เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป โชว์ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 306 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายช่องทางขาย "ป๊อปคอร์น" ช่วยสร้างรายได้เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป โชว์ผลประกอบการไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 306 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายช่องทางขาย "ป๊อปคอร์น" ช่วยสร้างรายได้ ตั้งเป้าหมายปักหมุดขยายโรงหนังเพิ่มให้ครบ 1,200 โรง ภายในปี 2030เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป โชว์ผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ทำรายได้รวม 2,283 ล้านบาท กำไรสุทธิ 532 ล้านบาท เติบโตขึ้น 306% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการเดินหน้าขยายสาขา ลูกค้ากลับเข้ามาดูหนังเพิ่มขึ้นหลังจากการคลี่คลายของโควิด-19 ธุรกิจใหม่ป๊อปคอร์นช่วยดันรายได้ และผลจากกำไรจากการขายหุ้น MPIC ปักหมุดเดินหน้าขยายโรงหนังเพิ่มให้ครบ 1,200 โรง ในปี 2030 ร่วมมือกับพันธมิตรเสริมทัพผลิตหนังไทยป้อนตลาด หวังดันมาร์เก็ตแชร์หนังไทยให้ถึง 50% เดินหน้าขยายช่องทางการจำหน่ายป๊อปคอร์นเพิ่ม เพื่อสร้างการเติบโตและขยายโอกาสการทำเงินนอกโรงหนัง Out Cinema ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ล่าสุดจะนำเข้าจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ปลายเดือนกันยายนนี้ฐิตาภัสร์ อิสราพรพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินและบัญชี บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 2 ของปี 2566 ว่า บริษัทฯ ทำรายได้รวม 2,283 ล้านบาท กำไรสุทธิ 532 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2565 ที่มีรายได้รวม 1,639 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท โดยผลประกอบการเติบโตขึ้น รายได้รวมปรับเพิ่มสูงขึ้น 39% กำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้น 306% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2566 ที่เติบโตขึ้น มาจากรายได้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ 1,178 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจป๊อปคอร์น 654 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณา 244 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจโบว์ลิ่ง 102 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจพื้นที่เช่า 63 ล้านบาทและรายได้จาก
Movie Content 42 ล้านบาท ซึ่งทุกธุรกิจเติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับภาพรวมผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2566 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีรายได้ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,873 ล้านบาท กำไรสุทธิรวม 603 ล้านบาท รายได้รวมเพิ่มขึ้น 40% และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 288% เทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2565 มาจากรายได้ธุรกิจโรงภาพยนตร์ 1,945 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจป๊อปคอร์น 1,088 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณา 435 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจโบว์ลิ่ง 198 ล้านบาท, รายได้จากธุรกิจพื้นที่เช่า 125 ล้านบาท และรายได้จาก Movie Content 83 ล้านบาท เป็นผลจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของธุรกิจหลังจากการคลี่คลายของโควิด-19 ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการดูหนังในโรงหนังเพิ่มมากขึ้นและกลับมาคึกคักเหมือนช่วงก่อนโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์การดูหนังในโรงหนังไม่ได้ถูก Disruption ทั้งจากสตรีมมิ่งหรือโควิด-19 เพราะลูกค้ายังโหยหาการกลับเข้ามาดูหนังในโรงหนัง ซึ่งให้อรรถรสที่แตกต่างจากการดูที่บ้านหรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับในช่วงครึ่งปีแรกมีหนังฮอลลีวู้ดที่ได้รับความสนใจเข้าฉายหลายเรื่องและทำรายได้ได้ดีต่อเนื่อง