วิธีแก้ปวดหลังที่ได้ผลที่มา :
https://www.pobpad.com/วิธีแก้ปวดหลังที่ได้ผลปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยและสร้างปัญหาให้แก่คนส่วนใหญ่ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องเคยมีประวัติการปวดหลังอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง
อาการปวดหลังมักไม่ได้มีสาเหตรุนแรงและสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป
อย่างไรก็ตาม มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยแก้ปวดหลังให้ดีขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเองหรือรักษาโดยแพทย์
[img width=600,height=401]https://res.cloudinary.com/dk0z4ums3/image/upload/v1504076116/attached_image_th/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5-pobpad.jpg[/img]
อาการปวดหลังมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?อาการปวดหลังแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ อาการปวดหลังชนิดเฉียบพลัน
ซึ่งเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นมาทันทีและเป็นต่อเนื่องไม่เกิน 6 สัปดาห์
อาจมีสาเหตุจากอุบัติเหตุหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หกล้ม
หรือยกของหนักเกินไป และอาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง
เป็นอาการปวดหลังที่เป็นต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป
แต่จะพบได้น้อยกว่าอาการปวดหลังชนิดเฉียบพลัน
สำหรับอาการปวดหลังที่พบโดยทั่วไป อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
- เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อมีอาการตึงเครียด อาจเกิดจากการยกของที่มีน้ำหนักมากเป็นประจำ
หรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดท่าทางอย่างกะทันหัน
ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อหลังและเส้นเอ็นเกิดความตึงเครียด
จนทำให้ปวดหลังได้ในที่สุด[/*]
- หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งพองหรือฉีกขาด ปกติแล้ว
หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลัง
แต่ทั้งนี้
ส่วนประกอบที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกสันหลังอาจโป่งพองหรือฉีกขาด
รวมทั้งอาจไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง[/*]
- ข้ออักเสบ หรือโรคข้อเสื่อม อาจส่งผลกระทบต่อหลังส่วนล่างได้ ในผู้ป่วยบางราย
โรคข้ออักเสบที่กระดูกสันหลังอาจทำให้ช่องว่างบริเวณไขสันหลังแคบลง
หรือที่เรียกว่าโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis)[/*] - โครงกระดูกมีความผิดปกติ อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นได้หากมีกระดูกสันหลังที่โค้งผิดรูป
หรือกระดูกสันหลังคด
แต่มักจะเป็นกรณีที่มีความรุนแรงเท่านั้นจึงทำให้เกิดอาการปวดหลัง[/*]
- โรคกระดูกพรุน ผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุนหรือเปราะ อาจทำให้กระดูกสันหลังเกิดการบีบอัดจนกระดูกแตกได้ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดอาการปวดหลัง[/*]
นอกจากนั้น หากพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ กลั้นปัสสาวะไม่ได้
กลั้นอุจจาระไม่ได้ ปัสสาวะไม่ออกหรือรู้สึกชารอบ ๆ บริเวณทวารหนัก
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะที่มีความรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการปวดหลังได้- อายุ อาการปวดหลังจะเกิดขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 30-40 ปีขึ้นไป[/*]
- ขาดการออกกำลังกาย หากขาดการออกกำลังกายโดยเฉพาะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหลังเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังง่ายขึ้น[/*]
- มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจทำให้กล้ามเนื้อหลังมีอาการตึงหรือเกร็งมากขึ้น[/*]
- การยกของด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม การยกของโดยใช้น้ำหนักจากหลังมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ซึ่งท่าทางที่เหมาะสมควรจะใช้แรงจากขาช่วย[/*]
