หัวข้อ: อัมพาต กับ อัมพฤกษ์ ต่างกันอย่างไร ? เริ่มหัวข้อโดย: ttads2522 ที่ กันยายน 29, 2019, 01:29:30 pm อัมพาต กับ อัมพฤกษ์ ต่างกันอย่างไร ?
นี่คือสิ่งที่เรามักได้ยินอยู่บ่อย แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแท้จริงแล้วแตกต่างกันอย่างไร อัมพาต หมายถึงภาวะที่แขน หรือ ขา ไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้ อัมพฤกษ์ หมายถึงภาวะที่แขน หรือ ขอ อ่อนแรงกว่าเดิม แต่ยังพอใช้งานได้ ดังนั้นถ้าสรุปแบบง่ายๆก็ต้องบอกว่าความรุนแรงของอัมพาต นั้นมากกว่าอัมพฤกษ์นั่นเอง ในภาษาอังกฤษเราจะเสียงว่า Stroke ส่วนในภาษาทางการแพทย์ใช้คำว่า CVA – Cerebrovascular accident ส่วนในภาษาไทยเราก็จะเรียกรวมๆว่า โรคอัมพาตโรคอัมพฤกษ์นั่นเองครับ ตัวเลขและสถิติที่น่าสนใจ “2” – สาเหตุการตายอันดับสอง รู้ไหมครับว่าโรคอัมพาตเนี่ยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของประชากรโลกเลยนะครับ จากข้อมูลของ WHO คือ 5.6 ล้านคน (ในปี 2016) ส่วนอันดับหนึ่งคือโรคหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง รู้ไหมครับว่าโรคอัมพาตเนี่ยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองของประชากรโลกเลยนะครับ จากข้อมูลของ WHO คือ 5.6 ล้านคน (ในปี 2016) ส่วนอันดับหนึ่งคือโรคหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง “30-30-30” – ตาย–ติดเตียง–ดีขึ้น พบว่าร้อยละ 30 คนไข้จะเสียชีวิตจากโรคนี้ อีกร้อยละ 30 จะทุพพลภาพ หรือทำงานไม่ได้ และอีกร้อยละ 30 ที่จะมีอาการดีขึ้นหรือหาย แต่ต้องทานยาควบคุม “3-6 “เดือนแรกคือเวลาทอง เราพบว่าเนื้อสมองจะมีการฟื้นตัวในช่วง 3 เดือนแรก และหลังจาก 6 เดือนแล้วจะมีการฟื้นตัวที่ลดลงแล้ว หรือพูดได้ว่าช่วง 6 เดือนแรก ถ้ามีโรคนี้เกิดขึ้นต้องดูแลให้เต็มที่ เพราะประโยชน์จากการกระตุ้น การรักษาจะสูงสุดในช่วงนี้ ถ้าหลังจากช่วงหกเดือนแรกไปแล้ว การฟื้นตัวจะไม่มากแล้ว “4” ชั่วโมง หากคนไข้เป็นภาวะหลอดเลือดในสมองชนิดขาดเลือด แพทย์สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือดได้ เพื่อทำให้ลิ่มเลือดบริเวณที่อุดหลอดเลือดนั้นสลายไป ทำให้เลือดสามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อสมองบริเวณดังกล่าวได้ แต่ถ้าผ่านช่วงเวลาเกิน 4-4.30 ชั่วโมงไปแล้วจะไม่มีประโยชน์ ดังนั้นนี่คือช่วงเวลาสำคัญที่เราต้องรีบพาคนไข้โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ( ถ้าคิดอะไรไม่ออกให้โทร 1669 นะครับ) * หมายเหตุ การให้ยาสลายลิ่มเลือด มีข้อบ่งชี้และข้อห้าม ดังนั้นไม่สามารถให้ได้ในคนไข้ทุกคนนะครับ ที่มา healthathome.in.th/blog/การดูแลผู้ป่วยโรคอัมพา/ [/size]
|