาการนอนกรน เกิดในขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อคอจะผ่อนคลายและหย่อนตัว ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง อากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง จะทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน ลิ้นไก่ การสั่นดังกล่าวทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น นอกจากการหย่อนของกล้ามเนื้อคอ ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการแคบลงหรืออุดตันของทางเดินหายใจ เช่น ต่อมทอนซิลโต ผู้ป่วยที่อ้วนมากอาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่มาก ผู้ป่วยมีลิ้นโต การมีเนื้องอกหรือถุงน้ำของระบบทางเดินหายใจส่วนบน อาการนอนกรนจึงเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
(https://www.taladnadonline.com/image/catalog/article/ea62d66d95e9dfb95e6d28a8ec3e0543.jpg) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) คืออะไร ในขณะหลับ นอกจากเกิดอาการกรนแล้ว ยังพบว่า อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความรุนแรงของอาการอยู่ในระดับน้อย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยให้ดีขึ้น เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย งดดื่มสุราหรือรับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวในระดับปานกลางถึงมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อคอ ขากรรไกร ลิ้น หรือลิ้นไก่ เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น การใช้เครื่องเป่าลมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ [continuous positive airway pressure (CPAP) titration] ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีสุดในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องมือในช่องปากอีกด้วย ในการเลือกใช้วิธีในการรักษาใด ๆ ก็ตาม จะพิจารณาจากทั้งความรุนแรง ความเหมาะสม ความร่วมมือของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย ตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจสอบการนอนหลับ (polysomnography) เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและดูระดับความรุนแรงของโรค อาการนอนกรน จัดว่าเป็นปัญหาของการนอนหลับที่พบได้บ่อย เสียงกรน นอกจากก่อความรำคาญแก่ผู้ที่นอนด้วยแล้วยังทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายผู้ป่วยมากมาย เช่น อ่อนเพลียตอนกลางวัน ประสิทธิภาพในการคิด จดจำ ทำงานด้อยลง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หากมีอาการนอนกรนหรือสงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอน ควรรีบทำการวินิจฉับ ประเมินระดับความรุนแรงและพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ และจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น https://www.taladnadonline.com/index.php?route=content/articleview&article_id=10
|