- โรคประจำตัว อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากโรคบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบ มะเร็ง เป็นต้น[/*]
- ภาวะทางด้านจิตใจ ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการปวดหลังได้มากขึ้น[/*]
- สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังได้เพียงพอ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง[/*]
วิธีแก้ปวดหลังวิธีดูแลและบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเองเบื้องต้น ได้แก่
- มีความกระตือรือร้นหรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าการนอนหลับหรือนอนพักบนเตียงจะช่วยฟื้นฟูอาการปวดหลังได้ดี แต่ปัจจุบันพบว่า ผู้ที่มีอาการปวดหลังและหมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย
และมีความตื่นตัวอยู่เสมอ จะสามารถฟื้นฟูจากอาการปวดหลังได้เร็วขึ้น[/*] - ใช้ความร้อนและความเย็นช่วยบรรเทาอาการ สำหรับบางคนที่มีอาการปวดหลังในระยะเริ่มต้น อาจใช้ความร้อนช่วย เช่น
อาบน้ำร้อนหรือใช้ความร้อนประคบตรงบริเวณที่มีอาการ นอกจากนั้น
การใช้ความเย็นประคบลงบนบริเวณที่มีอาการยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระยะสั้น
แต่ไม่ควรให้น้ำแข็งสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง
เพราะอาจทำให้ผิวหนังเป็นแผลได้ อาจห่อน้ำแข็งด้วยผ้าหรือถุงใส่น้ำแข็ง
นอกจากนั้น อาจใช้การประคบร้อนและประคบเย็นสลับกันได้[/*] - ผ่อนคลายและมองโลกในแง่บวก การพยายามให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย เป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง
เพราะเมื่อมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการปวดหลังมากเกินไป
ก็ยิ่งจะทำให้อาการแย่ลง ดังนั้น
ผู้ป่วยควรพยายามควบคุมความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น หาทางขจัดความเครียด
หรือฝึกการหายใจเพื่อลดความเครียด นอกจากนั้น การฝึกมองโลกในแง่บวก เช่น
คิดว่าอีกในไม่ช้าอาการก็จะดีขึ้น
ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่คิดในแง่บวกอยู่เสมอมีแนวโน้มว่าอาการปวดหลังฟื้นฟูได้รวดเร็ว[/*] - ซื้อยาช่วยบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเอง ได้แก่
- ยาลดการอักเสบ (NSAID) เช่น ยาไอบูโพรเฟน แต่บางรายอาจใช้ยาชนิดนี้ไม่ได้ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา[/*]
- ยาพาราเซตามอล[/*]
[/*]
- การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาจปรึกษาแพทย์หรือนักภาพบำบัด ถึงวิธีการบริหารร่างกายเพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง
รวมไปถึงควรออกกำลังกายเป็นประจำควบคู่กันไป
จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่หลังมีความแข็งแรง
ป้องกันอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม
เช่น เดิน ว่ายน้ำ โยคะ พิลาทิส เป็นต้น
และยังเป็นการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน[/*]
ตัวอย่างวิธีบริหารร่างกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังด้วยตนเอง- ท่า Bottom to Heels Stretch เป็นท่าที่จะช่วยยืดเหยียดและเสริมความแข็งแรงให้กระดูกสันหลัง มีวิธีดังนี้
- ท่าเริ่มต้น คุกเข่าลงทั้ง 2 ข้างโดยให้หัวเข่าตรงกับสะโพกและวางมือทั้ง 2 ข้างไว้ให้ตรงกับหัวไหล่ ระวังอย่าให้หลังส่วนล่างโค้งมากจนเกินไป ยื่นคอออกไป ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหลัง และไม่ควรเกร็งข้อศอก[/*]
- ค่อย ๆ หย่อนก้นไปทางด้านหลัง
รักษาระดับของแนวกระดูกสันหลังให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ทำค้างไว้พร้อมหายใจเข้าและออกลึก ๆ แล้วกลับไปยังท่าเริ่มต้น ควรทำให้ได้
8-10 ครั้ง[/*] - ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวเข่า ควรหลีกเลี่ยงการนั่งลงบนส้นเท้า[/*]
- อาจตรวจสอบความถูกต้องในการวางท่าโดยดูผ่านกระจก[/*]
- ควรยืดเหยียดให้ถึงจุดที่รู้สึกสบาย ไม่ฝืน[/*]
[/*][/list]
- ท่า Knee Rolls มีวิธีดังนี้