อาทิ Fast and Furious X, John Wick : Chapter 4, Guardians of the Galaxy Vol. 3, Transformers : Rise of the Beasts, Avatar The Way of Water, Ant-Man And TheWasp : Quantumania, The Little Mermaid, Spider-Man : Across the Spider-Verse, Shazam! Fury of the Gods ส่วนครึ่งปีหลังมีหนังฮอลลีวู้ดที่น่าสนใจเข้าฉาย อาทิ Mission : Impossible - Dead Reckoning Part One, Oppenheimer, Barbie, Meg 2 : The Trench, Blue Beetle, Gran Turismo, The Nun 2, Dune Part Two, The Marvels, Aquaman and The Lost Kingdomอย่างไรก็ตาม สิ่งที่โรงหนังจะขาดไม่ได้ คือ คอนเทนต์ หรือ หนัง ที่จะเป็นตัวดึงดูดให้ลูกค้ากลับเข้ามาดูหนัง โดยในปี 2566 มีหนังต่างประเทศเข้าฉาย 199 เรื่อง หนังไทยเข้าฉาย 50 เรื่อง ซึ่งนอกจากมีหนังฮอลลีวู้ดแล้ว หนังไทยก็เป็นอีกจุดขายสำคัญที่ทำให้ลูกค้ากลับมาดูหนังมากขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ที่เน้นการพัฒนาและสนับสนุนการสร้างหนังไทย หวังผลักดันให้มาร์เก็ตแชร์ของหนังไทยให้ได้ 50% ปัจจุบันสัดส่วนรายได้หนังไทยอยู่ที่ 27% และหนังต่างประเทศ 73% ซึ่งครึ่งปีแรกมีหนังไทยเข้าฉายไปแล้ว 20 เรื่อง หนังไทยที่ทำรายได้สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ขุนพันธ์ 3 ทำรายได้รวม 110 ล้านบาท, Long Live Love ทำรายได้รวม 90 ล้านบาท ปัจจุบันยังฉายอยู่ คาดการณ์รายได้จะถึง 100 ล้านบาท และ ทิดน้อย ทำรายได้รวม 88 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีหลังมีหนังไทยเข้าฉายอีก 30 เรื่อง มีหนังไทยที่น่าสนใจ 9 เรื่อง อาทิ แมนสรวง, ไปรษณีย์ 4 โลก, 14 Again, นักรบมนตรา, ธี่หยด, Not Friend, อีสานซอมบี้, 4 Kings 2 สลิธ โปรเจกต์ล่านอกจากนี้ ยังผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรมาช่วยผลิตหนังไทยป้อนสู่ตลาด ปีหน้าคือปีที่โดดเด่นของหนังไทย มีพาร์ทเนอร์มา Synergy มากขึ้น จะช่วยผลักดันให้เป้าหมายการเติบโตของตลาดหนังไทยเติบโตได้เร็วขึ้น ในส่วนของกลุ่มเมเจอร์ตั้งเป้าหมายผลิตหนังไทยเข้าฉายให้ได้ปีละ 20 เรื่อง และยังส่งขายลิขสิทธิ์หนังไทยให้กับทาง Netflix, Amazon, Prime และสตรีมมิ่งเจ้าอื่น ๆทั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดหนังไทย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น Tollywood จึงได้ตั้งเป้าปักหมุดขยายโรงหนังเพิ่มให้ครบ 1,200 โรง ภายในปี 2030 หรือ ในปี 2573 ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2566 เดินหน้าขยายสาขาโรงภาพยนตร์ 8 สาขา 40 โรง ด้วยงบลงทุน 600 ล้านบาทปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีสาขาโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้บริการ รวมทั้งสิ้น 178 สาขา 825 โรง แบ่งเป็นในประเทศ 169 สาขา 779 โรง
- สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 47 สาขา 345 โรง
- สาขาในต่างจังหวัด 122 สาขา 434 โรง
ต่างประเทศ 9 สาขา 46 โรง
- สาขาในประเทศลาว 3 สาขา 13 โรง
- สาขาในประเทศกัมพูชา 6 สาขา 33 โรง
สำหรับ New Business อย่าง "ป๊อปคอร์น" ในส่วนของ ธุรกิจ Concession ที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างรายได้ในช่วงโควิด-19 และเป็นดาวรุ่งในปัจจุบัน ก็เห็นโอกาสการเติบโตอย่างชัดเจน มีตัวเลขการเติบโตของรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตอบโจทย์ลูกค้าทั้งที่มาดูหนังและไม่ดูหนังก็สามารถซื้อ ป๊อปคอร์นรับประทานได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการขยายช่องทางการขายทั้งภายในโรงหนัง In Cinema และ นอกโรงหนัง Out Cinema ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของธุรกิจ Concession เมื่อเทียบกับรายได้ตั๋วหนังอยู่ที่ 64% โดยตั้งเป้ารายได้ของธุรกิจ Concession ให้เติบโตเท่ากับรายได้ตั๋วหนัง ล่าสุดจะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ปลายเดือนกันยายนนี้