- ท่าเริ่มต้น นอนราบลงให้หลังขนานกับพื้น วางหมอนหรือเบาะขนาดเล็กรองไว้ที่ศีรษะ
งอเข่าทั้ง 2 ข้าง ขึ้นชิดกัน พยายามให้ลำตัวช่วงบนรู้สึกผ่อนคลายและค่อย ๆ
กดคางลง[/*] - จากนั้นให้หมุนเข่าทั้ง 2 ข้าง พร้อมกับเชิงกรานไปทางด้านข้างลำตัว
โดยที่หัวไหล่ยังคงแนบอยู่กับพื้น วางเข่าค้างไว้ข้างลำตัวและหายใจลึก ๆ
และกลับสู่ท่าเริ่มต้น ควรทำให้ได้ประมาณ 8-10 ครั้ง[/*]
- ควรยืดเหยียดให้ถึงจุดที่รู้สึกสบาย ไม่ฝืน[/*]
- อาจนำหมอนมาไว้ระหว่างหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้รู้สึกสะดวกยิ่งขึ้น[/*]
[/*][/list]
- ท่า Back Extensions มีวิธีดังนี้
- ท่าเริ่มต้น นอนคว่ำและใช้ข้อศอกช่วยพยุงตัว ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังยืดยาวออกไป ดึงหัวไหล่ไปด้านหลังและยื่นคอออกไป[/*]
- จากนั้นใช้มือช่วยดันลำตัวช่วงบน แอ่นหลังให้โค้งขึ้นและคอยืดขึ้น
ให้รู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่หน้าท้องได้ค่อย ๆ ยืดเหยียด ทำค้างไว้ประมาณ
5-10 วินาที และกลับไปยังท่าเริ่มต้น ควรทำซ้ำประมาณ 8-10 ครั้ง[/*] - ควรระวังอย่าให้คองอไปทางด้านหลัง และควรให้สะโพกวางแนบกับพื้น[/*]
[/*][/list]อย่างไรก็ตาม หากการดูแลรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นไม่ได้ผล ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ยาใช้รักษา ได้แก่
- ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์จะให้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังน้อยไปจนถึงปานกลาง
แต่ยาคล้ายกล้ามเนื้ออาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและง่วงนอนได้[/*]
- ยาทาบรรเทาปวดเฉพาะที่ เช่น ครีม และยาขี้ผึ้ง ใช้สำหรับทาลงบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการปวดหลัง[/*]
- ยาระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง (Narcotics)
ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และมักจะใช้เพียงแค่ช่วงระยะเวลาอันสั้น[/*]
- ยารักษาอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะยากลุ่ม Tricyclic Antidepressant เช่น ยาอะมิทริปไทลีนพบว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดหลังเรื้อรังบางชนิดได้[/*]
- การฉีดยา หากวิธีอื่น ๆ
ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้และอาการปวดเกี่ยวเนี่องกับเส้นประสาท
แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบ
หรือใช้ยาชาที่บริเวณไขสันหลัง
โดยการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบที่บริเวณรากประสาท
แต่ก็อาจจะบรรเทาอาการปวดได้เพียงชั่วคราว[/*][/list]
การกายภาพบำบัดและการบริหารร่างกายการกายภาพบำบัดเป็นอีกวิธีที่มีความสำคัญในการรักษาอาการปวดหลัง
โดยนักกายภาพบำบัดจะสามารถปรับใช้รูปแบบของวิธีที่หลากหลายกับกล้ามเนื้อหลังและเนื้อเยื่อเพื่อลดอาการปวด
เช่น การใช้ความร้อน อัลตราซาวด์ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
หรือบำบัดด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
เมื่อการทำกายภาพบำบัดบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้นแล้ว
นักกายภาพบำบัดจะสอนวิธีการบริหารที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง
รวมไปถึงสอนการปรับปรุงท่าทางของผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน
ซึ่งเมื่อผู้ป่วยทำได้เป็นประจำ จะช่วยป้องกันอาการปวดกลับมาเป็นซ้ำ
การผ่าตัดการผ่าตัดจะใช้กับผู้ป่วยเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องและปวดลามไปถึงขา
หรือผู้ป่วยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอโดยมีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกกดทับ
นอกจากนั้น การผ่าตัดมักจะใช้รักษาอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครงสร้าง
เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis)
หรือโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Disc)
และจะใช้วิธีผ่าตัดเมื่อโรคเหล่านี้ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น